แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำถาม ธงคำตอบ ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 67 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำถาม ธงคำตอบ ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 67 แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คำถาม ธงคำตอบ ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 67 ปี 2557 อาญา ภาษี แรงงาน รัฐธรรมนูญ ปกครอง



สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 67 ปีการศึกษา 2557
วิชากฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและ
วิธีพิจารณาคดีแรงงาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง
วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2557
คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย
-
ข้อ 1
นายดำขับรถกระบะบรรทุกไม้แปรรูปที่ผิดกฎหมาย แล้วถูกดาบตำรวจ
ขาวกับพวกซึ่งออกตรวจปฏิบัติงานไปตามหน้าที่เรียกให้หยุด ขอตรวจค้นรถ เมื่อเปิดดู
กระบะหลังรถพบไม้แปรรูปที่เชื่อว่าน่าจะผิดกฎหมาย โดยนายดำไม่มีเอกสารใดให้ตรวจ
สอบ จึงจับกุมนายดำและยึดรถไว้ตรวจสอบ นายเขียวซึ่งมีอาชีพพ่อค้าแต่งตัวภูมิฐานและ
นั่งมาตอนท้ายของรถเบนซ์ที่ขับตามมา ลงจากรถไปพูดกับดาบตำรวจขาวว่า “พี่เป็น
เพื่อนสนิทรัฐมนตรี ขอเถอะ อย่าจับเลย ไว้โอนให้สองหมื่น” แต่ดาบตำรวจขาวยังคง
จับกุมนายดำส่งร้อยตำรวจเอกดีพนักงานสอบสวน นายเขียวตามไปพบพนักงานสอบสวน
และแจ้งว่า“พี่เป็นเพื่อนสนิทรัฐมนตรี ถ้าไม่ดำเนินคดีนี้ พี่ยิ่งให้เป็นสารวัตรได้” แต่ร้อย
ตำรวจเอกดีไม่ยินยอมยังคงดำเนินคดีแก่นายดำต่อไป จากนั้นนายเขียวอ้างว่าจะไป
โทรศัพท์ติดต่อเพื่อน แล้วแอบใช้กุญแจสำรองขับรถกระบะบรรทุกไม้แปรรูปที่ถูกยึดไว้ที่
สถานีตำรวจหนีไปเพื่อช่วยเหลือนายดำ
ให้วินิจฉัยว่า นายเขียวกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานในการ
ยุติธรรมฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ
การที่นายเขียวลงจากรถไปพูดกับดาบตำรวจขาวว่า “พี่เป็นเพื่อนสนิทรัฐมนตรี
ขอเถอะ อย่าจับเลย ไว้โอนให้สองหมื่น” เป็นการขอให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ
ให้ไม่กระทำการจับกุมตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม เป็นความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 144
สำหรับการที่นายเขียวตามไปพบพนักงานสอบสวนและแจ้งว่า “พี่เป็นเพื่อน
สนิทรัฐมนตรี ถ้าไม่ดำเนินคดีนี้ พี่ยิ่งให้เป็นสารวัตรได้” เป็นการขอให้ประโยชน์อื่นใดแก่
พนักงานสอบสวนเพื่อจูงใจให้ไม่กระทำการดำเนินคดีตามหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 167
ส่วนการที่นายเขียวแอบใช้กุญแจสำรองขับรถกระบะบรรทุกไม้แปรรูปที่ถูกยึดไว้
หนีไป เท่ากับนายเขียวรู้อยู่แล้วว่ารถกระบะและไม้แปรรูปถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เพื่อ
เป็นพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด เอาไปเสียซึ่งทรัพย์สินอันเจ้าพนักงานได้ยึด
ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐาน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 และ
ยังเป็นความผิดฐานเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง เอาไปเสีย
ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิดตามมาตรา 184 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 64/2486)

ข้อ 2 
นายหนุ่มสามีนางสวยเป็นคนขี้หึง และเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่านายหนุ่ม
มักจะไปก่อเหตุทำร้ายร่างกายชายอื่นที่นายหนุ่มเข้าใจว่ามาข้องแวะกับนางสวยอยู่เสมอ
นางสวยแอบไปขอยืมเงินนายช้างมาเล่นการพนันโดยไม่บอกให้นายหนุ่มทราบ วันหนึ่ง
นายจ้างมาทวงเงินยืมจากนางสวยที่บ้านนางสวย นางสวยไม่พอใจมากที่ถูกทวงหนี้ และ
ขอผัดผ่อนไปก่อน ขณะที่นางสวยกำลังเจรจากับนายช้าง นายหนุ่มกลับมาถึงบ้านพอดี
นางสวยจึงหลอกนายหนุ่มว่า นายช้างแอบเข้ามาในบ้านและทำอนาจารตน โดยนางสวย
ต้องการให้นายหนึ่งโกรธและทำร้ายนายช้าง นายหนุ่มได้ยินเช่นนั้นก็โกรธนายช้างและ
รีบร้อนเข้าทำร้ายร่างกายนายช้างทันทีจนได้รับอันตรายสาหัส โดยมิได้ใช้ความระมัดระวัง
พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าเรื่องเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ให้วินิจฉัยว่า นายหนุ่มและนางสวยมีความผิดฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ
นายหนุ่มมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้นายช้างได้รับอันตรายสาหัส
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งหากเป็นกรณีที่นายช้างทำอนาจารนางสวย
จริง ก็ย่อมเป็นการข่มเหงนายหนุ่มอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม นายหนุ่มจึงอ้าง
ว่ากระทำความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่
863/2502) แต่เมื่อความจริงนายช้างมิได้ทำอนาจารนางสวย จึงเป็นกรณีสำคัญผิดใน
ข้อเท็จจริงใด ซึ่งถ้ามีอยู่จริงจะทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลงตามมาตรา 62 วรรคแรก
นายหนุ่มจึงมีความผิดตามมาตรา 297 ประกอบมาตรา 72 และมาตรา 62 วรรคแรก
ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้
นายหนุ่มรีบร้อนไปทำร้ายร่างกายนายช้างทันที โดยมิได้ใช้ความระมัดระวัง
พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าเรื่องเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จึงเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
โดยประมาท เมื่อเป็นผลทำให้นายช้างได้รับอันตรายสาหัส นายหนุ่มจึงมีความผิดฐาน
กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นายช้างรับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 300 อีกบทหนึ่ง โดยผลของมาตรา 62 วรรคสอง ด้วย (เทียบคำพิพากษาฎีกา
ที่ 4968/2551) ซึ่งนายหนุ่มไม่อาจอ้างว่ากระทำความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะสำหรับ
ความผิดตามมาตรา 300 นี้ได้ เพราะการกระทำความผิดที่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะต้อง
เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาเท่านั้น
นายหนุ่มไม่เคยมีเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายนายช้างมาก่อน เมื่อนางสวยหลอกว่า
ถูกนายช้างกระทำอนาจารโดยนางสวยต้องการให้นายหนุ่มโกรธและไปทำร้ายร่างกาย
นายช้าง จึงเป็นการก่อให้นายหนุ่มกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายนายช้างด้วยวิธีอื่นใด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคแรก เมื่อนายหนุ่มได้ทำร้ายร่างกายนายช้าง
และต้องรับโทษตามมาตรา 297 นางสวยจึงมีความผิดตามมาตรา 297 โดยเป็นผู้ใช้
และรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ทั้งนี้ ตามมาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 87 วรรคสอง

ข้อ 3
นายหนึ่งและนายสองมีที่ดินคนละแปลงซึ่งอยู่ติดกัน นายหนึ่งเอาเสา
รั้วไม้ของนายหนึ่งรักในที่ดินของนายหนึ่ง นายสองเข้าใจว่านายหนึ่งเอาเสารั้วไม้ของ
นายหนึ่งไปปักในที่ดินของนายสอง นายสองไม่พอใจจึงถอนเสารั้วไม้นั้นออกจนเสารั้วไม้
ต่อมาวันหนึ่ง นายสองเอาเสารั้วไม้ของนายสองปักในที่ดินของนายสอง นายหนึ่ง
รีบร้อนไม่ตรวจตราดูให้ดีจึงเข้าใจว่าเป็นเสารั้วไม้ของนายหนึ่งที่สั่งให้ลูกจ้างไปปักไว้ใน
ที่ดินของนายหนึ่ง นายหนึ่งเห็นว่าเป็นเสารั้วไม้เก่ามีสภาพไม่แข็งแรง จึงถอนทิ้งจนเสา
รั้วไม้นั้นหัก
ให้วินิจฉัยว่า นายสองและนายหนึ่งมีความผิดฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ
นายสองไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของนายหนึ่ง แม้ว่าการกระทำจะครบ
องค์ประกอบของความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 358 เพราะเป็นการสำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด
โดยเข้าใจไปว่าเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะขัดขวางมิให้
ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิที่จะปฏิบัติการ
เพื่อยังความเสียหายหรือเดือนร้อนให้สิ้นไป ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
62 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และมาตรา 1337 
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 89/2519)
นายหนึ่งไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของนายสองตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 358 เพราะไม่มีเจตนา เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นการทำลายทรัพย์ของผู้อื่น
โดยเข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของตนเอง อันเป็นการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของ
ความผิด ซึ่งตามมาตรา 59 วรรคสาม จะถือว่าผู้กระทำมีเจตนาไม่ได้
แม้ความไม่รู้ของนายหนึ่งจะเกิดขึ้นด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 59 วรรคสี่ เพราะรีบร้อนไม่ตรวจตราให้ดี แต่นายหนึ่งก็ไม่ต้องรับผิดใน
การกระทำโดยประมาทตามที่มาตรา 62 วรรคสองบัญญัติไว้ เพราะการทำให้เสียทรัพย์
โดยประมาทไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด

ข้อ 4
นายอรุณได้ปลอมใบรับรองเงินฝากว่า เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556
นายอรุณมีเงินฝากอยู่ในบัญชีเงินฝากของธนาคารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน
3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครบกำหนดจ่ายคืนผู้ฝากหรือผู้ถือใบรับรองเงินฝากหรือ
ตามคำสั่งในวันที่ 16 เมษายน 2557 พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่
วันออกใบรับรองเงินฝากถึงวันครบกำหนดจ่ายเงินคืน ใบรับรองเงินฝากนี้สามารถเปลี่ยน
มือได้ แบ่งแยกและซื้อขายได้ นายอรุณนำใบรับรองเงินฝากดังกล่าวใส่ซองเอกสารของ
ธนาคาร มอบให้นายรุ่งเพื่อนสนิทซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารเป็นผู้นำส่งไปยังประเทศ
อังกฤษ โดยผ่านแผนกไปรษณียภัณฑ์ของธนาคาร นายรุ่งซึ่งทราบดีว่าใบรับรองเงินฝาก
ดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ได้เขียนชุดใบนำส่งไปรษณีย์มอบให้แก่นางสาววันดี พนักงาน
ธนาคารผู้มีหน้าที่จัดส่งเอกสารตามวิธีการของธนาคาร นางสาววันดีตำรวจเห็นข้อพิรุธจน
พบว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอมจึงไม่จัดส่งเอกสารดังกล่าว ข้อเท็จจริงได้ความว่า
ธนาคารไม่เคยออกใบรับรองเงินฝากให้นายอรุณเลย
ให้วินิจฉัยว่า นายอรุณ และนายรุ่ง มีความผิดฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ
การที่นายอรุณเป็นผู้ปลอมใบรับรองเงินฝากจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์
สหรัฐ ขึ้นทั้งฉบับ เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ทำให้สามารถใช้เอกสาร
ใบรับรองเงินฝากนั้นรับเงินฝากคืนจากธนาคารไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งสามารถเปลี่ยน
มือแบ่งแยกและซื้อขายได้ มีลักษณะเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงเป็นเอกสารที่ก่อให้เกิดสิทธิดังกล่าวแก่นายอรุณ ใบรับ
รองเงินฝากดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9) การ
ที่นายอรุณปลอมเอกสารใบรับรองเงินฝากเช่นนี้ เป็นการกระทำในประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายแก่ธนาคาร ผู้อื่น หรือประชาชนแล้ว จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
ตามมาตรา 265 และการที่นายอรุณนำใบรับรองเงินฝากดังกล่าวใส่ซองเอกสารของ
ธนาคารมอบให้นายรุ่ง เป็นผู้นำส่งไปยังประเทศอังกฤษ โดยผ่านแผนกไปรษณียภัณฑ์
ของธนาคาร จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบ
มาตรา 265 อีกด้วย และโดยที่นายอรุณเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิ
ปลอมร่วมกับนายรุ่ง จึงให้ลงโทษฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268
วิชากฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และมาตรา 83 แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรคสอง
ส่วนนายรุ่ง พนักงานของธนาคารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทราบดีว่าใบรับรอง
เงินฝากเป็นเอกสารสิทธิปลอม แล้วยังจัดส่งเอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวไปยังต่างประเทศ
ผ่านแผนกไปรษณียภัณฑ์ในธุรกิจของธนาคาร โดยการปิดผนึกซอง เขียนชุดใบนำส่ง
ไปรษณีย์มอบให้แก่นางสาววันดี พนักงานของธนาคาร ผู้มีหน้าที่จัดส่งเอกสารของ
ธนาคาร การกระทำของนายรุ่งจึงเป็นการลงมือใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสาร
ปลอม ถือเป็นความผิดสำเร็จโดยไม่ต้องรอผลของการใช้หรืออ้างให้ผู้รับหรือผู้ถูกอ้างจะ
ได้รับเอกสารสิทธิปลอมที่จัดตั้งไปเสียก่อน เพราะเมื่อนายรุ่งได้ใช้หรืออ้างเอกสาร การ
กระทำของนายรุ่งก็ถือได้ว่ากระทำไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคาร ผู้อื่น
หรือประชาชนแล้ว ดังนั้น นายรุ่งจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และมาตรา 83
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1422/2554)

ข้อ 5 
นายเหี้ยมโกรธแค้นนางสาวโสภาที่ไม่ยอมตอบรับแต่งงานกับตน จึงไป
ดักซุ่มเอาน้ำกรดสาดหน้านางสาวโสภาโดนเข้าเต็มหน้าเป็นแผลเหวอะหวะ จากนั้นก็อุ้ม
เด็กชายอ้วนอายุ 5 ปี ซึ่งเป็นหลานของนางสาวโสภาแต่อยู่ในความดูแลของนางสาวโสภาไป
แล้วนำไปควบคุมไว้ที่บ้านของตนอยู่ 2 วัน จึงปล่อยตัวกลับมา บาดแผลที่ใบหน้าของ
นางสาวโสภา แพทย์ได้ทำศัลยกรรมตกแต่งให้สวยกว่าเดิมโดยใช้เวลา 60 วัน และกว่า
นางสาวโสภาจะหายเป็นปกติ นางสาวโสภาต้องปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอย่างรุนแรงถึง
ให้วินิจฉัยว่า นายเหี้ยมมีความผิดฐานใดบ้าง

ธงคำตอบ
นายเหี้ยมดักซุ่มใช้น้ำกรดสาดหน้านางสาวโสภาจนเกิดบาดแผลเหวอะหวะ
เป็นการทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การที่ใบหน้าของนางสาวโสภามีบาดแผลเหวอะ
หวะ แต่แพทย์รักษาให้หายเป็นปกติภายใน60 วัน จึงมิใช่ใบหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวอัน
เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (4) แต่การที่นางสาวโสภา
ได้รับบาดเจ็บปวดแสบปวดร้อนที่ใบหน้าอย่างรุนแรงเกินกว่า 20 วัน ถือว่านางสาวโสภา
ได้รับป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาตามมาตรา 297 (8) นายเหี้ยมต้องรับโทษตาม
มาตรา 298
นายเหี้ยมอุ้มเด็กชายอ้วนซึ่งอยู่ในความดูแลของนางสาวโสภาไป เป็นการพราก
เด็กไปจากผู้ดูแลโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายเหี้ยมจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 317 วรรคแรก แม้นางสาวโสภา จะมิใช่ผู้ดูแลตามกฎหมายก็ตาม
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 5844/2552)
นอกจากนี้การที่นายเหี้ยมควบคุมตัวเด็กชายอ้วนไว้ นายเหี้ยมยังมีความผิดฐาน
หน่วงเหนี่ยวกักขังเด็กชายอ้วนให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 310 วรรคแรก อีกด้วย

ข้อ 6
นายคึกจอดรถยนต์ทิ้งไว้ข้างถนนโดยเปิดประตูรถทิ้งไว้ แล้วเดินไปซื้อ
ของฝั่งตรงข้ามห่างจากรถยนต์30 เมตร โดยหันหน้าไปทางรถยนต์ จึงเห็นนายแสบคว้า
เอากล้องถ่ายรูปจากด้านที่เปิดประตูรถทิ้งไว้ นายคึกร้องว่า “ขโมย ๆ” แล้ววิ่งข้ามถนน
ตามไป นายเก่งซึ่งอยู่บริเวณนั้นวิ่งเข้าไปคว้าข้อมือของนายแบบเพื่อจะจับตัวไว้ แต่นายแสบ
ปัดมือนายเก่งแล้ววิ่งหนีไปโดยไม่ดูให้ดีชนรถจักรยานยนต์ของนายดีที่จอดไว้ล้มไป
ไฟหน้ารถแตก ส่วนนายคึกถูกรถยนต์ที่นายเฮงขับมาชนตายในขณะวิ่งข้ามถนนเพราะ
นายคึกวิ่งตัดหน้าอย่างกะทันหัน โดยนายเฮงขับรถมาไม่เร็ว แต่นายเฮงไม่มีใบอนุญาตขับขี่
ให้วินิจฉัยว่า นายแสบและนายเฮงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้าง

ธงคำตอบ
การที่นายแสบเอากล้องถ่ายรูปไปต่อหน้านายคึก แต่อยู่ห่างถึง 30 เมตร จึง
ไกลเกินกว่าที่จะปกป้องทรัพย์ของตนได้ ถือว่ามิได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จึงไม่มีความผิดฐาน
วิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่
10344/2550) คงมีลักษณะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 และการคว้า
เอากล้องถ่ายรูปจากในรถด้านที่เปิดประตูรถทิ้งไว้ ย่อมมิใช่เป็นการกระทำโดยผ่านสิ่ง
กีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ตามมาตรา 335 (3) วรรคแรก เมื่อนายแสบ
ลักทรัพย์ได้แล้ว ขณะที่พาทรัพย์หนีได้ปัดมือนายเก่ง เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อมิให้
นายเก่งจับกุมในขณะที่ยังไม่ขาดตอนจากการลักทรัพย์ นายแบบจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์
ตามมาตรา 339 วรรคแรก
ส่วนที่นายแสบวิ่งชนรถจักรยานยนต์ของนายดีล้มไฟหน้ารถแตกเสียหาย
เป็นการกระทำโดยไม่เจตนา และแม้จะฟังว่าเป็นการกระทำโดยประมาทก็ไม่เป็นความผิด
เพราะการทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด
สำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 นั้น ต้องได้ความว่าความตายเกิดจากความ
ประมาทโดยตรงของนายเฮง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเฮงไม่อาจใช้ความระมัดระวัง
ตามวิสัยและพฤติการณ์ได้เพราะนายคึกวิ่งตัดหน้ารถยนต์อย่างกะทันหัน ความตายของ
นายนึกจึงมิได้เกิดจากความประมาทของนายเฮง ไม่ว่านายเฮงจะมีหรือไม่มีใบอนุญาต
ขับขี่ก็ดาม ความตายของนายนึกก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เช่นเดิม นายเฮงจึงไม่มีความผิดฐานนี้
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 294/2501 และ 988/2516)

ข้อ 7
นางสาวแดงถือหุ้นในบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์แห่งหนึ่ง จำนวน 10,000 หุ้น หุ้นดังกล่าวนางสาวแดงซื้อมาก่อนสมรสเพื่อ
แสวงหากำไรในราคา 100,000 บาท ต่อมาในปี 2557 นางสาวแดงโอนขายหุ้นดังกล่าว
ให้แก่พี่ชายในราคา 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมตามมูลค่าของหุ้นดังกล่าว
ในขณะที่ขาย และเป็นการขายนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้วินิจฉัยว่า เงินได้ที่นางสาวแดงได้รับจากการขายหุ้นต้องเสียภาษีเงินได้ ภาษี
มูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ
การขายหุ้นของนางสาวแดงที่มีกำไร 900,000 บาท ถือว่าได้รับผลประโยชน์
จากการโอนหุ้นซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน 900,000 บาท จึงเป็นเงินได้พึง
ประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (4) (ซ) จำนวนเงินดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (9) เนื่องจากนางสาวแดงซื้อหุ้นด้วยมุ่งค้าหา
กำไร และการที่นางสาวแดงขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่
126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (23)
เนื่องจากประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) (ข) บัญญัติมิให้ บริการ
รวมถึงการนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ ดังนั้น
ผลประโยชน์ที่นางสาวแดงได้รับจากการโอนหุ้นซึ่งได้จากการนำเงินไปหาประโยชน์โดย
การซื้อหลักทรัพย์ จึงไม่ถือเป็นบริการที่อยู่บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2
เนื่องจากประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (7) บัญญัติเฉพาะการประกอบ
กิจการการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน
ตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ผลประโยชน์ที่นางสาว
แดงได้รับจากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจ
เฉพาะ นอกจากนี้การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจ
เฉพาะตามมาตรา 91/3 (7) ประกอบพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล
รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ.
2534 มาตรา 3 (1)

ข้อ 8
เมื่อปี 2554 เกิดอุทกภัย บริษัทริมน้ำ จำกัด ถูกน้ำท่วมโรงงาน จึง
ประกาศหยุดกิจการชั่วคราวตลอดเวลาที่ถูกน้ำท่วม และห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทอื่น
ในช่วงหยุดกิจการชั่วคราว นางสาวชลลดาทำงานกับบริษัทริมน้ำ จำกัด มา 10 ปีเศษ
ไปทำงานกับบริษัทชายน้ำ จำกัด ในช่วงหยุดกิจการชั่วคราว เป็นเวลา 5 วัน โดยได้รับ
ค่าจ้างวันละ 600 บาท บริษัทริมน้ำ จำกัด ทราบเช่นนั้นจึงไม่จ่ายเงินร้อยละ 75 ของ
ค่าจ้าง ให้แก่นางสาวชลลดา อ้างว่านางสาวชลลดาไปทำงานกับบริษัทชายน้ำ จำกัด และ
ได้รับค่าจ้างแล้ว จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ในช่วง 5 วัน
ดังกล่าวอีก และบริษัทริมน้ำ จำกัด ยังมีคำสั่งเลิกจ้างนางสาวชลลดา อ้างว่าละทิ้งหน้าที่
3 วันทำงาน โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่จ่ายค่าชดเชย
ให้วินิจฉัยว่า บริษัทริมน้ำ จำกัด ต้องจ่ายเงินร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ให้แก่
นางสาวชลลดาในช่วง 5 วันที่ไปทำงานให้แก่บริษัทชายน้ำ จำกัด หรือไม่ และต้องจ่าย
ค่าชดเชยแก่นางสาวชลลดาหรือไม่

ธงคำตอบ
บริษัทริมน้ำ จำกัด ประสบปัญหาน้ำท่วมโรงงาน ไม่สามารถให้ลูกจ้างทำงานได้
เป็นกรณีที่มีความจำเป็นที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างตาม
ปกติ จึงมีสิทธิประกาศหยุดกิจการชั่วคราว โดยจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ
75 ของค่าจ้าง ในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนหยุดกิจการชั่วคราวตลอดระยะเวลาที่
นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน ดังนั้น บริษัทริมน้ำ จำกัด จึงต้องจ่ายเงินจำนวนร้อยละ
75 ของค่าจ้าง ให้แก่นางสาวชลลดา ในช่วง 5 วัน ที่ไปทำงานกับบริษัทชายน้ำ จำกัด
เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้าง แต่เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในช่วงหยุดกิจการ
ชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 และกฎหมาย
ดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบุคคลอื่นในระหว่างที่นายจ้างประกาศหยุด
กิจการชั่วคราว ทั้งในช่วงเวลาดังกล่าว นางสาวชลลดาก็มิได้มีหน้าที่ทำงานให้แก่บริษัทริมน้ำ
จำกัด แต่อย่างใด การที่นางสาวชลลดาไปทำงานกับบริษัทชายน้ำ จำกัด จึงมิใช่เป็นการ
ละทิ้งหน้าที่ตามมาตรา 119 (5) เมื่อบริษัทริมน้ำ จำกัด เลิกจ้างนางสาวชลลดาด้วย
เหตุนี้ ย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยที่นางสาวชลลดามิได้กระทำผิด บริษัทริมน้ำ จำกัด จึงต้อง
จ่ายค่าชดเชยให้แก่นางสาวชลลดา ตามมาตรา 118 (5) (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 7675/2548)

ข้อ 9
ภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมี
คำพิพากษาว่า นายแดง อดีตรัฐมนตรีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ให้ทรัพย์สินของนายแดง
จำนวนหนึ่งตกเป็นของแผ่นดิน และคดีถึงที่สุดแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งสำนวน
และรายงานการไต่สวนกรณีนายแดงถูกกล่าวหาว่าร่วมกับนายขาว อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรี
และนายดำ อดีตเลขานุการรัฐมนตรี กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของนายแดง
ไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดี อัยการสูงสุดเห็นว่าพยานหลักฐานสมบูรณ์เพียงพอที่จะ
ฟ้องนายแดงคนเดียว ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะฟ้องนายขาวและนายดำด้วย มีการตั้งคณะ
ทำงานร่วมกัน เมื่อครบกำหนดสิบสี่วันนับแต่วันตั้งคณะทำงานร่วม คณะทำงานร่วมฝ่าย
อัยการสูงสุดยังเห็นว่าพยานหลักฐานสมบูรณ์เพียงพอที่จะฟ้องนายแดงคนเดียว ส่วนคณะ
ทำงานร่วมฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ยังเห็นว่าพยานหลักฐานสมบูรณ์เพียงพอที่จะ
ฟ้องทั้งสามคน ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายแดง นายขาว และ
นายดำ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในวันนัดพิจารณาคดี
ครั้งแรก นายแดงยื่นคำร้องว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจฟ้องเฉพาะนายขาวและ
นายดำ ไม่มีอำนาจฟ้องนายแดงเป็นจำเลยในคดีนี้ เพราะต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้อง
ขอให้ยกฟ้องนายแดง
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน นายแดงซึ่งเห็นว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2543 ข้อ 26 ที่ว่า ใน
คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน องค์คณะผู้พิพากษาต้องไต่สวนพยานหลักฐาน
ของผู้ถูกกล่าวหาก่อน มีส่วนสำคัญให้ตนแพ้คดีร่ำรวยผิดปกติ จึงไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจ
การแผ่นดินขอให้เสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าข้อกำหนดฯ ข้อดังกล่าวมี
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
2557 เพราะขัดหรือแย้งต่อสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ซึ่งได้รับการ
คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย
ให้วินิจฉัยว่า
(ก) คำร้องของนายแดงที่ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจฟ้องนายแดง
เป็นจำเลยในคดีนี้รับฟังได้หรือไม่
(ข) ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องดำเนินการกับคำร้องของนายแดงอย่างไร
วิชากฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

ธงคำตอบ
(ก) การที่คณะทำงานร่วมฝ่ายอัยการสูงสด และฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยัง
คงมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการฟ้องคดีในส่วนของนายขาวและนายดำ เมื่อครบ
กำหนดสิบสี่วันนับแต่วันตั้งคณะทำงานร่วม ย่อมถือได้ว่าคณะทำงานร่วมไม่อาจหาข้อยุติ
เกี่ยวกับการฟ้องคดีนี้แล้ว อันเป็นเหตุตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธี
พิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 11 วรรคสอง
มีผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจยื่นฟ้องทั้งนายแดง นายขาว และนายดำ ได้เอง
ทั้งคดี โดยไม่จำต้องแยกให้อัยการสูงสุดฟ้องจำเลยที่ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าพยานหลัก
ฐานเพียงพอที่จะฟ้องคดี และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ฟ้องจำเลยที่ทั้งสองฝ่ายเห็นต่าง
จนไม่อาจหาข้อยุติได้ คำร้องของนายแดงที่ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจฟ้อง
นายแดงเป็นจำเลยในคดีนี้จึงรับฟังไม่ได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาแผนกคดีอาญาของ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ อม.7/2556)
(ข) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือ
แย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจเสนอเรื่องให้ศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยว
กับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ สำหรับข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2543 มิใช่บทบัญญัติที่ตราขึ้น
โดยองค์กรนิติบัญญัติ จึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจพิจารณา
และที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงต้อง
ยกคำร้องของนายแดง (เทียบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 50/2544)

ข้อ 10
กรุงเทพมหานครทำสัญญาจ้างบริษัทเอ จำกัด ให้จัดส่งเอกสารแจ้ง
เตือนเจ้าของโรงเรือนให้ชำระภาษีโรงเรือนตามกำหนด และทำสัญญาจ้างบริษัทบี จำกัด
ให้จัดส่งพนักงานมาทำหน้าที่ต้อนรับประจำสำนักงานเขตเพื่ออำนวยความสะดวกแก่
ประชาชนที่มาติดต่อ ปรากฏว่าบริษัทเอ จำกัด ทำเอกสารของกรุงเทพมหานครสูญหาย
หลายครั้งไม่ถึงมือผู้รับ บริษัทบี จำกัด จัดส่งพนักงานมาไม่ครบจำนวนตามที่กำหนดใน
สัญญา กรุงเทพมหานครจึงบอกเลิกสัญญากับบริษัทเอ จำกัด และบริษัทบี จำกัด
นอกจากนั้น นางสาวซี ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร เคยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์
ประจำสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง ต้องย้ายไปทำหน้าที่ดูแลพัสดุครุภัณฑ์ ทำให้ไม่พอใจและ
เห็นว่ากรุงเทพมหานครไม่มีอำนาจจ้างเอกชนทำงานแทนข้าราชการ บริษัทเอ จำกัด และ
บริษัทบี จำกัด เห็นว่าบริษัทไม่ผิดสัญญา กรุงเทพมหานครไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
จึงต้องการฟ้องกรุงเทพมหานครให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนนางสาวซีต้องการฟ้องกรุงเทพ
มหานคร ให้ยกเลิกการจ้างเอกชนมาทำหน้าที่ต้อนรับประจำสำนักงานเขต
ให้วินิจฉัยว่า บริษัทเองจำกัด บริษัทบี จำกัด และนางสาวซี ต้องยื่นคำฟ้องของ
ตนต่อศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง

ธงคำตอบ
กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทราชการส่วนท้องถิ่นตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3
มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีโรงเรือนและบริการประชาชนที่มาติดต่อ
สัญญาจ้างบริษัทเองจำกัด มีสาระสำคัญให้บริษัทเอ จำกัด จัดส่งเอกสารแจ้ง
เตือนเจ้าของโรงเรือนให้ชำระภาษีโรงเรือนตามกำหนด เป็นเพียงให้บริษัทเอ จำกัด
จัดการงานทางธุรการเพื่อความสะดวกของกรุงเทพมหานครในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่
ไม่มีลักษณะเป็นการว่าจ้างบริษัทเองจำกัด ให้ร่วมจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง ไม่มี
ลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่เป็นสัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 คดีของบริษัทเอจำกัด ไม่อยู่ใน
อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แต่อยู่ในอำนาจ
การพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม จึงต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลยุติธรรม (เทียบ
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 154/2556)
-