วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“หญิง” กับ “หญิง” ไม่ใช่ “สามีภริยา” ตามความหมายของมาตรา ๗๑ วรรคแรก

 

       หญิง” กับ “หญิง” ไม่ใช่ “สามีภริยา” ตามความหมายของมาตรา ๗๑ วรรคแรก

        ฎีกาที่ ๒๘๘๗/๒๕๖๓ โจทก์ร่วมมิได้มอบการครอบครองทรัพย์ให้จําเลย ครอบครองแทนทั้งยังกําชับมิให้จําเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ร่วม การที่จําเลยเอาทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปจํานําและนําเงินที่ได้จากการจํานําไปเป็นของตน จึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานหลักทรัพย์มิใช่ความผิดฐานยักยอก

        โจทก์ร่วมและจําเลยจดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ๒๕๕๗ แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๕๙ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า “การสมรสในต่างประเทศ ระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทําตามแบบที่กําหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้” และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การสมรสซึ่งได้ทําถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ทําการสมรสนั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์” ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี มาตรา ๑๙ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติว่า “เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย” เมื่อจําเลย และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีสัญชาติไทย ดังนั้น ในการพิจารณาถึงความสมบูรณ์แห่งการสมรส ระหว่างจําเลยและโจทก์ร่วมจึงต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ หมวด ๒ เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรสประกอบด้วย เมื่อมาตรา ๑๔๔๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะทําได้ ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว” แสดงว่าการสมรสจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคู่สมรสเป็นชายและหญิง เมื่อจําเลยและโจทก์ร่วมต่างก็เป็นหญิง การสมรสระหว่างจําเลยและโจทก์ร่วมจึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขของการสมรสตามกฎหมายไทย จําเลยและโจทก์ร่วมไม่มีสถานะเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยเหตุยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา ๗๑



อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น