แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำถาม-ตอบ ฎีกา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำถาม-ตอบ ฎีกา แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

คำถาม-ตอบ คำพิพากษาฎีกา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.ประเสริฐฯ




สกัดหลัก เจาะมาตรา แนวคำถาม-ตอบ คำพิพากษาฎีกา 
เน้นประเด็น ท่องพร้อมสอบ ที่น่าสนใจ ชุดที่ ๑
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕
------------------------------------

อ.ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์


คำถาม โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ หมายถึงโทษจำคุกแต่ละกระทง หรือ ทุกกระทงรวมกัน

คำตอบ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ บัญญัติว่า “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้ (๕) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตรา โทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือ ปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้’’
ดังนั้น ตามบทบัญญัติ ดังกล่าวโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๕) นั้น หมายถึงโทษจำคุกแต่ละกระทงที่จะลงแก่จำเลยโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกเกินกว่า ๖ เดือนหรือไม่ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๘๖๘/๒๕๕๔ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ บัญญัติว่า “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้ (๕) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตรา โทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะ ลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือ ปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้’’ ตามบทบัญญัติ ดังกล่าวโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๕) นั้น หมายถึงโทษจำคุกแต่ละกระทงที่จะลงแก่จำเลยโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกเกินกว่า ๖ เดือนหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษ จำคุกจำเลยกระทงละ ๔ เดือน จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน ๖ เดือน ซึ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๕)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๔๓/๒๕๕๘ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก ๑ ปี และปรับ ๓,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือขื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๕) ทั้งนี้ เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕


 -----------------------------


 แนะนำ :-

-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 (กลุ่ม วิ.แพ่ง-วิ.อาญา) อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งรายข้อ ท่องพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียดที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate