แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หลักกฎหมาย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หลักกฎหมาย แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลักการชี้สองสถาน

 หลักการชี้สองสถาน คือ 
        ในกระบวนพิจารณาคดีของศาล เพื่อความสะดวกในการดำเนินคดี เมื่อศาลได้อ่านสำนวนคำฟ้องของโจทก์ และสำนวนคำให้การของจำเลยแล้ว ศาลจะมีแนวพิจารณา 2 ทาง คือ
           1. เมื่อโจทก์กล่าวหา = = > จำเลยยอมรับ = = > ศาลฟังได้ความแล้ว = = > จะรอตัดสินความ
          2. เมื่อโจทก์กล่าวหา = = > จำเลยปฏิเสธ = = > ศาลยังฟังไม่ได้ความ = = > จะนัดชี้สองสถาน

       การชี้สองสถาน คือ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล หลังมีการยื่นคำฟ้อง คำให้การ หรือคำให้ การแก้ฟ้องแย้งแล้ว เพื่อความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลจะสั่งให้มีการชี้สองสถาน ซึ่งในวันนั้น ศาลจะดำเนินการ 4 เรื่อง คือ
         1. การกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตาม ม.183 ว.1
         2. การกำหนดหน้าที่นำสืบ ตาม ม.84
         3. การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลัง ตาม ม.183 ว.1 ความท้าย
        4. การกำหนดวันสืบพยาน ตาม ม.184 ว.1

   ดังนั้น สรุปได้ว่าการชี้สองสถาน คือ การที่ศาลพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยหากมีข้อใดที่ฝ่ายโจทก์อ้างแล้วจำเลยไม่ยอมรับ ศาลจะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และกำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบ