วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“หญิง” กับ “หญิง” ไม่ใช่ “สามีภริยา” ตามความหมายของมาตรา ๗๑ วรรคแรก

 

       หญิง” กับ “หญิง” ไม่ใช่ “สามีภริยา” ตามความหมายของมาตรา ๗๑ วรรคแรก

        ฎีกาที่ ๒๘๘๗/๒๕๖๓ โจทก์ร่วมมิได้มอบการครอบครองทรัพย์ให้จําเลย ครอบครองแทนทั้งยังกําชับมิให้จําเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ร่วม การที่จําเลยเอาทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปจํานําและนําเงินที่ได้จากการจํานําไปเป็นของตน จึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานหลักทรัพย์มิใช่ความผิดฐานยักยอก

        โจทก์ร่วมและจําเลยจดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ๒๕๕๗ แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๕๙ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า “การสมรสในต่างประเทศ ระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทําตามแบบที่กําหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้” และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การสมรสซึ่งได้ทําถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ทําการสมรสนั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์” ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี มาตรา ๑๙ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติว่า “เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย” เมื่อจําเลย และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีสัญชาติไทย ดังนั้น ในการพิจารณาถึงความสมบูรณ์แห่งการสมรส ระหว่างจําเลยและโจทก์ร่วมจึงต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ หมวด ๒ เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรสประกอบด้วย เมื่อมาตรา ๑๔๔๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะทําได้ ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว” แสดงว่าการสมรสจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคู่สมรสเป็นชายและหญิง เมื่อจําเลยและโจทก์ร่วมต่างก็เป็นหญิง การสมรสระหว่างจําเลยและโจทก์ร่วมจึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขของการสมรสตามกฎหมายไทย จําเลยและโจทก์ร่วมไม่มีสถานะเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยเหตุยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา ๗๑



อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

ข้อแตกต่างระหว่างการกระทําโดยป้องกันและการกระทําโดยจําเป็น

 

ข้อแตกต่างระหว่างการกระทําโดยป้องกันและการกระทําโดยจําเป็น

        ๑. การกระทําโดยป้องกัน กฎหมายถือว่า ผู้กระทําไม่มีความผิด ส่วนการกระทําโดยจําเป็น ผู้กระทํามีความผิดแต่กฎหมายยกเว้นโทษ

        ๒. หากภยันตราย เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย หากมี กระทําต่อผู้ก่อภัย ถือเป็นการกระทําโดยป้องกัน หากกระทําต่อบุคคลที่สาม ถือ เป็นการกระทําโดยจําเป็น

การกระทําโดยจําเป็น เป็นการกระทําต่อบุคคลที่สาม ซึ่ง ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

 

การกระทําโดยจําเป็น เป็นการกระทําต่อบุคคลที่สาม ซึ่ง ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

        ฎีกาที่ ๓๐๗/๒๔๘๙ วินิจฉัยว่า กรณีดังต่อไปนี้เป็นการกระทําโดยจําเป็น เกินสมควรแก่เหตุ จําเลยไปช่วยงานแต่งงาน และมีคนไล่ ทําร้ายจําเลย จําเลย วิ่งหนีจะไปทางห้องที่พวกเจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่ มีคนกั้นไม่ให้จําเลยเข้าไป จําเลยใช้ มีดแทงเขาตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นการกระทําโดยจําเป็น แต่เกินสมควรแก่เหตุ

ข้อสังเกต

        ๑. จําเลยถูกฟ้องในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา แสดงว่าจําเลยมีเจตนาทําร้าย ทําร้ายกับทําร้าย ถือว่า “เป็นสัดส่วน” จึงเกินสมควรแก่เหตุ ตามมาตรา ๖๗ (๒) เพราะมีคนวิ่งไล่จะทําร้ายจําเลย

        สรุป คือ มีคนจะกระทําความผิดมาตรา ๒๙๕ ต่อจําเลยจําเลยไปกระทําความตามมาตรา ๒๙๕ ต่อบุคคลที่สามที่ยืนกั้นหน้าห้อง เพื่อให้จําเลยพ้นภยันตราย อย่างนี้เป็นสัดส่วน เพราะคนที่กั้นอยู่หน้าห้อง เป็นบุคคลที่สาม ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

        ๒. แต่ถ้าจําเลยไม่กลัวคนร้าย จําเลยใช้มีดแทงคนร้ายบาดเจ็บ ถือว่า เป็นการ “ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ” เพราะได้ “สัดส่วน” เนื่องจากคนร้ายคือ “ผู้ก่อภัย”

        แม้คนร้ายจะล้มลงหัวฟาดพื้นตาย*** ก็เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุเช่นกัน ตามหลักในเรื่อง “สัดส่วน” ของการ “ป้องกัน” (เทียบฎีกาที่ ๑๐๔๙๗/๒๕๕๓)



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

หลัก จะอ้างจําเป็นตาม ป.อ มาตรา ๖๗ (๒) ได้ ผู้กระทําจะต้อง...

 

 ผู้กระทําได้กระทําไป เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย

        หลัก จะอ้างจําเป็นตามมาตรา ๖๗ (๒) ได้ ผู้กระทําจะต้อง...

        ๑. มีเจตนาธรรมดา คือ “ประสงค์ต่อผล” หรือ “เล็งเห็นผล” หรือ “เจตนาโดยพลาด” และ

        ๒. กระทําโดยมีมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษ “เพื่อให้พ้นภยันตราย”

        หลักข้อ ๑. ข้างต้นที่ว่า ต้องมีเจตนาธรรมดา (คือ “ประสงค์ต่อผล” หรือ “เล็งเห็นผล”)

        มีฎีกาบรรทัดฐาน คือ ฎีกาที่ ๗๒๒๗/๒๕๕๓ คําเบิกความและคําให้การชั้นสอบสวนของจําเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนปืนออกจากลูกโม่แล้วมาจ่อยิงที่ศีรษะตนเองหรือผู้อื่นเพื่อล้อเล่น ในวันเกิดเหตุก่อนเกิดเหตุผู้ตายก็เอาอาวุธปืนมาเล่นอีก แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะ ตนเองแล้วจําเลยเข้าแย่งเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราจน ไม่ได้สติแต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจําเลยรู้หรือไม่ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืน หรือไม่ ดังนั้น การที่จําเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าจําเลยกระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และ จําเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทําโดย ประมาทตาม ป.อ. มาตรา ๕๙ วรรคสี่ การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทําความผิดด้วย ความจําเป็นได้นั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทําผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จําเลยกระทําความผิดโดยประมาท จึงมิใช่เป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็น

        ข้อสังเกต

        ๑. คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจําเลยตามมาตรา ๒๙๑ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ยกฟ้องโจทก์ไม่ลงโทษจําเลย โดยเห็นว่าเป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็นตาม มาตรา ๖๗ (๒) เพื่อให้ผู้ตาย “พ้นภยันตราย” แต่ศาลฎีกาพิพากษากลับลงโทษจําเลย โดยให้เหตุผลว่าเพราะจําเลย “ประมาท” จึงอ้าง “จําเป็น” ไม่ได้

        ๒. ข้อเท็จจริง เช่นนี้ ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าตาม “พฤติการณ์” เช่นนั้น จําเลย “ประมาท” ตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ หรือไม่

 

        หลักข้อ ๒. จะอ้างจําเป็นตามมาตรา ๖๗ (๒) ได้ ต้องกระทําไปโดยมี “เจตนาพิเศษ” “เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย”



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ขยายความให้คำฟ้องชัดขึ้น คลาดเคลื่อนบ้าง ผิดฐานฟ้องเท็จหรือไม่?

 

การขยายความให้คำฟ้องชัดขึ้น แม้จะคลาดเคลื่อนไปบ้าง ก็ไม่ใช่ ข้อสําคัญในคดี

      ฎีกาที่ ๙๗๕/๒๕๓๐ ข้อความตอนที่สองที่อธิบายให้เห็นข้อความในการหมิ่นประมาทว่าเป็นอย่างไร เป็นการทําให้คำฟ้องชัดขึ้นอธิบายให้ชัดขึ้นแม้จะคลาดเคลื่อนไปบ้างก็ไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จ



อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ฟ้องเท็จ หรือ เบิกความเท็จ?

 

ระบุว่าบุคคลใดเอาเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ไม่ใช่องค์ประกอบ ความผิด

        ฎีกาที่ ๑๔๖๐/๒๕๒๒ (ออกข้อสอบผู้ช่วยฯ*)  การที่โจทก์หรือจําเลยผู้ใดเอาเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชี เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบของการกระทําผิดที่จําเลยฟ้อง ดังนั้น การที่จําเลยกล่าวในฟ้องว่าจําเลยนําเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค แม้จะไม่เป็นความจริงก็ไม่ใช่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ แต่ในข้อหาเบิกความเท็จนั้น ในเรื่องว่า ผู้ใดนําเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คย่อมเป็นข้อสาระสําคัญของคดี เพราะผู้นําเช็คเข้าบัญชีย่อมเป็นผู้ทรง เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค ผู้นั้นย่อมเป็นผู้เสียหายมีอํานาจฟ้องผู้ออกเช็คได้ ฉะนั้น เมื่อจําเลยเบิกความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้นําเช็ค ไปเข้าบัญชีซึ่งความจริงจําเลยขายลดเช็คไปแล้ว จําเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่ไม่ผิดฐานฟ้องเท็จ  


 

อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

การร้องเท็จเพื่อขอให้ลงโทษทางวินัย มีความผิดฐานใด?

 

      การร้องเท็จเพื่อขอให้ลงโทษทางวินัยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ (ฎีกาที่ ๑๔๘๑๙/๒๕๓๐) และไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒ (ฎีกาที่ ๑๓๓/๒๕๔๘)


     ฎีกาที่ ๑๔๘๙/๒๕๓๐ ผู้กํากับการตํารวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตํารวจภูธรและผู้บัญชาการตํารวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอํานาจหน้าที่ที่จะดําเนินการทางวินัย ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ฉะนั้น หากข้อความในหนังสือที่จําเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จ จําเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จําเลยทําหนังสือร้องเรียน ต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจําเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดําเนินการทางวินัยแก่โจทก์มิได้เจตนาที่จะให้ดําเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญา การกระทําของจําเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๓, ๑๗๔ 


     ฎีกาที่ ๑๒๓/๒๕๔๘ การที่จําเลยที่ ๑ มีหนังสือถึงพลตํารวจโท ป. และพลตํารวจโท ว. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับความประพฤติโจทก์ต่อบุคคลทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาโจทก์ มิใช่ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจสืบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด และพลตํารวจโท ป. มิได้มีคําสั่งให้ดําเนินการสืบสวนสอบสวนความผิดในทางอาญาแก่โจทก์ คงมีคําสั่งให้ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดชุมพรตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้ความคุ้มครองจําเลยที่ ๑ แล้วรายงานให้พลตํารวจโท ป. ทราบด้วยเท่านั้น การกระทําของจําเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๗๒

 

อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ไม่มีการกระทําความผิดอาญาเกิดขึ้น แต่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด ผิดฐานอะไร?

 

        ฎีกาที่ ๑๐๘๘/๒๕๓๖ จําเลยมิได้แลกเช็คจาก ศ. เพียงแต่รับสมอ้าง จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จําเลยไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิด เพราะโจทก์มิได้ลงวันที่สั่งจ่ายเพื่อให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีแก่โจทก์อันจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จึงเป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๓ ประกอบมาตรา ๑๗๔ วรรคสอง เมื่อการกระทําของจําเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๓ ประกอบมาตรา ๑๗๔ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒

        ข้อสังเกต ข้อเท็จจริงฎีกานี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๓๗, ๑๗๒, ๑๗๓, ๑๗๔ เมื่อกรณียังไม่มีการกระทําความผิดอาญาเกิดขึ้น ศาลจึงวินิจฉัยว่าเข้าองค์ประกอบการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๗๓ โดยไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒

        แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นกรณีที่มีการกระทําความผิดเกิดขึ้นแล้วแต่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จศาลก็พิพากษาว่าเป็นการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๗๒ โดยไม่ผิดตามมาตรา ๑๗๓ ได้เช่นเดียวกัน



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ข้อความอันเป็นเท็จ โดยแจ้งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ผิดฐานอะไร?

 

        ฎีกาที่ ๑๒๔๗๕/๒๕๑๙ จําเลยฝ่ายเดียวเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แล้วไป แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายใช้มีดแทงพยายามชิงทรัพย์จําเลยโดยผู้เสียหายมิได้กระทําผิด จําเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าและผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามมาตรา ๑๗๒ อีกกระทงหนึ่ง

        ข้อสังเกต ประเด็นนี้ขอให้ดูประกอบ ข้อสอบเนติฯ สมัย ๖๖ ตํารวจนอก เครื่องแบบชกกับชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านยิงปืนขึ้นฟ้า ตํารวจกลับกล่าวหาว่าชาวบ้านพยายามฆ่าตน โดยยิงปืนเล็งมาที่ตน ข้อเท็จจริงเป็นกรณีที่มีการกระทําความผิดยิงปืนขึ้นฟ้าซึ่งเป็นความผิดลหุโทษตามมาตรา ๓๗๖ เกิดขึ้นแล้ว แต่ตํารวจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ โดยแจ้งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น การกระทําจึงเป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒, ๑๗๔ วรรคสอง ประกอบ ๑๘๑ (๒)



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

มีการกระทําความผิดเกิดขึ้นจริง แต่แจ้งข้อเท็จจริงเท็จ ผิดฐานอะไร?

 

       มาตรา ๑๗๓ เป็นกรณีไม่มีการกระทําผิดเกิดขึ้น แต่ถ้ามีการกระทําความผิดเกิดขึ้นจริง แต่แจ้งข้อเท็จจริงให้ผิดออกไปเป็นกรณีตามมาตรา ๑๗๒

        ฎีกาที่ ๒๒๔๙/๒๕๑๕ นาย ก. ถูกคนร้ายฆ่าตาย จําเลยเห็น นาย ส. กับ ฮ. ร่วมกันฆ่านาย ก. โดยไม่ได้เห็นนาย ท. ร่วมกระทําผิดด้วย แต่จําเลยไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตํารวจที่ออกไปสืบสวนและให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็นนาย ท. ร่วมกับคนร้ายดังกล่าวกระทําผิด จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานผู้มีอํานาจสืบสวนคดีอาญา เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒

        ข้อสังเกต ข้อเท็จจริงตามฎีกามีการกระทําผิดเกิดขึ้น คือมีการฆ่ากันแล้ว จึงมีการแจ้งเท็จเกี่ยวกับตัวคนร้าย กรณีนี้เข้าองค์ประกอบของมาตรา ๑๗๒


อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

รู้ว่ามิได้มีการกระทําความผิดเกิดขึ้น แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีการชิงทรัพย์ ผิดฐานอะไร?

           ฎีกาที่ ๗๗๙๙/๒๕๔๓ การที่จําเลยรู้ว่ามิได้มีการกระทําความผิดเกิดขึ้น แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายสองคนร่วมกันชิงทรัพย์รถจักรยานยนต์ที่จําเลยเช่าซื้อมาจากบริษัทไปเพื่อมิให้บริษัทดังกล่าวยึดรถจักรยานยนต์คืนจากจําเลย เนื่องจากจําเลยค้างชําระค่าเช่าซื้อ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๓


อ้างอิง : ฎีการวมคำบรรยายเนติฯ เล่มที่12 กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ขู่ว่าจะเปิดเผยรูปภาพและวิดีโอ ความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่น ผิดฐานอะไร?

 

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๘๘/๒๕๖๑ จำเลยส่งข้อความทางผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตถึงโจทก์หลายครั้ง ขู่เข็ญโจทก์ให้จ่ายเงินจำเลย มิเช่นนั้นจะเปิดเผยความลับ รูปภาพและวิดีโอที่โจทก์ไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่น ในขณะที่ยังไม่ได้หย่าขาดจากจำเลย การกระทําของจำเลยดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญจะเปิดเผยความลับ ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทําให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหายครบองค์ประกอบความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมมอบเงินให้ตามที่จำเลยขู่เข็ญ การกระทําของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามรีดเอาทรัพย์

ขู่ว่าจะตบถ้าไม่ให้ค่าเฝ้ารถและยังนําเก้าอี้ มาขวาง ผิดฐานอะไร?

 

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๖๓/๒๕๕๑ ผู้เสียหายนํารถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหาย การที่จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่าถ้าไม่จ่ายค่าจอดรถจะตบและจำเลยนําเก้าอี้ขวางกั้นมิให้ผู้เสียหายขับรถยนต์ออกไป ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมให้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๗ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๘๐

 

        ข้อสังเกต เรื่องนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจำเลยตามมาตรา ๓๓๗ เท่านั้น มิได้ฟ้องข้อหาชิงทรัพย์มาด้วย**** การขู่ว่าจะตบถ้าไม่ให้ค่าเฝ้ารถและยังนําเก้าอี้ มาขวาง แสดงว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้เสียหายยื่นเงินค่าจอดรถในเวลาเดียวกันนั้น การกระทําของจำเลยจึงน่าจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

ตกลงยินยอมตามที่ขู่แล้วเอาตำรวจมาจับ เป็นกรรโชกหรือไม่?

 

ถ้าตกลงยินยอมแล้วแม้ต่อมาจะเอาตํารวจมาจับกุมก็เป็นความผิด สําเร็จ

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๔๓/๒๕๓๐ เมื่อผู้เสียหายได้อ่านจดหมายกรรโชก ของจําเลยแล้วจึงตกลงยอมให้เงินตามที่เรียกร้องเนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย การที่ผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดแก่ตน ก็เป็นการแจ้งความเพื่อขอความคุ้มครองเจ้าพนักงานตามปกติ มิใช่ผู้เสียหายไม่ยอมทําตามการขู่เข็ญ การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดสําเร็จไม่ใช่อยู่ขั้นพยายาม

ตกลงมอบเงินให้แต่เป็นการวางแผนเพื่อจะจับกุม ผิดฐานกรรโชก หรือไม่?

 

กรณีที่ตกลงมอบเงินให้แต่เป็นการวางแผนเพื่อจะจับกุมเป็นเพียงพยายาม

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๓๙/๒๕๒๗ จําเลยเขียนจดหมายใช้ชื่อว่า ส. ถึง ผู้เสียหายให้ผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จําเลยจํานวนหนึ่ง หากไม่ให้จะฆ่าผู้เสียหาย บุตร ภริยาและอื่น ๆ ผู้เสียหายได้ไปปรึกษากับตํารวจ ในที่สุดวางแผนส่งเงินมี กระดาษยัดใส่โดยเอาธนบัตรฉบับละ ๕๐๐ บาท ปะหน้าไว้ ๔ ใบ ไปวางไว้ที่นัดหมายตามที่จดหมายบอก พฤติการณ์ที่ผู้เสียหายนําความเข้าแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อทําวางแผนจับกุมจําเลย แสดงว่าผู้เสียหายไม่ยอมให้เงินตามขู่ การกระทํา ของจําเลยเป็นความผิดฐานพยายามกรรโชก

เขียนจดหมายไปขู่เข็ญผู้เสียหาย ได้ความว่า บุตรของผู้เสียหายเป็นคนบอกให้เขียน ผิดฐานกรรโชกหรือไม่?

 

       ประเด็น ปัญหาว่าถ้าขู่ว่าจะทําอันตรายต่อบุคคลที่สาม หากผู้ที่ถูกข่มขืนใจไม่ ทราบเรื่อง และเกิดความเกรงกลัวจึงให้ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไป ทั้ง ๆ ที่ผู้ขู่กับบุคคลที่สามได้สมยอมกันเพื่อทําให้ผู้ที่ถูกข่มขืนใจ เกิดความเกรงกลัว ว่าจะเกิดอันตรายต่อบุคคลที่สาม เช่นนี้จะเป็นความผิดฐานกรรโชกหรือไม่

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๘/๒๕๐๓ (ประชุมใหญ่) จําเลยเขียนจดหมายไปขู่เข็ญผู้เสียหายให้ส่งเงิน ๓,๐๐๐ บาท ไปให้จําเลย มิฉะนั้นบุตรผู้เสียหายจะเป็นอันตรายถึงชีวิต แม้จะได้ความว่าบุตรของผู้เสียหายเป็นคนบอกให้จําเลยเขียนจดหมายไปขู่เข็ญบิดาเพื่อหลอกลวงให้บิดาส่งเงินมาให้ ก็ยังถือว่าผู้เสียหายถูกข่มขืนใจเพราะในแง่ของผู้เสียหายยังคงถือว่าบุตรผู้เสียหายเป็นบุคคลที่สามตามมาตรา ๓๒๗ วรรคต้น จําเลยจึงมีความผิดฐานกรรโชกตาม มาตรา ๓๓๗