แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ฎีกาแพ่ง เนติ ข้อ1 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ฎีกาแพ่ง เนติ ข้อ1 แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปฎีกาเด่น* วิชาทรัพย์ - ที่ดิน อ.กนก (ภาคปกติ) 23 พ.ค. 60 ครั้งที่1 สมัยที่70

สรุปฎีกาเด่น วิชาทรัพย์ - ที่ดิน
อ.กนก (ภาคปกติ) 23 พ.ค. 2560 ครั้งที่1 สมัยที่70
------------

คำว่า "ทรัพย์"

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๘๐/๒๕๔๒ (ประชุมใหญ่) คำว่าโทรศัพท์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเลียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้า ที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอากระแสสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกันกับลักกระแสไฟฟ้า

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕๔/๒๕๓๙ จำเลยนำโทรศัพท์มือถือมาปรับจูนก๊อปปี้ คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วใช้รับส่งวิทยุโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเพียงการแย่งคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายโดยไม่มีสิทธิ มิใช่เป็นการเอาทรัพย์ ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ต้องยกฟ้อง


ศพเป็นทรัพย์หรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๗๔/๒๕๐๘ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔๖ นอกจากผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแล้ว ยังแสดงเจตนาในการต่างๆ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ คำว่าการต่างๆ ตามกฎหมายที่บัญญัตินั้นก็สุดแต่ผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการ เผื่อตายในการต่างๆ ไว้ หากชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินก็มีผลบังคับได้ตามพินัยกรรมเมื่อตนตายแล้ว และการต่างๆ นั้นมิใช่จะต้องมีกฎหมายระบุไว้ ว่าเป็นการใดบ้าง นอกจากนั้นศาลฎีกายังวินิจฉัยว่า ผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับศพของผู้ตายโดยอุทิศศพของตนให้แก่กรมมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยทำถูกต้องตามแบบพินัยกรรมตามประมวลผลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๕๖ พินัยกรรมของผู้ตายนั้นย่อมสมบูรณ์ มหาวิทยาลัย แพทย์คาสตร์โดยโรงพยาบาลคิริราชก็เอาศพนั้นมาใช้ในการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ได้

สรุป จากคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๗๔/๒๕๐๘ จะเห็นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกศพของตนเองให้แก่โรงพยาบาลคิริราชเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ให้นักศึกษาได้ศึกษาถึงลักษณะของศพ พอผู้ทำพินับกรรมตายโรงพยาบาลจะเอาศพไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่ทายาทไม่ให้เพราะต้องการจะจัดการศพผู้ตายตามประเพณีโดยนำไปฝัง ตามศาสนา ทายาทก็มาฟ้องโรงพยาบาลโดยตั้งรูปคดีอาศัยหลักตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๐ ว่ากองมรดกได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย แต่ศพไม่ใช่ทรัพย์สินจึงทำพินัยกรรมมิได้ ทั้งมาตรา ๑๖๔๙ กำหนดว่าผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำศพของผู้ตาย คือ ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้หรือผู้ตายได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพผู้ตาย เมื่อผู้ตายไม่ได้กำหนดหรือมอบหมายให้ใครเป็นผู้จัดทำศพ ทายาทจึงมีอำนาจทำศพผู้ตาย แต่ศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ฝ่ายทายาทตั้งไว้ กลับไปออกในข้อกฎหมายตามมาตรา ๑๖๔๖ ว่า การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมมอบร่างกายตนเองให้ โรงพยาบาลศิริราชนั้นเป็นกำหนดการเผื่อตายอย่างหนึ่งซึ่งจะมีผลบังคับเมื่อตนตายได้ ซึ่งการกำหนดการอย่างนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย อันนี้เป็นเหตุผล ถือว่าการให้ร่างกาย ของตนเองแก่โรงพยาบาลเพื่อประโยชน์ในการศึกษาเป็นการกำหนดการเผื่อตายที่ไม่มีกฎหมายห้าม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี โรงพยาบาลคิริราชมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่กำหนดในพินัยกรรม 

