แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งเนติฯ วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งเนติฯ วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ1. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ1. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71


สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ2. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ2. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71




สรุป เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ3 .เนติฯ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ3. วิแพ่ง ภาค2 เนติฯ สมัยที่ 71
 (วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น) 






สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ4. วิแพ่ง ภาค2 เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ4. วิแพ่ง ภาค2 เนติ สมัยที่ 71
 (วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น)  









สรุปเก็ง ที่ออกสอบ ข้อ5. วิแพ่ง ภาค3 (อุทธรณ์-ฎีกา) เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ5. วิแพ่ง ภาค3 (อุทธรณ์-ฎีกา) เนติ สมัยที่ 71









สรุปเก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ8 เนติ ภาค2 สมัยที่71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ8 ล้มละลาย เนติ ภาค2 สมัยที่71




สรุป เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ9 เนติ ภาค2 สมัยที่71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ9 เนติ ภาค2 สมัยที่71


วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

เก็งเนติฯ กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค3 ภาค2 สมัยที่70

      เก็งเนติฯ วิแพ่ง ภาค3 ภาค2 สมัยที่70
----------------------------

   กรณีที่จำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะยกเป็นข้อต่อสู้หรือสละข้อต่อสู้นั้นแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาอีก
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๐๖/๒๕๔๐ จำเลยยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องว่า ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยว ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แต่ต่อมาได้แถลงไม่ ติดใจที่จะต่อสู้ต่อไป ประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องจึงยุติไปตามคำแถลงของจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นฎีกาตามมาตรา ๒๔๙ วรรคสอง เพราะตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ และเมื่อประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องยุติไปตามคำแถลงของจำเลย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๔๙ วรรคแรก

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๒๒/๒๕๕๒ จำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง โดยโต้เถียงความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไว้ แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามได้แถลงขอสละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์แล้ว และจำเลยทั้งสามมิได้สืบพยานอีกด้วย คดีในศาลชั้นต้นจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอำนาจฟ้องตามคำให้การของจำเลยทั้งสามโดยจำเลยทั้งสามไม่ติดใจโต้เถียงเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยทั้งสามยังคงอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้อง คดีของโจทก์ไม่ถูกต้องอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และต้องฟังว่าโจทก์มอบอำนาจฟ้องถูกต้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น (นอกจากนี้ขอให้ดู คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕๓/๒๕๕๒ เป็นกรณีที่อ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย  จำเลยลงชื่อเพียงให้ความยินยอม)

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๕๔/๒๕๕๐ ผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๙๒๗ ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามมาตรา ๙๓๗ ธนาคาร น. ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย ตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ ๑ ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคาร น. ตาม มาตรา ๙๖๗ วรรคสาม ดังนั้น เมื่อธนาคาร น. ได้จ่ายเงินให้บริษัท ต. ซึ่งเป็นผู้รับเงินไปแล้ว ธนาคาร น. จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ ๑ ผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะสละประเด็นพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๕ วรรคสอง
        ***คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๐๖/๒๕๔๐ และที่ ๑๐๒๒/๒๕๕๒   แตกต่างจาก คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๕๔/๒๕๕๐ ที่ว่า คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๐๖/๒๕๔๐ และ ที่ ๑๐๒๒/๒๕๕๐ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องตามกฎหมายวิธีสบัญญัติเมื่อสละแล้วก็ยุติ
        แต่คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๕๔/๒๕๕๐ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องตามกฎหมายสาระบัญญัติ คือ โจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ แม้จำเลยจะเคยสละประเด็นพิพาทข้อนี้ไปแล้ว ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ (แม้สละศาลก็หยิบยกได้)

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๕๙๕/๒๕๕๖ ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบ แม้จำเลยจะแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าขอสละประเด็นดังกล่าว ไม่ติดใจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมมีอำนาจยกขึ้นได้


อ้างอิง รวมคำบรรยายเนติฯ วิชา กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค3 (ศอ.อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) เล่มที่8 การบรรยายครั้งที่7 ภาค2 สมัยที่70 .