แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อ10 วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อ10 วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ผู้ช่วยผู้พิพากษา 2 มิถุนายน 2555)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ10 วิแพ่ง

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


อุทาหรณ์

เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดระยอง ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่ง เป็นทายาทโดยธรรม คนละ ๑ ส่วน รวม ๔ ส่วน ใน ๕ ส่วน คิดเป็นเงิน ๔๐ห๐,๐๐๐ บาท นายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยองแต่ผู้เดียวนั่งพิจารณาคดีนี้จนเสร็จการสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหจำเลย จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษาไว้แล้ว แต่นายเที่ยงถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะทำคำพิพากษา นายธรรมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระยองจึงมอบหมายให้นายเดชผู้พิพากษาอาวุโสศาลจังหวัดระยองเป็นผู้ทำคำพิพากษาคดีนี้แทนนายเที่ยง นายเดชตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความ จึงลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาโดยพิพากษายกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณา ตลอดจนการทำคำพิพากษาคดีนี้ ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนละ ๑ ส่วน รวม ๔ ส่วนใน ๕ ส่วน คิดเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท เช่นนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์ แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวของตน เมื่อที่ดิน ๔ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมาคิดเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ที่ดินแต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ย่อมเป็นคดีที่ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๔) (นัย ฎ.๕๙๗๑/๒๕๔๔ ประชุมใหญ่) การที่นายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยองแต่ผู้เดียวนั่งพิจารณาคดีนี้จนเสร็จการสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๔) คำสั่งงดสืบพยานจำเลยของนายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยอง เป็นการออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ (๒)
ดังนั้นการที่นายเที่ยงเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานจำเลย จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยย่อมชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเช่นกัน การที่นายเที่ยงถึงแก่ความตายก่อนทำคำพิพากษา เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา ๓๐ ทำให้นายเที่ยงผู้พิพากษาคนเดียวซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้และเหตุจำเป็นเช่นว่านี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๙ (๓) กำหนดให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาได้ ดังนั้น การที่นายธรรมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระยองมอบหมายให้นายเดชผู้พิพากษาอาวุโสของศาลจังหวัดระยองเป็นผู้ตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๙ (๓) (ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ๒ มิถุนายน ๒๕๔๕) 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


ข้อ10 วิแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม (อุทาหรณ์)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ10 วิแพ่ง

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


อุทาหรณ์

(๑) โจทก์ฟ้องว่า เทศบาลจำเลยออกประกาศสอบราคาเครื่องปั้มน้ำ โจทก์ เสนอราคาตามประกาศและเป็นผู้สอบราคาได้ จำเลยเรียกโจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขาย เครื่องปั้มน้ำ ต่อมาจำเลยได้รับเครื่องปั้มน้ำแล้ว แต่ไม่ยอมตรวจรับสินค้าอ้างว่าเป็น ของเก่าและบอกเลิกสัญญา ขอให้จำเลยตรวจรับและชำระราคา จำเลยให้การว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค โจทก์ ผิดสัญญาฝ่ายเดียว อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขาย ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสั่งงดสืบพยาน แล้ววินิจฉัยข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลปกครอง พิพากษายกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คำตอบ
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งเรื่องคดีอยู่ในอำนาจศาลปกครองไว้ในคำให้การ ไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครอง ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว (ฎ.๗๙๕๑/๒๕๕๑) 



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท