วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฎีกาเนติ ภาคค่ำ ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ อ.ฉันทวัธน์ วรทัต วันที่ 12 ก.ค 61 สัปดาห์ที่8 สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิชา ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ (ภาคค่ำ)  สมัยที่71
อ.ฉันทวัธน์ วรทัต  วันที่ 12 ก.ค 61 สัปดาห์ที่8  
-----------------
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2517 ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการซื้อขายที่ดินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งโจทก์มิได้วางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วน จึงฟ้องให้บังคับคดีไม่ได้ พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าเอกสารเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการสอบสวนสิทธิในที่ดิน เป็นหลักฐานฟ้องบังคับคดีได้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ จำเลยฎีกาว่าเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการสอบสวนสิทธิในที่ดินมิใช่สัญญาจะซื้อขายที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง 50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2544 การออกเช็คของจำเลยจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความสองประการคือมีหนี้ที่จะต้องชำระ และหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมายคดีนี้ ธ. อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าขายสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็กแก่โจทก์ร่วม เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคากว่า 500 บาทขึ้นไป แต่หลักฐานที่แสดงว่าจำเลยได้ซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์ร่วมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม โจทก์ร่วมหาได้มีมาแสดงหรือนำสืบถึงเหตุที่ไม่อาจนำมาแสดงได้ไม่ จึงไม่พอฟังได้ว่า มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทมาจากการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าดังกล่าวมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงไม่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2539 ในชั้นชี้สองสถานจำเลยยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท 2ประเด็นคือ1.โจทก์ให้คำมั่นจะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก6ปีหรือไม่และ2.โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไปหรือไม่ประเด็นดังกล่าวนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงประเด็นที่จำเลยประสงค์ให้กำหนดไว้แล้วทั้งสองประเด็นทั้งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยปัญหาทั้งสองประเด็นนี้ไว้แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมอีก คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจาก ข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมแม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าที่ดินพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญจำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538 หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนดระยะเวลา20ปีนับตั้งแต่วันที่13สิงหาคม2515ดังนั้นสัญญาเช่าจึงสิ้นสุดลงในวันที่13สิงหาคม2535โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา564ปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วเพียง4วันโจทก์ก็มา ฟ้องขับไล่จำเลยแสดงว่าโจทก์ได้ทักท้วงไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำเป็นต้องมีการบอกเลิกสัญญากันอีก เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงผู้เช่ายังอยู่ในที่ดินพิพาทโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ยินยอมจึงเป็นการอยู่ในที่พิพาทโดยมิได้อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าการอยู่ในที่ดินพิพาทของผู้เช่าจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ให้เช่าผู้เช่าต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าส่วนค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าแถลงต่อศาลชั้นต้นยอมรับว่า ค่าเสียหายของโจทก์คิดเป็นเงินเดือนละ20,000บาทศาลย่อมกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ20,000บาทได้

มัดจำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2544 คำว่า มัดจำ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377มีความหมายว่าจะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าทำสัญญาซึ่งอาจจะเป็นเงินหรือสิ่งมีค่าอื่นซึ่งมีค่าในตัวเอง
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้รับเงินจำนวน 1,788,000 บาท เพื่อเป็นการวางมัดจำไว้กับผู้จะขายโดยเงินมัดจำดังกล่าวจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า 3 ฉบับ และโจทก์นำมาฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 เพียง 1 ฉบับ เมื่อเช็คเป็นตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินเมื่อทวงถามให้แก่ผู้รับเงินจึงเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 138 และเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง เพราะสามารถเรียกเก็บเงินหรือโอนเปลี่ยนมือได้ จึงส่งมอบให้แก่กันเป็นมัดจำได้แม้เช็คลงวันที่หลังจากวันทำสัญญา เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2528 จำเลยทำสัญญากู้ยืมไว้แก่โจทก์แทนการวางมัดจำเป็นเงินสดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยมีหนี้ที่จะต้องวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้ยืมได้เพราะมีมูลหนี้ต่อกันและกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการส่งมอบเงินให้ผู้กู้แล้ว เมื่อสัญญากู้ยืมครบกำหนด จำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินได้โดยถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเป็นต้นไปและเรียกค่าเสียหายร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่ากับดอกเบี้ยโดยคิดตั้งแต่วันผิดนัดได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544 แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544 แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2547 โจทก์ชำระเงินจำนวน 30,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันจอง และจำนวน 120,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน ดังนั้น เงินจำนวน 150,000 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้ให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา เพื่อให้จำเลยยึดไว้เป็นการชำระหนี้บางส่วนและเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจึงถือเป็นมัดจำ ส่วนหลังจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ยังผ่อนชำระให้แก่จำเลยรวม 12 งวด เป็นเงิน 840,000 บาท ย่อมไม่อาจถือเป็นมัดจำ แต่เป็นเพียงการชำระราคาบ้านและที่ดินบางส่วน ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำจำนวน 150,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน เงินที่โจทก์ชำระค่าบ้านและค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าวต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแล้วให้เงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดตกเป็นของจำเลยได้นั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และถ้าเบี้ยปรับสูงเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2522 โจทก์ประกาศประกวดราคาจัดซื้อของ เป็นคำเชิญชวนให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าประกวดราคายื่นซองเสนอหนังสือเสนอราคาที่จำเลยยื่นเป็นคำเสนอ โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าตกลงรับราคาที่จำเลยเสนอและให้ไปทำสัญญาเป็นคำสนอง แต่สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ สัญญาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือตามข้อผูกพันที่ระบุไว้ในประกาศประกวดราคา จำเลยไม่ไปทำสัญญากับโจทก์ตามกำหนดเวลา โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำซองประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในประกาศประกวดราคา แต่เมื่อยังไม่มีสัญญาซื้อขายต่อกันจำเลยยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่จะต้องมอบของให้โจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของจากผู้อื่นแพงกว่าราคาที่จำเลยเสนอเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2537 การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตกลงซื้อขายข้าวนึ่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยโดยทางโทรพิมพ์ และโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมายังเครดิตธนาคาร ก. เพื่อชำระเงินค่าข้าวนึ่งตามที่มีการติดต่อกันไว้ทางโทรพิมพ์แล้วก็ตาม เมื่อการตกลงซื้อขายข้าวนึ่งดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยทั้งสองผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำหรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์จึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553 ใบรับเงินมีข้อความว่า "จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน" เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ" ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปรากศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2524 สิทธิในการเป็นลูกวงในการเล่นแชร์เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งเพราะมีราคาและอาจถือเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 99 จึงจำหน่ายและซื้อขายกันได้
จำเลยขายสิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้นให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194
การซื้อขายแชร์กฎหมายมิได้บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือการซื้อขายจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่อยู่ในบังคับว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องหรือโอนหนี้
อ่านต่อ...


***ทยอยอัพเดท...ติดตามโหลด ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น**

 สรุปย่อคำบรรยายเนติ เก็งพร้อมสอบ อัพเดท ที่ www.LawSiam.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น