ซึ่งคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้มีหลายท่านวิจารณ์ว่า ศาลฎีกาไม่กล้าฟันธงว่าศพเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือไม่ แต่อย่าลืมว่าข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นที่เป็นปัญหาในคดีนั้นอาจจะมีข้อกฎหมายหลายข้อที่อาจจะเลือกมาปรับใช้ แก่คดีหรือข้อเท็จจริงนั้นได้โดยมีผลไม่ต่างกัน อันนี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะใช้กฎหมาย มาปรับแก่คดีหรือข้อเท็จจริง ผมเห็นว่าการที่ศาลฎีกายกประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๖๔๖ เรื่องพินัยกรรมมาใช้แทนที่จะไปวินิจฉัยว่าศพเป็นทรัพย์หรือไม่ ใครมีอำนาจทำศพ ศาลฎีกาอาจเห็นว่าถ้าเอามาตรา ๑๖๔๖ ในเรื่องทำพินัยกรรม กำหนดการเผื่อตายมาใช้น่าจะเหมาะสมกว่าที่จะวางบรรทัดฐานโดยอาศัยคดีเพียงเรื่องเดียว เพราะอาจจะไม่เหมาะสมที่จะให้ถือเป็นข้อยุติได้หากวินิจฉัยว่าศพเป็นทรัพย์หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในภายหลังอาจจะทำให้มีปัญหาในการปรับใช้กฎหมาย ไม่เป็นไปตามแนวเดียวกัน ทั้งนี้เพราะถ้าวินิจฉัยว่าศพเป็นทรัพย์ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของมรดกแล้ว ในหลักการทรัพย์มรดกก็ต้องตกทอดแก่ทายาทหรือผู้รับพินัยกรรม เมื่อ ตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมแล้ว ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมก็จะอ้างสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เขามีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้น ตามที่เขาเห็นสมควร ซึ่งเจ้าของมรดกต้องการที่จะมอบร่างกายของตัวเองให้เป็นประโยชน์ ในการศึกษา แต่ทายาทว่าเป็นทรัพย์สินของผม ผมมีอำนาจผมจะไม่ให้ ก็ขัดกับความประสงค์ของผู้ตาย นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยโดยตรงเพราะมีช่องทางอื่นที่ออกได้ดีกว่าและสมเจตนารมณ์ของผู้ตาย ทั้งไม่กระทบถึงหลักกฎหมายอื่น

ในเมื่อศาลฎีกายังไม่ได้ตัดสินในประเด็นว่าศพเป็นทรัพย์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณา ต่อไปว่ามีโอกาสไหมที่ศพจะเป็นทรัพย์ได้ หลายปีมาแล้วผมดูรายการทีวีมีข่าวว่า หน่วยงานทางด้านรักษาความปลอดภัยทางชายแดนจับผู้ลักลอบเข้าประเทศจากประเทศกัมพูชาได้หลายคน แต่ละคนก็แบกกระสอบมาด้วย เปิดกระสอบแล้วปรากฏว่า มีโครงกระดูกของมนุษย์ ถามแล้วได้ความว่าจะเอามาขายกับสุสานที่อำเภอสระแก้ว เพราะมีงานล้างป่าช้า หรือกรณีของอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียนแพทย์ สมัยก่อนโรงเรียน แพทย์มีไม่กี่แห่ง เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยเอกชนก็มี ความต้องการอาจารย์ใหญ่เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ศึกษาสรีระร่างกาย กระดูก โครงสร้างต่างๆ ก็มีการสั่งซื้อศพมาจากต่างประเทศ เพราะจะรอให้มีผู้บริจาคศพคงจะไม่พอ การซื้อขายศพมาให้นักเรียนแพทย์ อย่างนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อขายทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ศพก็เป็นทรัพย์ได้