วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฎีกากฎหมายภาษีอากร (ภาคค่ำ) อ.เพ็ญวิภา สัปดาห์ที่8 10 ก.ค 61 สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ กฎหมายภาษีอากร (ภาคค่ำ)
 อ.เพ็ญวิภา ลอยกุลนันท์ 10 ก.ค 61 สัปดาห์ที่8 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) สมัยที่71


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542 ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทำใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ทุกครั้ง และมาตรา 86/13 ระบุห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ออกใบกำกับภาษี ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิ ออกใบกำกับภาษีได้คือผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี หากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการ การจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏ ในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ เมื่อบริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัทพ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแต่บริษัทพ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัทพ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.และถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทพ.ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้เนื่องจากบริษัทพ.ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.ไปโดยสุจริตเนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์โดยชอบก็เป็น ความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าว เอากับบริษัทพ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายจึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนพร้อมเงินได้




***ทยอยอัพเดท...ติดตามโหลด ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น**
 สรุปย่อคำบรรยายเนติ เก็งพร้อมสอบ อัพเดท ที่ www.LawSiam.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น