แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ฎีกากฎหมายภาษีอากร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ฎีกากฎหมายภาษีอากร แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฎีกากฎหมายภาษีอากร (ภาคค่ำ) อ.เพ็ญวิภา สัปดาห์ที่8 10 ก.ค 61 สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ กฎหมายภาษีอากร (ภาคค่ำ)
 อ.เพ็ญวิภา ลอยกุลนันท์ 10 ก.ค 61 สัปดาห์ที่8 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) สมัยที่71


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542 ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทำใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ทุกครั้ง และมาตรา 86/13 ระบุห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ออกใบกำกับภาษี ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิ ออกใบกำกับภาษีได้คือผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี หากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการ การจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏ ในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ เมื่อบริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัทพ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแต่บริษัทพ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัทพ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.และถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทพ.ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้เนื่องจากบริษัทพ.ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.ไปโดยสุจริตเนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์โดยชอบก็เป็น ความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าว เอากับบริษัทพ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายจึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนพร้อมเงินได้




***ทยอยอัพเดท...ติดตามโหลด ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น**
 สรุปย่อคำบรรยายเนติ เก็งพร้อมสอบ อัพเดท ที่ www.LawSiam.com