วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การร้องเท็จเพื่อขอให้ลงโทษทางวินัย มีความผิดฐานใด?

 

      การร้องเท็จเพื่อขอให้ลงโทษทางวินัยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ (ฎีกาที่ ๑๔๘๑๙/๒๕๓๐) และไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒ (ฎีกาที่ ๑๓๓/๒๕๔๘)


     ฎีกาที่ ๑๔๘๙/๒๕๓๐ ผู้กํากับการตํารวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตํารวจภูธรและผู้บัญชาการตํารวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอํานาจหน้าที่ที่จะดําเนินการทางวินัย ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ฉะนั้น หากข้อความในหนังสือที่จําเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จ จําเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จําเลยทําหนังสือร้องเรียน ต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจําเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดําเนินการทางวินัยแก่โจทก์มิได้เจตนาที่จะให้ดําเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญา การกระทําของจําเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ 


     ฎีกาที่ ๑๒๓/๒๕๔๘ การที่จําเลยที่ ๑ มีหนังสือถึงพลตํารวจโท ป. และพลตํารวจโท ว. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับความประพฤติโจทก์ต่อบุคคลทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาโจทก์ มิใช่ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจสืบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด และพลตํารวจโท ป. มิได้มีคําสั่งให้ดําเนินการสืบสวนสอบสวนความผิดในทางอาญาแก่โจทก์ คงมีคําสั่งให้ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดชุมพรตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้ความคุ้มครองจําเลยที่ ๑ แล้วรายงานให้พลตํารวจโท ป. ทราบด้วยเท่านั้น การกระทําของจําเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๗๒

 

อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น