วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การกระทําโดยจําเป็น เป็นการกระทําต่อบุคคลที่สาม ซึ่ง ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

 

การกระทําโดยจําเป็น เป็นการกระทําต่อบุคคลที่สาม ซึ่ง ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

        ฎีกาที่ ๓๐๗/๒๔๘๙ วินิจฉัยว่า กรณีดังต่อไปนี้เป็นการกระทําโดยจําเป็น เกินสมควรแก่เหตุ จําเลยไปช่วยงานแต่งงาน และมีคนไล่ ทําร้ายจําเลย จําเลย วิ่งหนีจะไปทางห้องที่พวกเจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่ มีคนกั้นไม่ให้จําเลยเข้าไป จําเลยใช้ มีดแทงเขาตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นการกระทําโดยจําเป็น แต่เกินสมควรแก่เหตุ

ข้อสังเกต

        ๑. จําเลยถูกฟ้องในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา แสดงว่าจําเลยมีเจตนาทําร้าย ทําร้ายกับทําร้าย ถือว่า “เป็นสัดส่วน” จึงเกินสมควรแก่เหตุ ตามมาตรา ๖๗ (๒) เพราะมีคนวิ่งไล่จะทําร้ายจําเลย

        สรุป คือ มีคนจะกระทําความผิดมาตรา ๒๙๕ ต่อจําเลยจําเลยไปกระทําความตามมาตรา ๒๙๕ ต่อบุคคลที่สามที่ยืนกั้นหน้าห้อง เพื่อให้จําเลยพ้นภยันตราย อย่างนี้เป็นสัดส่วน เพราะคนที่กั้นอยู่หน้าห้อง เป็นบุคคลที่สาม ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

        ๒. แต่ถ้าจําเลยไม่กลัวคนร้าย จําเลยใช้มีดแทงคนร้ายบาดเจ็บ ถือว่า เป็นการ “ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ” เพราะได้ “สัดส่วน” เนื่องจากคนร้ายคือ “ผู้ก่อภัย”

        แม้คนร้ายจะล้มลงหัวฟาดพื้นตาย*** ก็เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุเช่นกัน ตามหลักในเรื่อง “สัดส่วน” ของการ “ป้องกัน” (เทียบฎีกาที่ ๑๐๔๙๗/๒๕๕๓)



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น