แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อ 4-5 วิ.อาญา ภาค 3 - 4 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อ 4-5 วิ.อาญา ภาค 3 - 4 แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

คำถาม-ตอบ ข้อ 4-5 วิ.อาญา ภาค 3 - 4 เนติฯ



 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ4-5 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 3 - 4

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



คำถาม  จำเลยเป็นคู่ความในคดี ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันต่อศาล แต่จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาประกันต่อศาลจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรือถูกบังคับตามสัญญาประกันได้หรือไม่ และ เมื่อผิดสัญญาประกัน จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ หรือไม่

คำตอบ
ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันต่อศาล แม้จำเลยจะเป็นคู่ความในคดี แต่ จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาประกันต่อศาล ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันและไม่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันได้ ดังนั้น เมื่อผิดสัญญาประกัน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๑๐/๒๕๕๙*** คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ผู้ประกันทั้งสี่ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างฎีกา โดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลในวงเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาผู้ประกันทั้งสี่ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันทั้งสี่ตามสัญญาประกัน ผู้ประกันที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ นำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำขอให้ลดหรืองดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ลดค่าปรับโดยปรับ ๑๕,๐๐๐ บาท ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ลดหรือ งดค่าปรับ ศาลชั้นต้นสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยฎีกา


มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งด หรือลดค่าปรับหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามสัญญาประกันผู้ประกันทั้งสี่เป็นผู้ทำสัญญาไว้ต่อศาล ผู้ประกันทั้งสี่จึงเป็นคู่สัญญาประกันกับศาล เมื่อมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าว ผู้ประกันทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายต้องถูกบังคับตามสัญญาประกัน แม้จำเลยจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี แต่จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงไม่จำต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดหรือลดค่าปรับได้ และเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องขอให้งดหรือลดค่าปรับของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท




-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate