วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อน ขุนแก้ว(ภาคปกติ) 3 ธ.ค 62 สมัยที่72


สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ สมัยที่72  

อ.เอื้อน ขุนแก้ว(ภาคปกติ) 3 ธ.ค 62 

----------------

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2549 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้ละเมิดซึ่งเกิดเหตุเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2545 ส่วนศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 และตั้งผู้บริหารแผนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 และต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 ดังนี้ เมื่อหนี้คดีนี้อันเกิดจากมูลละเมิดเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 และแผนพื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/62 และไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (4)

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง(1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยื่นคำให้การแล้วได้นั้น ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งยังไม่ได้ยื่นคำให้การไม่ได้เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นเป็นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ดังนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง


           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2559 พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับของมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ หรือจำหน่ายคดี หรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด... (5) ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้..." เป็นบทกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีการฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ หาได้มีผลต่อบุคคลอื่นที่มิได้เป็นลูกหนี้ที่มีการฟื้นฟูกิจการด้วยไม่ จึงมีข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาห้ามบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ เมื่อปรากฏว่าระหว่างฟื้นฟูกิจการนั้นผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าที่ครอบครองเครื่องจักรซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย เครื่องจักรดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่อยู่ในกองทรัพย์สินของผู้ร้องที่จะได้รับความคุ้มครองเพื่อการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดร้อยห้าสิบเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยตามหมายบังคับคดีได้ กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์สินตามคำร้อง

           คำพิพากษาฎีกาที่ 5230/2560 เมื่อศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณา และภายหลังศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลย
           ต่อมาศาลยกเลิกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และจำเลยทำนิติกรรมหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาลยังมิได้มีคำสั่งให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวมีผลต่อไป จำเลยย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตนเองตามปกติได้

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 (1) ประกอบมาตรา 90/12 (4) เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/79 แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26
           ผู้ร้องอ้างว่า ลูกหนี้ผิดสัญญา จึงฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามมาตรา 90/12 (4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นในการฟื้นฟูกิจการ คดีนี้เมื่อมูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและลูกหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13 (1) ศาลฎีกาเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12 (4)


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์* ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดททุกวัน.... รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.อาญา ภาค3-4 อ.จิตฤดี (ภาคค่ำ) ครั้งที่1 สมัยที่72




ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.อาญา ภาค3-4 สมัยที่72
อ.จิตฤดี วีระเวสส์ (ภาคค่ำ) 30 พ.ย 62 ครั้งที่1

--------------------------------

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2549 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วยวิธีการคือ นำเอายาแก้ปวดทั่วไปมาบดให้ละเอียดกับครกและผสมสีผสมอาหารสีส้ม จากนั้นจึงนำมาบดอัดเป็นเม็ด ฟ้องของโจทก์จึงมิได้บรรยายให้เห็นว่าสิ่งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตมีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำอันเป็นความผิดต่อกฎหมายของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวมิได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ในส่วนผลิตไม่ชอบเสียแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนเสพเมทแอมเฟตามีนที่ได้ผลิตดังกล่าวจึงไม่ชอบไปด้วย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2549)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2552 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ภาพถ่ายโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารปลอม ประกอบคำร้องในคดีแพ่งเพื่อให้ศาลหลงเชื่อว่าที่ดินเป็นของ ม. และมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้ ม. ทำให้โจทก์ไม่ทราบคำร้อง และนำภาพถ่ายโฉนดปลอมอ้างส่งเป็นพยานประกอบการเบิกความของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน แต่โจทก์แยกฟ้องเป็นรายข้อตามฐานความคิด แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าประเด็นสำคัญในคดีแพ่งมีว่าอย่างไร และพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จว่า คดีแพ่งมีประเด็นแห่งคดีที่ต้องพิสูจน์ว่าที่ดินเป็นของ ม. จริงหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จว่า ม. เป็นผู้ถือสิทธิ์ในที่ดินและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์บางส่วน และฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมว่าจำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าเป็นเอกสารท้ายคำร้องเพื่อให้ศาลเชื่อว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์เป็นของ ม. เมื่ออ่านฟ้องดังกล่าวรวมกันแล้วพอเข้าใจได้ว่าคดีแพ่งมีประเด็นสำคัญแห่งคดีว่าที่ดินเป็นของ ม. หรือไม่ และภาพถ่ายโฉนดที่ดินปลอมที่อ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้น เพราะทำให้ศาลเชื่อว่าที่ดินเป็นของ ม. และมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จพร้อมกันไปกับการกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี และฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมโดยกระทำในวันเวลาและคดีเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12082/2557 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร แล้วร่วมกันตัดต้นแสมของผู้เสียหาย และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 358, 362, 365 แม้ในคำฟ้องจะไม่ได้บรรยายมาด้วยว่าเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขก็ตาม แต่ในคำฟ้องระบุว่ามีการเข้าไปตัดฟันต้นแสม ย่อมมีความหมายบ่งชี้ชัดอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
เมื่อตามฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์รวมกันมาเป็นกรรมเดียว และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 358 ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 4 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษคนละ 2 ปี ส่วนความผิดฐานบุกรุกให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษในฐานความผิดตามฟ้องจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินกำหนดดังกล่าว ทั้งมิใช่กรณีที่เป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 แม้โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษารับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่คำร้องดังกล่าวระบุขอให้รับรองให้ฎีกาเฉพาะคำขอส่วนแพ่ง และผู้พิพากษามีคำสั่งว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรสู่ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้พิพากษาให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองสถานหนัก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว


คำถาม การพิจารณาว่าคำฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบตามกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเอกสารท้ายคำฟ้องหรือไม่

คำตอบ  มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2561 (ฎีกาใหม่)  การพิจารณาว่าคำฟ้องของโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำฟ้องโจทก์เท่านั้น ส่วนเอกสารท้ายฟ้องแม้เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็เป็นเพียงส่วนแสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเท่านั้น ไม่อาจนำเอกสารท้ายฟ้องและคำเบิกความของโจทก์มาพิจารณาประกอบกับคำฟ้องด้วย

การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยเจ้าพนักงานผู้กระทำมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจของจำเลยทั้งยี่สิบสี่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบสี่ย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์มิได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยทั้งยี่สิบสี่กระทำการตามคำฟ้องโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ อย่างไร คำฟ้องโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2560***  คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ก.ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด และประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง แต่จำเลยใช้ตำแหน่งหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ก. เรียกประชุมข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล ก. แล้วแจ้งต่อที่ประชุมว่าขอหักเงินโบนัสคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ ของเงินโบนัสที่แต่ละคนจะได้รับ หากผู้ใดไม่จ่ายเงินให้จำเลยก็จะกลั่นแกล้งจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จนทำให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างทุกคน รวมทั้งโจทก์ทั้งสองต้องยอมจ่ายเงินโบนัสให้ เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของจำเลยในการบริหารราชการในภาพรวมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร แต่ใช้อำนาจหน้าที่ที่จำเลยมีไปในทางที่ผิดกฎหมายในลักษณะใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปแสวงหาผลประโยชน์ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์* ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดททุกวัน.... รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค1 อ.พงษ์เดช วานิชกิตติกูล (ภาคค่ำ) ครั้งที่1 สมัยที่72




สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*
ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค1 สมัยที่72
อ.พงษ์เดช วานิชกิตติกูล (ภาคค่ำ) 30 พ.ย 62

คำพิพากษาฎีกาที่ 2153/2555 บุคคลที่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ต้องเป็นบุคคลตามที่ ป.พ.พ.มาตรา175 ระบุไว้เท่านั้น บุคคลอื่นแม้มีส่วนได้เสียก็ไม่มีสิทธิ เมื่อขณะทำนิติกรรม ห.เพียงแต่สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ ห.เป็นคนไร้ฯหรือคนเสมือนฯ ต้องถือว่า ห.สามารถทำนิติกรรมต่างๆได้เอง โจทก์แม้เป็นบุตร แต่เมื่อ ห.ยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2542 ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินโดยละเมิดสิทธิของโจทก์ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้ว โจทก์จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นไป อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมกันต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตรา สูงกว่ามาใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาปัญหานี้ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นให้จำเลย ใช้แทนให้สูงขึ้นได้ การรื้อถอนบ้านจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้วโจทก์จะรื้อถอนบ้านของจำเลยเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลย ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์* ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดททุกวัน.... รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.วรนันยา (ภาคค่ำ) 28 พ.ย 62 สมัยที่72





สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ สมัยที่72
อ.วรนันยา (ภาคค่ำ) 28 พ.ย 62 


เงื่อนไขการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2546
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/3, 90/10, 90/17, 90/20

