แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำพิพากษาฎีกา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำพิพากษาฎีกา แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ฎีกาประกันภัย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6686/2559)

          ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยกรณีความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6686/2559 ผู้รับประกันภัยเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัย เงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้ามีข้อสงสัยต้องตีความให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งตามเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อรถยนต์สูญหาย โดยในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และยักยอกทรัพย์ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย และมีข้อยกเว้นความรับผิดว่าการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น เงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยนี้จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าหมายถึงความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ ที่กระทำโดยบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายหรือครอบครองตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ เท่านั้น เนื่องจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยง่ายจึงมีความเสี่ยงสูง กรมธรรม์จึงไม่อาจให้ความคุ้มครองได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายเพราะถูก ว. ยักยอกไป ซึ่ง ว. เป็นผู้รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำเลยที่ 2 ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปขาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22631/2555

        สมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวันก็เป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสองได้ 
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22631/2555 การนำสืบถึงการชำระหนี้กู้ยืมด้วยเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดให้ผู้นำสืบต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีสมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวัน ซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์มาแสดง แม้สมุดบันทึกดังกล่าวที่ลงลายมือชื่อโจทก์ไม่ได้ระบุว่ารับเงินค่าอะไร แต่ก็มีข้อความระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งบ่งชี้ว่าในเดือนนั้นจำเลยทั้งสองชำระในส่วนที่เป็นต้นเงิน โดยยังค้างดอกเบี้ยไว้ ดังนี้ หลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่าใช้หนี้กู้ยืมเงิน เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้มาเก็บเงินเป็นรายวัน มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บ และเมื่อลูกหนี้ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ย ก็มีรายละเอียดว่าค้างดอกเบี้ยเดือนใดบ้าง โดยมีลายมือชื่อเจ้าหนี้ลงในช่องทุกวัน ที่มาเรียกเก็บเงิน ถือว่าสมุดบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบการใช้เงินได้

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2560

การแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องแสดงออกโดยทางทะเบียน
       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2560 แม้โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ส่วนฝ่ายจำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ก็ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเช่นกัน แต่มาตรา 1367 เป็นเพียงบทบัญญัติทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกซึ่งกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครอง จึงต้องบังคับตามมาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์

วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ฎีกาเด่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปี 2555

 คำพิพากษาฎีกาเด่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปี 2555
------------------------------

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22658/2555
ก. ออกเช็คสั่งให้ธนาคารโจทก์ร่วมจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ จำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินตามวิธีการของธนาคารในขณะที่จำเลยเป็นผู้ถือเช็ค ดังกล่าว จำเลยจึงเป็นผู้มีเช็คไว้ในครอบครองในฐานเป็นผู้รับเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คได้ เมื่อเช็คถึงกำหนดจำเลยนำเช็คฝากเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารของจำเลย เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารโจทก์ร่วมจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่ง ก. ผู้เคยค้ากับธนาคารโจทก์ร่วมให้แก่จำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีเงินในบัญชีของ ก. เป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น กรณีจึงต้องด้วยข้อยกเว้นตาม (1) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ซึ่งให้สิทธิแก่ธนาคารโจทก์ร่วมที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิด ต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่าย หรือธนาคารโจทก์ร่วมจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ ซึ่งครั้งแรกธนาคารโจทก์ร่วมใช้สิทธิปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยให้เหตุผล ว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่าย แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะดำเนินการทางบัญชีผิดพลาดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อ จากพนักงานของธนาคารโจทก์ร่วม โดยธนาคารโจทก์ร่วมได้จ่ายเงินไปตามที่ ก. ออกเช็คสั่งจ่ายมา ถือว่าธนาคารโจทก์ร่วมใช้ดุลพินิจจ่ายเงินตามเช็คแล้วภายหลังจะอ้างว่าสั่ง จ่ายโดยไม่มีเงินในบัญชีของ ก. พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น เพื่อนำมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นการจ่ายเงินตามเช็คโอนเข้าบัญชี ของจำเลยผู้ทรงเช็คโดยสุจริตโดยสำคัญผิดหาได้ไม่ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22631/2555
