แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดเทปแพ่ง เนติ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดเทปแพ่ง เนติ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ฎีกาถอดเทปแพ่ง เนติ 1/71 วิชา มรดก (อ.กีรติ กาญจนรินทร์) ภาคปกติ 21 พ.ค 61 ครั้งที่1

ฎีกาถอดเทป เนติ 1/71 วิชา มรดก (อ.กีรติ กาญจนรินทร์) ภาคปกติ 21 พ.ค 61 ครั้งที่1

อยู่ระหว่างถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น เนติฯ แพ่ง-อาญา ครบทุกคาบ ทันก่อนสอบ* สมัยที่ 71
เก็งพร้อมสอบ อัพเดท ที่ www.LawSiam.com  

*****************

การใช้กฎหมายมรดก ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2541 เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่พิพาทยังอยู่ระหว่างทายาทครอบครองร่วมกันและยังมิได้มีการแบ่งปันกัน แม้จำเลยจะครอบครองทรัพย์มรดกก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย แม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 และเมื่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 กำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอายุความมรดกไม่อยู่ในบังคับต้องใช้กฎหมายอิสลาม กรณีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541 บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลพ.ศ. 2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียก่อน คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2483 ผู้ตายและผู้รับมฤดกต่างนั้นถือศาสนาอิสสลามและอยู่ในบริเวณ 7 หัวเมืองนั้นต้องแย่งมฤดกตามกฎหมายอิสสลาม ไม่ว่าทรัพย์จะอยู่นอกจังหวัดนั้นหรือไม่ สารตราที่ออกโดยพระบรมราชกิจจานุเบกษาก็ต้องถือว่ามีผลใช้บังคับได้ดุจ กฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2505 การวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกในศาลจังหวัดปัตตานีซึ่งศาลชั้นต้นต้องใช้กฎหมายอิสลามและต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามนั้น หากศาลชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของดะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น

..........
หมายเหตุ ทยอยอัพเดท ..ถอดเทป+เน้นประเด็น เนติฯ แพ่ง-อาญา ครบทุกคาบ ทันก่อนสอบ* 
เก็งพร้อมสอบ สมัยที่ 71 อัพเดท ที่ www.LawSiam.com