     การที่จะพิจารณาว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาถึงสถานะทางการเงินของลูกหนี้ว่า มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินหรือไม่ ในการพิจารณาดังกล่าวจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ประกอบกัน อาจเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นข้อสันนิษฐานในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 หรืออาจจะเป็นข้อเท็จจริงใด ๆ ที่จะแสดงให้เห็นว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ในการพิจารณาถึงสถานะที่แท้จริงของลูกหนี้ บัญชีงบดุลของลูกหนี้ เป็นพยานหลักฐานสำคัญประการหนึ่งที่แสดงถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ถ้าหากว่าการจัดทำบัญชีงบดุลนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนดหรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมวิชาชีพนั้น ย่อมมีน้ำหนักในการรับฟัง
     เมื่อธุรกิจของลูกหนี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี สาเหตุที่ลูกหนี้ประสบปัญหาทางด้านการเงินมาจากวิกฤติทางเศรษฐกิจและการชะงักงันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง อันถือว่าเป็นปัจจัยภายนอก การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้สามารถรักษาองค์กรทางธุรกิจให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งสามารถจะรักษาการจ้างงานจำนวนมากไว้ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และได้ความว่ากิจการของลูกหนี้ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยการปรับโครงสร้างทางการเงินทั้งในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้ ธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ กรณีจึงมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
     ในการตั้งผู้ทำแผน เมื่อผู้ร้องขอเสนอให้ตั้งบริษัท บ. เป็นผู้ทำแผน ส่วนลูกหนี้เสนอให้ตั้งบริษัท ป. จึงเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำคัดค้านได้เสนอให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนมาด้วย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาและมีคำสั่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทำแผนในชั้นนี้ได้ จะต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทำแผน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/17
     เมื่อผู้ร้องขอมิได้เสนอบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้บริหารชั่วคราว ประกอบกับผู้บริหารของลูกหนี้ได้บริหารกิจการของลูกหนี้มาตั้งแต่ต้นย่อมเป็นบุคคลที่ทราบข้อเท็จจริง ปัญหา ตลอดจนระบบการทำงานของลูกหนี้ได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ปรากฏเหตุที่ไม่สมควรตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวประกอบกับการตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวในระหว่างดำเนินการเพื่อตั้งผู้ทำแผนจะทำให้การบริหารงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงสมควรตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง


    คำพิพากษาฎีกาที่ 8271/2559 ลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้วหยุดดำเนินการมาก่อนยื่นคำร้องขอฟื้นฟูประมาณ 6 ปี ขณะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้คงมีเครื่องจักรในสภาพที่ไม่ได้มีการใช้งานไม่มีพนักงานที่จะดำเนินการ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะรักษากิจการที่ดำเนินการอยู่ให้ดำเนินการต่อไป เพราะกิจการหยุดมาแล้ว 6 ปี นอกจากนั้น เจ้าหนี้รายใหญ่มีหนี้ประมาณ ร้อยละ 80 คัดค้านการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544 ในการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนิน กิจการตามปกติต่อไปได้ เมื่อลูกหนี้มีกิจการเฉพาะโรงงานผลิตกระดาษและผลิตกล่องกระดาษแต่โรงงานดังกล่าว อยู่ระหว่างสัญญาเช่ากับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในโรงงานดังกล่าวในขณะที่ยื่น คำร้องขอ ลูกหนี้ยังไม่อาจปรับปรุงฟื้นฟูกิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวได้ ทั้งการให้เช่าโรงงานของลูกหนี้ ก็มีสัญญาเช่าเพียงรายเดียวคือสัญญาเช่าระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 2 เท่านั้นซึ่งกำหนดค่าเช่าแน่นอน หาใช่กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจในการเช่าทรัพย์สินอันจะต้องมีการจัดการบริหารดำเนินงานในทางธุรกิจการค้าไม่ กรณีจึง ไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10
       พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้…" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
       ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม

       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2548 การฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ แต่ปรากฏว่าลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ถึง 413,308,151.60 บาท มีผลขาดทุนสุทธิ 163,655,768.74 บาท ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิเกินทุนจำนวน 313,166,361.28 บาท โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแสดงความเห็นว่า บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นจำนวนเงินสูง เป็นเหตุให้สงสัยว่าบริษัทอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้ แม้ลูกหนี้จะดำเนินธุรกิจมานานโดยทำสัญญาร่วมทุนเพื่อดำเนินกิจการร้านสะดวกซื้อ เอเอ็ม/พีเอ็มกับวิสาหกิจ 2 แห่ง ในสถานีบริการน้ำมัน ป.ต.ท. ทั่วประเทศ โดยก่อตั้งบริษัทมาบริหารกิจการและลูกหนี้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวจำนวน 3,999,999 หุ้น แต่หุ้นดังกล่าวลูกหนี้ได้จำนำไว้กับผู้คัดค้าน และในปัจจุบันสิทธิในการใช้เครื่องหมาย เอเอ็ม/พีเอ็มก็ตกเป็นของผู้คัดค้านโดยได้รับความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของแล้ว ซึ่งผู้คัดค้านได้บอกเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิแล้วอันเนื่องมาจากผลประกอบการที่ขาดทุนและการค้างค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ นอกจากนี้หลังจากปี 2541 เป็นต้นมาไม่ปรากฏว่าลูกหนี้จัดทำงบการเงินยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้ว และไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้รับทุนหมุนเวียนมาจากสถาบันการเงินใด ดังนั้น จึงฟังได้ว่า ลูกหนี้ไม่ได้ประกอบธุรกิจแล้ว ลูกหนี้ไม่มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/10

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2552 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/24 วรรคสอง เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วกฎหมายได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบก็เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ได้มีโอกาสทราบถึงคำสั่งและยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งการที่จะตัดสิทธิของเจ้าหนี้เพราะเหตุที่เจ้าหนี้มิได้ยื่นขอรับชำระหนี้นั้นก็ต้องปรากฎด้วยว่าได้มีการประกาศและแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบตามที่กฎหมายได้บัญญัติรับรองไว้แล้ว คดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงอ้างเฉพาะในคำแถลงคัดค้านว่าได้ดำเนินการส่งสำเนาประกาศแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้แล้วตามที่อยู่ที่ปรากฏในบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น แต่มิได้ปรากฏหลักฐานใดเลยที่แสดงว่าได้มีการนำหนังสือไปส่งยังภูมิลำเนาของเจ้าหนี้แล้วแต่อย่างใด เช่นนี้ กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนก่อนหน้านั้นแล้วทั้งคดีฟื้นฟูกิจการก็ยังมิได้เสร็จสิ้นลง กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาต่อไป

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11397/2557*** การที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่ต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ด้วยผลของคำสั่งดังกล่าวเป็นผลให้คำพิพากษาให้จำเลยชำระแก่ค่าเสียหายโจทก์นั้นถูกยกเลิกเพิกถอนไปเสมือนมิได้มีคำพิพากษา ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 9(3)


การคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/1, 90/9

     พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า"ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้..." และในบทนิยามมาตรา 90/1"เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" เมื่อพิจารณาบทบัญญัติสองมาตรานี้ประกอบกันแล้ว จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า"เจ้าหนี้" นั้น คือ ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในโรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตามมาตรา 90/9 วรรคสาม

-----------------


แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดททุกวัน.... รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.อาญา ภาค3-4 อ.ธานีฯ (ภาคปกติ) 28 พ.ย 62 สมัยที่72


ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.อาญา ภาค3-4 สมัยที่72

อ.ธานีฯ (ภาคปกติ) 28 พ.ย 62  ครั้งที่1



-------------------------


       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2524 คำสั่งศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186  โดยต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ และเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงจะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2545 ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่ มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว โดยเฉพาะกรณีที่เหตุเกิดขึ้นในห้องพิจารณาคดีของศาล ขณะที่ผู้พิพากษารออ่านรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยอยู่ในภาวะถูกกดดันเป็นอย่างมาก การที่จำเลยกล่าวข้อความว่า "ทนายความคนนี้ใช้ไม่ได้ ทั้งประเทศไทยมีทนายความแบบนี้อยู่คนเดียว ชอบหาเรื่องกลั่นแกล้งจำเลย ประเทศชาติอยู่ไม่ได้แน่ ถ้ายังมีทนายความประเภทนี้ อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" และเมื่อ ผู้พิพากษาตักเตือน จำเลยยังกล่าวต่ออีกว่า "ท่านครับอย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" เป็นการระบายความรู้สึกของจำเลยที่มีต่อโจทก์และเป็นการวิจารณ์การทำงานในหน้าที่ทนายความของโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยในความรู้สึกว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้ง หาใช่เป็นการใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้ศาลจะพิจารณาเพียงว่าคดีโจทก์พอมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วพิจารณายกฟ้องในภายหลัง

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2549 คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยกับ ส. ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับมานำสืบและแสดงเป็นพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 180 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งความผิดแล้ว ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งโจทก์ได้ฟ้องแล้ว คดีนี้โจทก์นำการกระทำของจำเลยในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องจำเลยอีก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยปลอมเอกสารสิทธิและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งแตกต่างกัน แต่มูลคดีนี้ก็มาจากการกระทำอันเดียวกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2492 คดีอาญา ผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ครั้นถึงวันนัด ทนายโจทก์มา แต่ตัวโจทก์ไม่มาและโจทก์ไม่ได้ร้องขอเลื่อนคดี ศาลได้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว อัยยการจะนำคดีมาฟ้องใหม่หาได้ไม่ เพราะในคดีก่อนศาลยกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีพะยานมาสืบ ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการพิพากษายกฟ้อง โดยโจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่ได้สมฟ้อง เป็นการพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธิฟ้องร้องได้ระงับสิ้นไปตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 39 (4)


        ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด การกระทำไม่เป็นความผิด คดีขาดอายุความ มีเหตุที่ไม่ต้องรับโทษ ให้ศาลยกฟ้อง ข้อที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้น ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
         คำพิพากษาฎีกาที่ 11119/2558** การที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (1) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำนั้นเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้น และพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
        ศาลมีอำนาจพิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในสำนวนทั้งหมด การที่ศาลชั้นต้นสั่งคดี มีมูลแทนที่จะสั่งยกฟ้องโจทก์เสียในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เป็นเพียงแต่ให้รับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น แต่ในชั้นพิจารณาเมื่อปรากฏจากพยานหลักฐานชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ ตาม มาตรา 185 (ฎ.644/36) และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 ได้ แม้จะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง


        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11119/2558 การที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกข้อต่อสู้ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่า การกระทำนั้น เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
        การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลงข้อความในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมไปที่หน่วยงานราชการหลายแหล่ง แม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมก็ตาม แต่มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ร่วม เนื่องจาก เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงว่าจำเลยทั้งสามไม่ยอมขายที่ดินให้โจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความหวาดกลัวว่าโจทก์ร่วมเป็นข้าราชการทหารจะใช้อิทธิพลข่มขู่ รังแกจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นชาวบ้านและผู้หญิง จำเลยทั้งสามมีสิทธิที่จะเข้าใจได้โดยสุจริตว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประพฤติตนของโจทก์ร่วม อีกทั้งการที่จำเลยทั้งสามระบุชื่อจริงนามสกุลจริงของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสามตลอดจนที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสามไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามนำข้อความลงในเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วยเจตนาสุจริตตามที่เรื่องที่เกิดขึ้นแก่จำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม


-----------------------------------

โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี
โจทก์ร่วม พันเอกสุรพล จันทราสา
จำเลย นางประทุม พระโพนดก กับพวก
ป.อ. แสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต มาตรา 329 (1)
ป.วิ.อ. เหตุยกฟ้อง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328
จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา พันเอกสุรพล ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบมาตรา 326, 83 ฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาด้วยการบันทึกอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น จำคุกคนละ 1 ปี 4 เดือน ทางนำสืบของจำเลยทั้งสามเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุกคนละ 1 ปี
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา
        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งรับฟังเป็นยุติว่า เดิมจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 919 ตำบลดาวเรือง อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา ด้านทิศตะวันออกติดที่ดินนางกิ่งแก้วด้านทิศใต้ติดลำห้วยสาธารณะ เมื่อปี 2533 ทางราชการได้ตัดถนนสายสระบุรี - ปากยาว ผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้ที่ดินถูกแบ่งเป็นสองส่วน โดยที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดลำห้วยสาธารณะเป็นที่ดินแปลงเล็กเนื้อที่ประมาณ 2 งาน ยังไม่ได้ออกโฉนดที่ดิน ต่อมาวันที่ 3 สิงหาคม 2550 โจทก์ร่วม ได้ซื้อที่ดินของนางกิ่งแก้วซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงเล็กของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว และเมื่อโจทก์ร่วมทราบว่ามีที่ดินของจำเลยที่ 1 อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ร่วมที่ซื้อมาจากนางกิ่งแก้ว โจทก์ร่วมจึงติดต่อขอซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมขาย ต่อมาโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ยังไม่ได้ออกโฉนดที่ดินดังกล่าว โดยโจทก์ร่วมอ้างว่าได้ซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากนางกิ่งแก้ว และถูกจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานที่ดินเข้าไปรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ร่วมครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไปออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาท โจทก์ร่วมคัดค้านและฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ห้ามโจทก์ร่วมคัดค้านการออกโฉนด
ที่ดินดังกล่าว และให้โจทก์ร่วมรื้อถอนรั้วและปรับที่ดินให้มีสภาพคงเดิม กับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 โจทก์ร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

        คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ตามวันเวลาที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันเขียนและส่งข้อความลงชื่ออินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บบอร์ดสำนักงานเลขานุการกองบัญชาการทหารสูงสุด ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน เว็บไซต์โทรโข่ง (torakhong.org) ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน
เว็บไซต์ 1111.go.th ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน และเว็บไซต์แคร์แดด (caredad.net) ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ลงข้อความทำนองว่าโจทก์ร่วมใช้อิทธิพลข่มขู่ให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดิน ทำให้จำเลยทั้งสามเดือดร้อนเกรงกลัวต่ออิทธิพลของโจทก์ร่วม มีปัญหาต้องวินิจฉัยในประการแรก
ตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นมาวินิจฉัย เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นว่า เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่า การกระทำนั้น เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์ร่วม ฟังไม่ขึ้น

