แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 367-398 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 367-398 แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดเทป 1/70 อาญา มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ) อ.เดชา 30 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่ 2 ครั้งที่2

ถอดเทป 1/70 อาญา  มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ)
 อ.เดชา หงส์ทอง 30 พฤษภาคม 2560 สัปดาห์ที่ 2  ครั้งที่2
..............................

อั้งยี่
        ๑. เพียงแค่เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมิความ มุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
        ๒. มีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
        ๓. คณะบุคคลดังกล่าวต้องปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการ อันมิชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้ระบุว่าเป็นกฎหมายใด)

ซ่องโจร
        ๒. แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม มาตรา ๒๑๐ ทันที ทำนองเดียวกับการเป็นอั้งยี่
        ๑. เพื่อกระทำต้องเป็นความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติในภาค ๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น และอัตราโทษจำคุกอย่างสูง ตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ข้อนี้แตกต่างกับการเป็นอั้งยี่ตามมาตรา ๒๐๙ ที่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น
        ๓. แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม มาตรา ๒๑๐ ทันที ทำนองเดียวกับการเป็นอั้งยี่
        ๓. สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป

ความผิดฐานเป็นอั้งยี่
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๑๗๖/๒๕๔๓ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี ๒๕๔๐ นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้

        จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ วรรคหนึ่ง./ อ้านต่อ แบ่งปัน เพื่อทบทวนการศึกษา คลิกที่นี่ >>>  ถอดเทป 1/70 วิชา อาญา มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ) อ.เดชา สมัยที่ 70 30 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่ 2 ครั้งที่2

วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เจาะฏีกาเด่น* อาญา มาตรา 209-287,367-398 อ.เดชา หงส์ทอง (ภาคค่ำ) 23 พ.ค 60 ครั้งที่ 1 สมัยที่ 70

ฏีกาเด่น* อาญา มาตรา 209-287,367-398 
อ.เดชา หงส์ทอง (ภาคค่ำ) 23 พ.ค 60 ครั้งที่ 1 สมัยที่ 70
.............................

อั้งยี่
               คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2543 แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี 2540 นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
            จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคหนึ่ง


          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301-303/2470 สำหรับความมุ่งหมายของคณะบุคคลเพื่อการอันมิชอบ ด้วยกฎหมาย ต้องเป็นความประสงค์ “ร่วมกัน” ของสมาชิกที่เข้ามารวมกัน และคำว่าเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมิชอบตามกฎหมายอาญาเท่านั้น อาจเป็นละเมิดในทางแพ่งหรือผิดสัญญาก็ได้ แต่ถ้าเพียงแต่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ แต่ไม่ถึงขั้นขัดต่อกฎหมายก็อาจจะยังไม่พอ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตให้ผู้อื่นเสียหาย เช่น การแข่งขันอันมิชอบด้วยกฎหมาย อย่างเช่นแท็กซี่รวมตัวกันในสนามบินคิดราคาแพงกว่ารายอื่น แท็กซี่รายอื่นจะเข้าไปก็ไม่ได้ โดนไล่โดนข่มขู่ อย่างนี้พอจะถือได้แล้วว่าเป็นความมุ่งหมายที่มิชอบด้วยกฎหมาย


ซ่องโจร
            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2534 ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจะต้องมีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปคบคิดประชุมหารือร่วมกัน และตกลงกันที่จะกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่ง ป.อ. และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้โดยการประชุมหารือร่วมกันและตกลงกันว่าจะกระทำความผิดอะไรเป็นข้อสาระสำคัญของความผิดฐานเป็นซ่องโจร ได้ความเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้เล่ห์เพทุบายในการเล่นการพนันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายเล่นแพ้และเสียทรัพย์พนัน แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยกับพวกได้คบคิดร่วมประชุมปรึกษาหารือกันที่ไหนเมื่อใด และได้ตกลงกันจะกระทำความผิดอย่างใดหรือไม่ จึงจะลงโทษจำเลยฐานเป็นซ่องโจรมิได้