แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียงเนติ 1/70 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียงเนติ 1/70 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียงเนติ 1/70 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ) อ.ปัญญาฯ 29 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1 ครั้งที่1

ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียงเนติ ภาค 1/70 
วิชา ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ) อ.ปัญญาฯ 29 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1 ครั้งที่1
............................

ในคราวที่แล้วอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องยืม ซึ่งเราจะต้องดูในส่วนของสัญญาแล้วจะต้องพิจารณาถึงบททั่วไปด้วย เช่น เจตนา ความสามารถ
ผู้ยืมฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหายได้หรือไม่ ผู้ยืมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องผู้ทำละเมิดทำให้ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลายหรือไม่ขึ้นอยู่ที่ว่าผู้ยืมมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมหรือไม่ ถ้าผู้ยืมใช้ทรัพย์ตามปกติไม่ผิดหน้าที่ แต่มีบุคคลที่สามมาทำละเมิดทำให้ทรัพย์ที่ยืมเสียหาย แม้ผู้ยืมจะเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมทรัพย์ที่ยืมให้กลับสู่สภาพเดิม ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดใช้ค่าเสียหายเป็นเรื่องผู้ให้ยืมจะต้องดำเนินการใช้สิทธิของตนเอง เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๘๓/๒๕๓๗ โจทก์ยืมรถยนต์ผู้อื่นมาใช้แล้วถูกจำเลย ทำละเมิดขับรถยนต์มาชนท้ายรถคันที่โจทก์ยืมเสียหาย แม้มาตรา ๖๔๗ จะบัญญัติ ว่าค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติและการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ยืมต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมอันเป็นปกติของการใช้ทรัพย์สินที่ยืมเท่านั้น มิใช่กรณีอันเกิดจากการถูกกระทำละเมิดซึ่งเป็นเหตุอันผิดปกติที่มีมาตรา ๔๒๐ และ ๔๓๔ วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดไว้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องซ่อมรถยนต์คันที่จำเลยทำให้เสียหาย โจทก์มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิด จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง
ผู้ยืมใช้สิ้นเปลืองมีหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด ๒ ประการคือ
๑. หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบและส่งคืน หน้าที่นี้เป็นไปตามมาตรา ๖๕๑ ซึ่งบัญญัติว่า ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย

๒. หน้าที่คืนทรัพย์สิน หน้าที่นี้ระบุไว้ในมาตรา ๖๕๐ ตอนท้าย ทรัพย์สิน ที่คืนจะต้องไม่เป็นทรัพย์สินชิ้นเดียวกับที่ยืมมา แต่ต้องเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกัน เช่น ยืมข้าวสารหอมมะลิชนิด ๑๐๐% ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เวลาคืนต้องคืน ข้าวสารหอมมะลิชนิด ๑๐๐% มีปริมาณเดียวกับที่ยืมไป ส่วนสถานที่ส่งคืนต้องเป็นไป ตามมาตรา ๓๒๔ คือ ต้องส่งคืน ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้.../อ่านต่อ แบ่งปันเพื่อการศึกษา คลิกที่นี่ >>>> ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียงเนติ 1/70 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (ภาคปกติ) อ.ปัญญาฯ 29 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1 ครั้งที่1