        มีปัญหาต้องวินิจฉัยในประการสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลงข้อความอันเป็นการใส่ความโจทก์ในเว็บไซต์ตามฟ้อง เป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรมหรือไม่ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้น วินิจฉัยว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลงข้อความในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมไปที่หน่วยงานราชการหลายแหล่ง แม้จะเป็นข้อความหมิ่นประมาท โจทก์ร่วมก็ตาม แต่มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ร่วม เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงว่าจำเลยทั้งสามไม่ยอมขายที่ดินให้โจทก์ร่วมเป็นเหตุให้เกิดความหวาดกลัวว่า โจทก์ร่วมเป็นข้าราชการทหารจะใช้อิทธิพลข่มขู่รังแกจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นชาวบ้านและผู้หญิง จำเลยทั้งสามมีสิทธิที่จะเข้าใจได้โดยสุจริตว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประพฤติตนของโจทก์ร่วม อีกทั้งการที่จำเลยทั้งสามระบุชื่อจริงนามสกุลจริงของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสามตลอดจนที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสามไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามนำข้อความลงในเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วยเจตนาสุจริตตามที่เรื่องที่เกิดขึ้นแก่จำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรม ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าประเด็นดังกล่าวศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้วินิจฉัยโดยละเอียดและแสดงเหตุผลไว้ชัดเจนแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

(พิทักษ์ คงจันทร์ - สรรทัศน์ เอี่ยมวรชัย - ฐานันท์ วรรณโกวิท)

ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ - ย่อ/ตรวจ


       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2550 ฎีกาของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 แห่ง ป.วิ.อ.
 -----------------------------


แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 (กลุ่ม วิ.แพ่ง-วิ.อาญา) อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งรายข้อ ท่องพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียดที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate



วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค4 อ.ทวี (ภาคค่ำ) ครั้งที่1 สมัยที่72



สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค4 บังคับคดี สมัยที่72อ.ทวี ประจวบลาภ (ภาคค่ำ) 27 พ.ย 62  ครั้งที่1

----------------------


หลักกฎหมาย มาตราที่สำคัญ

         มาตรา 271  ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 276 และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243 (2) และ (3) ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีนอกเขตศาล ให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีมีอํานาจต้ังให้ศาลอื่นบังคับคดีแทนได้ หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนทราบพร้อมด้วยสําเนาหมายบังคับคดีหรือสําเนาคําสั่งกําหนดวิธีการบังคับคดีในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลดังกล่าวแจ้งให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีทราบโดยไม่ชักช้า และให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือมีคําสั่งอื่นใดเพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไป
ถ้าเป็นการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง ให้ศาลที่บังคับคดีแทนส่งทรัพย์สินที่ได้จากการยึดหรืออายัดหรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เพื่อดําเนินการไปตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลโดยบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้ศาลที่บังคับคดีแทนมีอํานาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับคดีใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคําสั่งกําหนดวิธีการอย่างใดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ผิดพลาดหรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น รวมถึงดําเนินกระบวนพิจารณาอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องได้ เว้นแต่เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นและแจ้งผลการบังคับคดีไปยังศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีแล้ว ให้เป็นอํานาจของศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีเท่านั้น

          มาตรา 274  ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดําเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้
ถ้าคําพิพากษาหรือคําสั่งกําหนดให้ชําระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือกําหนดให้ชําระหนี้อย่างใดในอนาคต ให้นับระยะเวลาสิบปีตามวรรคหนึ่งตั้งแต่วันที่หนี้ตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้นอาจบังคับให้ชําระได้

ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดีตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป


คำพิพากษาศาลฎีกาในห้องบรรยายเนติฯ

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2508 คดีเดิม โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทำยอม ให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทนั้นให้โจทก์จึงเป็นคนละประเด็นกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
          จำเลยกล่าวอ้างลอยๆ ว่าประนีประนอมยอมความแล้วจะฟ้องโดยตั้งข้อหาเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ชอบที่จะบังคับไปตามสัญญายอม โดยมิได้ยกกฎหมายสนับสนุนก็คงหมายถึงว่าเป็นฟ้องซ้ำนั่นเอง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อนี้อีก
          ในคดีที่จำเลยยอมให้ที่พิพาทเป็นของโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นโดยไม่จำต้องบังคับอะไรอีกฉะนั้น การที่โจทก์มิได้ขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงหาทำให้สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่พิพาทดังกล่าวแล้วต้องเสียไปแต่อย่างใดไม่

      โจทก์ร้องขอให้ศาลบังคับจำเลยให้แบ่งแยกที่ดินตามยอมให้โจทก์ โดยที่คำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้แบ่งแยกไว้ด้วยเช่นนี้เป็นเรื่องเกินคำขอ

