เจาะหลักกฎหมาย ประเด็นฎีกา : กฎหมายแพ่ง ละเมิด (เตรียมสอบ ผู้ช่วยผู้พิพากษา)
เตรียมสอบ ผู้ช่วยผู้พิพากษา (ปี 2567 -2568)
คำถาม ลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จะถือว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใด
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7495/2555 ป.พ.พ.มาตรา 206 บัญญัติ ให้หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์และได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดเช่นเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด มิใช่นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
แนวการเขียนตอบข้อสอบ ⭐⭐⭐⭐⭐
1. ป.พ.พ.มาตรา 206 บัญญัติ ให้หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด
2. เมื่อลูกจ้าง ทำละเมิดต่อโจทก์และได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับ ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้าง ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
3. นายจ้าง จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับลูกจ้าง
4. นายจ้าง จึงผิดนัดมาแต่เวลาที่ลูกจ้าง ทำละเมิดเช่นเดียวกัน
5. ลูกจ้าง และนายจ้าง ทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด มิใช่นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
วิเคราะห์ปัญหาในประเด็นคำถามนี้
1. ลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จะถือว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใด อาจจะเป็นคำถามที่ "ถามง่าย แต่ตอบยาก" ทำให้เกิดความลังเลใจ
2. หลักกฎหมาย เบื้องต้น ทุกท่านทราบ ตอบได้ทันทีอยู่แล้วว่า "หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด" แต่ปัญหาที่จะต้องตอบ คือ นายจ้างผิดนัดเมื่อใด💣💣💣 เกิดปัญหา ว่าจะตอบไปทางซ้าย ธงอาจจะไปทางขวา (คือ เดา หรือไม่มั่นใจ วัดดวง)
3. .ให้เขียนตอบข้อสอบแบบ "แพ่ง"
https://www.lawsiam.com/?file=lawyer-exam