แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งฎีกา นิติกรรม-สัญญา เนติ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งฎีกา นิติกรรม-สัญญา เนติ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ฎีกาเด่น* ถอดไฟล์เสียง ห้องบรรยายเนติฯ สัปดาห์ที่1 ภาค 1 สมัยที่ 70 วิชา นิติกรรม-สัญญา อ.ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุทธยา (ภาคปกติ) 23พ.ค. 60

ฎีกาเด่น* ถอดไฟล์เสียง ห้องบรรยายเนติฯ สัปดาห์ที่1  ภาค 1 สมัยที่ 70 
 วิชา นิติกรรม-สัญญา  อ.ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุทธยา  (ภาคปกติ) 23พ.ค. 60
------------------------------- 

การกระทำนิติกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย (มาตรา 150) มีผลให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2529 จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ทำสัญญากับโจทก์ซึ่งก็ทราบว่าจำเลยมีภริยาอยู่แล้ว มีสาระสำคัญว่าโจทก์จำเลยยินยอมเป็นสามีภริยากันตั้งแต่วันทำสัญญาโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์เดือนละ 1,000 บาท สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2500 โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นโมฆะ เพราะนำเอาจำนวนเงินดอกเบี้ยซึ่งเรียกเกินจากอัตราที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้มาทำกันขึ้น จำเลยย่อมนำสืบได้ ไม่ต้องห้าม


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2508 การกู้เงินกันรายเดียว แต่ทำหนังสือเป็นหลักฐานสองฉบับโดยผู้ให้กู้ให้ผู้กู้ยืมเงิน 7,000 บาท และตกลงกันว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดให้ผู้ให้กู้ฟ้องเอาได้14,000 บาทนั้น เห็นได้ว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควร จึงเป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายการเรียกดอกเบี้ยและกำไรอื่นจึงเป็นโมฆะ ผู้กู้จึงยังคงต้องรับผิดเฉพาะเงินต้น 7,000 บาทที่กู้ไปเท่านั้นส่วนผู้ค้ำประกันเงินกู้ 14,000บาท มิใช่ค้ำประกันเงินกู้ 7,000 บาทจึงหาต้องรับผิดด้วยไม่