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535 โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2550 การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะเท่านั้นที่จะต้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งไม่ใช่กรณีที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ซึ่งหมายถึง การใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้ รวมทั้งเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าวมาแล้ว


         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12622/2558  ผู้ร้องเป็นผู้รับประกันภัยความซื่อสัตย์ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไว้จากโจทก์ผู้เป็นนายจ้างระหว่างปฏิบัติงานจำเลยที่ 1 รับชำระหนี้จากลูกค้าแล้วไม่นำส่งโจทก์และไม่ส่งเงินทดรองคืนโจทก์ เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ร้องจึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ผู้ร้องสามารถเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์เรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนที่ใช้ไปจากจำเลยทั้งสอง (จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์) ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่งและมาตรา 226 วรรคหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยผู้รับประกันภัยเป็นโจทก์ฟ้องในนามของผู้รับประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่การรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการบังคับคดี
        ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 การบังคับคดีเป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิให้ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิในการบังคับคดีของผู้เอาประกันภัยได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงเข้ารับช่วงสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้


        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2550 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลที่ดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ได้

-----------------


แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค4 อ.ชัยยุทธ (ภาคปกติ) ครั้งที่1 สมัยที่72



สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค4 สมัยที่72

อ.ชัยยุทธ ศรีจำนงค์ (ภาคปกติ) 27 พ.ย 62

----------------------------
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2529 ศาลที่มีอำนาจรับบรรดาคำฟ้องและคำขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามป.วิ.พ.มาตรา7(2)คือศาลตามป.วิ.พ.มาตรา302ซึ่งหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดคดีในชั้นต้นแม้ว่าศาลนั้นจะมอบให้ศาลอื่นบังคับคดีตามหมายบังคับคดีแทนและยังมิได้รับทรัพย์ที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์นั้นซึ่งทำให้ศาลที่รับบังคับคดีแทนมีอำนาจรับวินิจฉัยคำร้องที่อ้างว่าการบังคับคดีปฏิบัติไปโดยมิชอบได้ก็ตามแต่ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดคดีในชั้นต้นก็ยังมีอำนาจที่จะรับบรรดาคำร้องเช่นนั้นได้.


คำร้องขอให้ถอนการบังคับคดีโดยอ้างว่ามีสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมนั้น สามารถที่จะยื่นต่อศาลที่บังคับคดีแทนได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรา 292 ในเรื่องถอนการบังคับคดี ซึ่งบทบัญญัติในเรื่องการถอนการบังคับคดีนั้น มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 8847/2556 (เน้น**) วินิจฉัยว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการยึดที่ดินโจทก์เลขที่ 20560 อ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาตามยอม เป็นการแสดงคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีคือศาลที่พิจารณาและชี้ขาดในชั้นต้นตามความที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 271 วรรคแรก ซึ่งได้แก่ศาลจังหวัดนครราชสีมา จะยื่นต่อศาลที่ดำเนินการบังคับคดีแทนไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลที่ออกหมายบังคับคดีคือศาลจังหวัดนครราชสีมาไม่ใช่ศาลชั้นต้นที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ จึงเป็นการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี จึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นนั้นได้


-----------------


แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐ 27 พ.ย 62 ครั้งที่1 (ภาคค่ำ) สมัยที่72 (บรรยายแทน)





สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

 ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง สมัยที่72 

อ.ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ (ภาคค่ำ) 27 พ.ย 62  (บรรยายแทน)

----------------------------

           คำพิพากษาฎีกาที่ 6412/2556 จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ที่ศาลต้องฟังจำเลยที่ 1 ก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้โดยไม่จำต้องฟังจำเลยที่ 1 ก่อน
          แม้โจทก์อาจนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ จำเลยที่ 1 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยังมีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ไม่มีข้อที่ต้องเสียเปรียบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายหรือเสียเปรียบ กรณีไม่มีเหตุต้องเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1


 

          คำสั่งศาลฎีกาที่ ๕๖๒๓/๒๕๔๘ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ

          คำพิพากษาฎีกาที่ 3042/2559 ในเรื่องการถอนคำร้องขอ หรือเรื่องถอนฟ้องนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 ไม่ได้ห้ามผู้ร้องถอนคำร้องขอหลังจากผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว โดยบังคับศาลเพียงว่า ภายหลังผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังผู้คัดค้านหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน แม้ผู้ร้องขอถอนคำร้องขอและผู้คัดค้านจะคัดค้าน ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามผู้ร้องที่ถอนคำร้องขอ ยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ศาลจึงไม่อาจนำข้อที่ผู้ร้องอ้างเรื่องการออกโฉนดไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วจะมายื่นฟ้องผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคดีใหม่เป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอได้ด้วย ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า หากศาลชั้นต้นพิจารณาคดีต่อไปหรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายแล้ว จะต้องยกคำร้องขอนั้น เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านคาดเดาไปเอง ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำร้องขอและข้อเถียงตามคำคัดค้านของฝ่ายตนแต่อย่างไร ทั้งกรณียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใดเลย หากผู้ร้องนำคดีมาร้องหรือฟ้องใหม่ ผู้คัดค้านก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงหาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบในเชิงคดีไม่

-----------------



แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ฎีกาห้องบรรยาย เนติฯ* วิ.แพ่ง ภาค 1 อ.อำนาจ (ภาคปกติ) สัปดาห์ที่1 สมัยที่72



สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

 ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ* วิ.แพ่ง ภาค 1  สมัยที่72 

อ.อำนาจ พวงชมภู (ภาคปกติ) 26 พ.ย 62 สัปดาห์ที่1

----------------------------


                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2535 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นหรือไม่ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นอย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์สั่งเพียงว่า "รวม" จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(1) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเสร็จไปแล้ว การที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยย่อมจะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลง ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วหากต่อมาในชั้นพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นสาระแก่คดีก็พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 การบังคับคดีจะต้องเป็นไปตามคำพิพากษา รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในวันทำคำพิพากษาตามยอมให้โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมนั้น แม้จะมีถ้อยคำที่แตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่มีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าข้อความที่ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี

                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2543 โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้ระงับการก่อสร้างและให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน อ้างว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การก่อสร้างขยายท่าอากาศยานทำให้เกิดฝุ่นละออง ประชาชนและโจทก์ทั้งสิบหกสูดฝุ่นละอองทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง และมีผลต่อการระบายน้ำในหมู่บ้านทำให้เกิดความเสียหายแก่สุขภาพอนามัยและทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิบหกดังนี้ กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกเป็นเรื่องแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดหรือแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสิบหกได้รับอันตรายแก่ร่างกายสุขภาพอนามัย และเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิบหกเสียหายด้วยประการใด ๆโจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 96 ได้ หรืออาจเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐในกรณีที่ได้รับความเสียหายอันมีสาเหตุมาจากกิจการหรือโครงการที่ริเริ่ม สนับสนุนหรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 6 (2) หรือหากเป็นกรณีจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อโจทก์ทั้งสิบหกโดยผิดกฎหมายให้โจทก์ทั้งสิบหกเสียหายแก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสิบหก โจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องผู้ทำละเมิดหรือนายจ้างของผู้ทำละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ หรือหากผู้ทำละเมิดทำละเมิดต่อเนื่องกันไม่ยอมหยุดโจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ทำละเมิดหยุดทำละเมิดเสียก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
                   การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าหากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานจึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ยิ่งกว่านั้นโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานได้
                   เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกไม่อาจจะพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบหกเสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องและคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งสิบหกทั้งหมดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2550 โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ป. โดยชอบ และโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ปี 2502 ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่ในทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีก็ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ที่ดินพิพาทมีได้เพียงสิทธิครอบครองซึ่งไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้ย้อนกลับไปเป็นของ ป. หรือของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
                   เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน

                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2549 แม้ศาลจะยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 ที่บัญญัติไว้ว่าให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงชื่อศาลที่พิพากษา ชื่อคู่ความทุกฝ่าย รายการแห่งคดี เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียมก็ตาม แต่ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อปรากฏจากคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 (จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) เป็นฟ้องซ้ำ ส่วนจำเลยที่ 2 (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และการที่โจทก์ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งในคำฟ้องย่อมถือว่าทราบคำพิพากษาแล้วด้วย หาจำต้องสั่งรับฟ้องก่อนแล้วกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาและอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังก่อนดังที่โจทก์ฎีกาไม่
                   เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป


                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2553 ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2555 สัญญาเช่ามีคำมั่นว่าก่อนครบสัญญาเช่า โจทก์และจำเลยจะปรับเปลี่ยนค่าเช่าหรือระยะเวลาเช่าในอัตราที่เป็นธรรม ดังที่ปฏิบัติมาเป็นปกติประเพณี ข้อความดังกล่าวไม่มีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับค่าเช่าหรือระยะเวลาเช่าที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า จึงยังไม่เข้าลักษณะคำมั่นจะให้เช่า ซึ่งเมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่สนองรับคำเสนอที่โจทก์แจ้งไป ถือว่าคำเสนอของโจทก์ตกไป สัญญาเช่าจึงไม่เกิดขึ้น กรณีถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ที่โจทก์จะบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
                   ในชั้นตรวจคำฟ้อง ศาลต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งรับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสีย ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่จำต้องสั่งรับฟ้องไว้ก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิเนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสีย



-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate