วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ผู้ช่วยผู้พิพากษา 2 มิถุนายน 2555)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ10 วิแพ่ง

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


อุทาหรณ์

เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดระยอง ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่ง เป็นทายาทโดยธรรม คนละ ๑ ส่วน รวม ๔ ส่วน ใน ๕ ส่วน คิดเป็นเงิน ๔๐ห๐,๐๐๐ บาท นายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยองแต่ผู้เดียวนั่งพิจารณาคดีนี้จนเสร็จการสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหจำเลย จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษาไว้แล้ว แต่นายเที่ยงถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะทำคำพิพากษา นายธรรมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระยองจึงมอบหมายให้นายเดชผู้พิพากษาอาวุโสศาลจังหวัดระยองเป็นผู้ทำคำพิพากษาคดีนี้แทนนายเที่ยง นายเดชตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความ จึงลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาโดยพิพากษายกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณา ตลอดจนการทำคำพิพากษาคดีนี้ ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนละ ๑ ส่วน รวม ๔ ส่วนใน ๕ ส่วน คิดเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท เช่นนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์ แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวของตน เมื่อที่ดิน ๔ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมาคิดเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ที่ดินแต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ย่อมเป็นคดีที่ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๔) (นัย ฎ.๕๙๗๑/๒๕๔๔ ประชุมใหญ่) การที่นายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยองแต่ผู้เดียวนั่งพิจารณาคดีนี้จนเสร็จการสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๔) คำสั่งงดสืบพยานจำเลยของนายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยอง เป็นการออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ (๒)
ดังนั้นการที่นายเที่ยงเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานจำเลย จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยย่อมชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเช่นกัน การที่นายเที่ยงถึงแก่ความตายก่อนทำคำพิพากษา เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา ๓๐ ทำให้นายเที่ยงผู้พิพากษาคนเดียวซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้และเหตุจำเป็นเช่นว่านี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๙ (๓) กำหนดให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาได้ ดังนั้น การที่นายธรรมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระยองมอบหมายให้นายเดชผู้พิพากษาอาวุโสของศาลจังหวัดระยองเป็นผู้ตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๙ (๓) (ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ๒ มิถุนายน ๒๕๔๕) 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น