แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อ1 วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อ1 วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ1 วิแพ่ง เนติฯ (การอุทธรณ์คำสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ1 วิแพ่ง

วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


การอุทธรณ์คำสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล


ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือให้ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ผู้ขอ อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ โดยจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕/๒๕๕๖ จำเลยอุทธรณ์พร้อมยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลชั้นต้นภายใน ๑๐ วัน นับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ เป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคท้าย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาอีก

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๑/๒๕๕๗ ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องที่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ภาค ๓ กล่าวคือ ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นมาชำระภายใน ๑๕ วัน การที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลอีก และศาลอุทธรณ์ภาค ๓ มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่สุด เช่นเดียวกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ ภาค ๓ อันเป็นที่สุดนั้นด้วย ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ต่อมา อีกได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๗๗/๒๕๖๐ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฉบับที่สองของจำเลยโดยให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนเกี่ยวกับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคท้าย บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาอีก

ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เห็นว่าฎีกาของโจทก์เป็น เรื่องการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ซึ่งคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทมาตราที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงไม่อาจขออนุญาตฎีกาได้ (คำสั่งของศาลฎีกาที่ ครพ. ๑๑๖/๒๕๖๐)

ข้อสังเกต
แม้เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่ เฉพาะบางส่วน หรือให้ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นฎีกาก็ต้องยื่น อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ หาใช่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาไม่***
ตามมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ (ที่แก้ไขใหม่) ผู้ขอต้องยื่นอุทธรณ์โดยยื่นเป็นอุทธรณ์ หาใช่ยื่นคำขอเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่***



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate