วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ไม่มีการกระทําความผิดอาญาเกิดขึ้น แต่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด ผิดฐานอะไร?

 

        ฎีกาที่ ๑๐๘๘/๒๕๓๖ จําเลยมิได้แลกเช็คจาก ศ. เพียงแต่รับสมอ้าง จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จําเลยไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิด เพราะโจทก์มิได้ลงวันที่สั่งจ่ายเพื่อให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีแก่โจทก์อันจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จึงเป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๓ ประกอบมาตรา ๑๗๔ วรรคสอง เมื่อการกระทําของจําเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗๓ ประกอบมาตรา ๑๗๔ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งเป็นบททั่วไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒

        ข้อสังเกต ข้อเท็จจริงฎีกานี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๓๗, ๑๗๒, ๑๗๓, ๑๗๔ เมื่อกรณียังไม่มีการกระทําความผิดอาญาเกิดขึ้น ศาลจึงวินิจฉัยว่าเข้าองค์ประกอบการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๗๓ โดยไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗๒

        แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นกรณีที่มีการกระทําความผิดเกิดขึ้นแล้วแต่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จศาลก็พิพากษาว่าเป็นการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๗๒ โดยไม่ผิดตามมาตรา ๑๗๓ ได้เช่นเดียวกัน



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น