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามสัญญากู้ยืม จำเลยทั้งสองยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง แต่ชำระหนี้เป็นรายวันครบถ้วนแล้ว หน้าที่นำสืบจึงตกแก่จำเลยทั้งสอง การนำสืบถึงการชำระหนี้กู้ยืมด้วยเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดให้ผู้นำสืบต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ ให้ยืมมาแสดง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีสมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวัน ซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์มาแสดง แม้สมุดบันทึกดังกล่าวที่ลงลายมือชื่อโจทก์ไม่ได้ระบุว่ารับเงินค่าอะไร แต่ก็มีข้อความระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งบ่งชี้ว่าในเดือนนั้นจำเลยทั้งสองชำระในส่วนที่เป็นต้นเงิน โดยยังค้างดอกเบี้ยไว้ ดังนี้ หลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่าใช้หนี้กู้ยืมเงิน เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้มาเก็บเงินเป็นรายวัน มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บ และเมื่อลูกหนี้ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ย ก็มีรายละเอียดว่าค้างดอกเบี้ยเดือนใดบ้าง โดยมีลายมือชื่อเจ้าหนี้ลงในช่องทุกวัน ที่มาเรียกเก็บเงิน ถือว่าสมุดบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบการใช้เงินได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20348/2555
ในการตีความสัญญานั้นต้องคำนึงความประสงค์หรือเจตนาอันมีร่วมกันของคู่สัญญา ซึ่งเป็นเจตนาที่คาดหมายในทางสุจริต และต้องคำนึงประเพณีปฏิบัติในระหว่างคู่สัญญาเอง หรือประเพณีในทางการค้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 จะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19883/2555 
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม อันลูกหนี้ได้กระทำกับผู้ได้ลาภงอก แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลายได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่กรณีเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจ แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เข้ากอง ทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย อายุความที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่ เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยไม่ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้ เพิกถอนการฉ้อฉลเป็นเวลาแรกเริ่มต้นนับอายุความ การยื่นคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องการกระทำภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 240 ประการสำคัญในขณะทำนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นจะต้องมีผู้เป็นเจ้าหนี้ที่ ได้รับผลกระทบซึ่งต้องเสียเปรียบจากการกระทำของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วหากขณะทำ นิติกรรมนั้นมีเจ้าหนี้หลายราย เจ้าหนี้ทุกรายย่อมเป็นเจ้าหนี้ซึ่งต้องเสียเปรียบด้วยกันหมดทุกคน การนับอายุความในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการ ฉ้อฉลแทนเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องแต่ละราย จึงต้องเริ่มนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องรายนั้น ๆ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นเกณฑ์ ดังนั้น คำร้องที่ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 จึงต้องบรรยายด้วยว่า นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งที่รู้ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสีย เปรียบ มิฉะนั้นต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้ โจทก์รายเดียวต้องเสียเปรียบเท่านั้น ผู้ร้องทำการสอบสวนเจ้าหนี้รายที่ 40 ที่ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลาง กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้รายที่ 40 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2543 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 จึงยังอยู่ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน นิติกรรมที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้แก่ บันทึกท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2540 อันเป็นการยกทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามข้อตกลงข้างต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 และการที่จำเลยที่ 2 นำเงินของตนไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้แก่เด็กชาย ช. และเด็กหญิง บ. บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 แล้วต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จำเลยที่ 2 ปิดบัญชีเดิมและนำเงินของตนเพิ่มเติมสมทบเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ที่ธนาคารเดิม ให้แก่บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการทำให้โดยเสน่หา จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และผู้คัดค้านที่ 1 กับบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ ต้องเสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 แต่ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่านิติกรรมการตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งนิติกรรมการให้ซึ่งจำเลยที่ 2 กระทำต่อบุตรทั้งสอง เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่ตนอาจรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 40 จำเลยที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่รู้ได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้รายที่ 40 ต้องเสียเปรียบ เมื่อเป็นการทำให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ร้องจะขอเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นิติกรรมที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่ดินอันเป็นการกระทำที่สืบเนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการ หย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สินจึงต้องถูกเพิกถอนด้วย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นอาจเป็นสินสมรสที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กรณีต้องไปว่ากล่าวกันเมื่อมีการขายทรัพย์สินในชั้นบังคับคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 123 แม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองที่ดินจากผู้คัดค้านที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในขณะที่รับจำนองนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 2 จึงถือว่ารับจำนองโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19464/2555 
ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนใน ระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ตามสัญญารับขน ซึ่งจำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าจากโรงงานของโจทก์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปส่งที่ท่าเรือโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นการรับขนของโดยมีรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกันตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไป ภายใต้สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบฉบับเดียว โดยขนส่งจากสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้รับมอบของในประเทศ หนึ่งไปยังสถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่ส่งมอบของในอีกประเทศหนึ่ง อันเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 จึงไม่อาจนำอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้บังคับดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัย แต่ต้องใช้อายุความเก้าเดือนตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้จดทะเบียนการประกอบการขนส่งต่อเนื่อง แต่การจดทะเบียนการประกอบการขนส่งต่อเนื่องเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้จดทะเบียนการประกอบการขนส่งต่อเนื่องก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยกอายุความตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นต่อสู้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18859/2555
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าโจทก์ร่วมเป็นภริยา โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเพราะเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ โจทก์ร่วมมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แม้โจทก์ร่วมบรรยายคำร้องเพียงว่าผู้ตายมีรายได้จากการทำงานทั้งสิ้น 8,603,813.25 บาท โดยไม่ได้บรรยายว่าในระหว่างที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่ได้ช่วยเหลือหรือส่งเสีย หรือให้การช่วยเหลือโจทก์ร่วมเป็นเงินจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ร่วมระบุจำนวนเงินค่าขาดไร้อุปการะที่เรียกจากจำเลยเท่า กับจำนวนรายได้ที่ผู้ตายจะได้รับหากยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งศาลสามารถพิจารณากำหนดให้ตามที่เห็นสมควรได้ คำร้องของโจทก์ร่วมจึงแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะของ โจทก์ร่วมและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 วรรคสอง แล้ว 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18623/2555 
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 แต่การติดต่อซื้อขายรถระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 นั้น กระทำการในที่ทำการและเวลาทำการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้แสดงให้โจทก์หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 แล้ว การกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 2 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการกระทำในขอบอำนาจแห่งตัวแทนเพื่อกิจการค้าขายที่จำเลยที่ 1 จะถือเอาประโยชน์จากกิจการนั้นได้ ไม่ว่าการที่จำเลยที่ 2 รับซื้อรถคันเก่าจากโจทก์โดยนำไปฝากขายที่เต็นท์รถมือสอง จะเป็นการกระทำโดยจำเลยที่ 1 จะมีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อรถเก่าจากลูกค้าหรือไม่ก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งของการขายซึ่งเป็นไปตามนโยบายการขายของ จำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำในหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ในกิจการที่จำเลยที่ 2 กระทำไปด้วย แม้จะปรากฏว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 อาจเป็นเรื่องการกระทำโดยผิดระเบียบของจำเลยที่ 1 แต่เป็นเรื่องกิจการภายในของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 เอง ไม่อาจยกเป็นข้ออ้างต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อให้ตนพ้นผิดได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18531/2555 
จำเลย ที่ 1 เป็นตัวแทนโจทก์ซื้อที่ดินจากธนาคาร น. โดยได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินพิพาทแทนโจทก์ไปและใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะเรียกเอาเงินชดใช้จากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของโจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใดๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตนเพราะเป็นตัวแทนนั้นเอาไว้ได้จนกว่า จะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 819 จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะได้ชำระค่าที่ดินพิพาท จนครบถ้วน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17432/2555 
การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 หรือไม่ ซึ่งในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดตัวอย่างของข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคสอง ที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ในการชำระหนี้ก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ เป็นเพียงบทสันนิษฐานในกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น แต่ถ้ามีการตกลงหรือมีพฤติการณ์อย่างชัดแจ้งว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ทั้งหมด ก่อนครบกำหนดตามเวลาที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันโดยเจ้าหนี้ไม่ยินยอมหาได้ ไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงอย่างชัดแจ้งตามสัญญากู้เงินว่าในกรณี ที่ผู้กู้ชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดทั้งจำนวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก ผู้กู้ตกลงชำระค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด (Prepayment Fee) ในอัตราร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ โจทก์จึงชำระหนี้เงินกู้ทั้งจำนวนคืนแก่จำเลยก่อนกำหนดโดยที่จำเลยไม่ยินยอม หาได้ไม่ เมื่อโจทก์ต้องการคืนเงินกู้ทั้งจำนวนแก่จำเลยก่อนกำหนดภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์เบิกใช้เงินกู้ครั้งแรก โจทก์จึงต้องชำระค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนดแก่จำเลยตามสัญญากู้ โดยจำเลยมีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ข้อ 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญากู้เงินและธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าปรับ กรณีไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา จำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่น ๆ นอกเหนือจากดอกเบี้ยจากโจทก์ได้ การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมคืนเงินกู้ก่อนกำหนด จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ทำให้โจทก์ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมาย กำหนด 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17093/2555
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในฐานะจำเลยเป็นผู้ขาย อันเป็นการฟ้องให้รับผิดตามสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ทำไว้กับ จำเลยให้แก่ ข. ต่อมา ข. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยและจดทะเบียนรับโอนที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างมาแล้ว ข. จึงเป็นคู่สัญญากับจำเลย โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย แม้โจทก์จะได้รับการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ข. ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะให้ ไม่มีบทบัญญัติว่าผู้รับต้องรับสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ให้ไปด้วย ซึ่งต่างจากกรณีทายาทรับมรดกที่จะเป็นผู้สืบสิทธิได้ สิทธิที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขายเป็น บุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16776/2555 
การที่จำเลยไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จำเลยย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ ส. และทายาท เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ไม่อาจบังคับ คดีได้เสียแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้อีกต่อไป เหตุที่จำเลยจะใช้สิทธิยึดหน่วงตามกฎหมายได้ ต้องปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้น จึงจะใช้สิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ได้ แต่การที่ ส. กู้ยืมเงินและส่งมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้นั้น หนี้เงินกู้ดังกล่าวหาได้เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนด ที่ดินไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยจึงเป็นการบังคับบุคคล ภายนอกที่มิได้เป็นคู่ความในคดี ศาลไม่อาจบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการตามที่โจทก์ขอได้ อีกทั้งเป็นเรื่องวิธีการในชั้นบังคับคดี ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไขและปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16467/2555 
ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 12 กำหนดขอบเขตไว้ชัดเจนว่า การใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รวมถึงการใช้รถยนต์ เพื่อเดินทางไป - กลับระหว่างที่พักและสถานที่ปฏิบัติราชการด้วย ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ประจำตำแหน่งออกจากบ้านพักที่จังหวัดนนทบุรีเพื่อไป ปฏิบัติราชการที่ศาลจังหวัดพัทยา จึงเป็นการปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ตามระเบียบดังกล่าวแล้ว จำเลยดูแลรักษารถยนต์และนำเข้าตรวจสภาพเมื่อรถเกิดอาการผิดปกติ อันเป็นการใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนพึงกระทำ และก่อนเกิดเหตุจำเลยให้พนักงานขับรถนำรถยนต์ไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการแล้ว แต่ไม่พบความบกพร่อง รถยนต์สามารถใช้งานได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่ารถยนต์มีสภาพไม่สมบูรณ์ และจำเลยขับรถโดยใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม. ต่อ ชม. ซึ่งไม่เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บนเส้นทางดังกล่าวไม่เกิน 120 กม. ต่อ ชม. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่เหตุเกิดจากความชำรุดบกพร่องของตัวรถอันเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15919/2555 
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4410 เป็นการออกเฉพาะราย โดยมีการนำหลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐาน เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องเพิกถอนตามมาตรา 61 แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า จำเลยนำ น.ส.3 ก. ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาหลอกขายให้โจทก์และได้รับเงิน 660,000 บาท จำเลยไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินแปลงนั้น โจทก์ซื้อที่ดินมาไม่ได้สิทธิครอบครอง การที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจึงเป็นการทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่ง ที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412 ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินได้ และการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการติดตามเอาเงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ามีการทวงถามจำเลยให้ชำระเงินคืนเมื่อไร จำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15847/2555 
โจทก์ทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยคนละ 40,000 บาท เป็นค่าตอบแทนจากการที่จำเลยบอกว่าจะช่วยโจทก์ทั้งสองให้สอบแข่งขันผ่านเข้า ทำงานได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมอบเงินเพื่อให้จำเลยนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อ จูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือช่วยให้โจทก์ทั้งสองเข้าทำงานได้โดยไม่ต้องสอบ หรือสอบเข้าทำงานได้แม้คะแนนไม่ถึงอันเป็นวิธีการที่ไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย ทั้งการกระทำดังกล่าวก็หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชนไม่ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อจำเลยไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองสอบผ่านและเข้าทำงานได้ตามที่ รับรองไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไปแก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15794/2555 
จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินให้ ย่อมทำให้นิติกรรมอันเกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ในการทำสัญญาดังกล่าวเป็น โมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อันมีผลเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ซึ่งมีความหมายรวมถึงสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 โอนกลับคืนมาเป็นของโจทก์ด้วยผลของกฎหมาย เพราะสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นโดยผลของสัญญาขายฝากซึ่งมีที่ดินทั้งสองแปลงเป็น วัตถุแห่งหนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 497 (2) จำเลยที่ 2 ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ไปขอใช้สิทธิไถ่ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมรับและโจทก์นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่โดยมิได้ สละสิทธิถอนทรัพย์ที่วางไว้ จำเลยที่ 2 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากคืนแก่โจทก์ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15674/2555 
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิกระทำการใด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของจำเลย แต่การใช้สิทธิของจำเลยต้องเป็นไปโดยสุจริต และไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นด้วย ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่เพียง 35 ตารางวา เป็นรูปสามเหลี่ยมชายธง มีความกว้างสุดประมาณ 2 เมตร ตามสภาพย่อมไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างขนาด ใหญ่ที่จะบดบังทัศนียภาพหน้าที่ดินที่เป็นตึกแถวตั้งอยู่ได้ ซึ่งทัศนียภาพดังกล่าวเป็นคูน้ำและทางหลวงสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท หมายเลข 340 ที่อยู่หน้าที่ดินของจำเลย ส. เจ้าของที่ดินเดิมก็คงคาดหมายเช่นนี้ จึงสร้างตึกแถวขาย แต่เมื่อมีกำแพงทึบสูงถึง 2.70 เมตร ย่อมทำให้ชั้นล่างของตึกแถวถูกบดบังและผู้อยู่อาศัยย่อมไม่อาจเห็นทัศนียภาพ ดังกล่าวได้ ทำให้ผู้อยู่ในตึกแถวเสียโอกาสเห็นความเป็นไปบนทางหลวง และผู้สัญจรบนทางหลวงไม่อาจเห็นตึกแถวได้ชัดเจนเช่นกัน ย่อมทำให้ผู้อยู่ในตึกแถวเสียโอกาสในการค้าขาย การที่จำเลยทำกำแพงคอนกรีตทึบสูง 2.70 เมตร โดยขาดเหตุผล จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 421 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15037/2555 
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15033/2555
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่พิพาท โจทก์จดทะเบียนให้ ส. และ บ. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินใน ที่ดินพิพาทตลอดชีวิต ส. และ บ. ย่อมมีสิทธิครอบครอง ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1417 วรรคหนึ่ง ในระหว่างที่สิทธิเก็บกินยังไม่สิ้นไป เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงหามีสิทธิเช่นว่านั้นด้วยไม่ การบอกเลิกสัญญาเช่าหรือการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทจึงเป็นอำนาจ ในการจัดการทรัพย์สินของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน แม้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ไม่มีอำนาจฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14924/2555 
ขณะที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมานั้น ยังไม่เกิดข้อพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสวนลำไยระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ส. เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงยังคงมีมูลหนี้ต่อกัน แม้หนี้ระหว่าง ป. กับ อ. จะไม่มีหลักฐานการซื้อขาย ก็มิได้แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมิได้มีหนี้ต่อกันเพราะมิฉะนั้น ป. คงไม่สลักหลังส่งมอบเช็คให้แก่ อ. ในขณะที่รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพัน ระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 นั้นจะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น ดังนั้น การที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับไว้จึงมิใช่เป็นการคบคิดกับ ป. เพื่อฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 กับ ส. ได้มีการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แจ้งให้ อ. ทราบแล้ว ก่อนที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน แต่ อ. กลับนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินนั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่า อ. ได้รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่สุจริต จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก ส. แล้วจำเลยที่ 2 ออกเช็คของจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มอบให้ ส. และ ป. ต่อมา ป. ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ อ. สามีโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีหนี้ที่ต้องชำระเป็นส่วนตัว การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวมสองฉบับ โดยเช็คทั้งสองฉบับมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ค่าแบ่งผลประโยชน์ในการทำสวนลำไย และค่าดูแลรักษาสวนลำไยให้แก่ ป. ตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคล 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14783/2555 
การที่จำเลยมอบเช็คปลอมให้พนักงานของผู้เสียหายนำไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็ค ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อแท้จริงของ ธ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วม เงินที่จำเลยได้ไปจึงเป็นเงินของธนาคารมิใช่เงินของโจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักเงินของโจทก์ร่วมแต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของโจทก์ร่วม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักเงินโจทก์ร่วม และฟังได้ว่าจำเลยฉ้อโกงธนาคารเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์ บรรยายฟ้อง จึงเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วมได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14429/2555 
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้เชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์พื้นฐานเข้ากับชุมสาย โทรศัพท์แบบอัตโนมัติของโจทก์ จำเลยทั้งสองตกลงเข้าร่วมงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐานใน พื้นที่โทรศัพท์นครหลวงจำนวนสองล้านเลขหมาย โดยจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันจากส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการ เช่น ค่าติดตั้งโทรศัพท์ ค่าเช่าเลขหมายโทรศัพท์ ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน ต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ตามมาตรา 1025 แม้สัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายกิจการจะระบุว่า บรรดาความรับผิดชอบที่จำเลยที่ 2 มีต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ข้อสัญญาดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อตกลงภายในระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้น ส่วนกัน ไม่มีผลผูกพันกับโจทก์



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14202/2555 
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 289 จะบัญญัติว่า "ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจด ทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด..." ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอา ทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามเจตนาของผู้ รับจำนองและเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้รับจำนองให้ได้รับจัดสรรการชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้รายอื่นให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวโดยจะสะดวกกว่าให้ผู้รับจำนองไป ฟ้องบังคับแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในภายหลังเท่านั้น แต่ถ้าผู้รับจำนองไม่ยื่นคำร้องขอภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนอง ต้องหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 287 อีกทั้งสิทธิรับจำนองเป็นทรัพยสิทธิซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมาย จะระงับสิ้นไปก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744 ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงมีบุริมสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์พิพาทก่อน เจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วยและเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาทรัพย์ พิพาทออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้องแล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 732 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาทได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14143/2555 
กรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยสมัครใจซึ่งคู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืน สู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าวบัญญัติถึงเงินที่ต้องใช้คืนในกรณีดัง กล่าวนั้นให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย โดยให้คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ สำหรับการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานและดอกเบี้ย ป.พ.พ. มาตรา 329 ไม่ได้บังคับว่าลูกหนี้จะขอชำระหนี้อันเป็นประธานโดยยังไม่ชำระดอกเบี้ยไม่ ได้เสียเลย เพียงแต่ให้สิทธิเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ระบุให้จัดใช้หนี้อันเป็นประธานก่อน โดยยังไม่ชำระดอกเบี้ย เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้เท่านั้น คดีนี้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2538 จำเลยได้รับเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินภาระจำยอมจากโจทก์ 6,749,540 บาท ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2547 โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาใช้ที่ดินภาระจำยอมดังกล่าวและจำเลยขอชำระต้น เงินจำนวน 6,749,540 บาทคืน โจทก์รับชำระไว้โดยไม่ได้บอกปัด จึงถือว่าโจทก์ได้รับชำระต้นเงินจำนวน 6,749,540 บาทแล้ว จำเลยจึงยังคงค้างชำระดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2538 (ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับต้นเงินดังกล่าวจากโจทก์) ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยนำต้นเงินมาชำระคืนให้แก่โจทก์ เป็นเงินค่าดอกเบี้ยค้างชำระ 4,558,713.28 บาท เมื่อโจทก์รับชำระต้นเงินทั้งหมดไว้แล้วในวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงิน 6,749,540 บาท ภายหลังวันที่ 11 มิถุนายน 2547 อีกต่อไป 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555 
โจทก์ ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่าง จำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13936/2555 
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1084 แสดงให้เห็นว่า เงินปันผลของห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเป็นส่วนแบ่งจากกำไรที่ห้างหุ้นส่วนจ่าย ตอบแทนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนตามส่วนแห่งการลงหุ้น ดังนี้ กำไรยังไม่ได้แบ่งหรือเหลือจากการแบ่งย่อมไม่อาจถือเป็นเงินปันผลหรือเงิน ส่วนแบ่งกำไรอันจะได้รับเครดิตภาษีตาม มาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร เนื่องจาก ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติให้เครดิตภาษีแก่กำไรทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน แต่ให้เครดิตภาษีแก่เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรของผู้เป็นหุ้นส่วน เพื่อเป็นการบรรเทาภาษีแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนมิให้ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนกับหุ้น ส่วน และสนับสนุนการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน เงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกหุ้นส่วนจำนวน 66,188.86 บาท มิได้จ่ายตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1084 กำหนดไว้ แต่เป็นการเฉลี่ยแจกกำไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ซึ่งจะเห็นได้ว่า การชำระบัญชีเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันนี้ กฎหมายมิได้กำหนดให้จ่ายกำไรสะสมแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากออกจากทรัพย์อื่น ของห้างหุ้นส่วนได้ แต่ต้องนำมารวมกันเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นไป โดยกำไรที่จะแจกกันในระหว่างการชำระบัญชีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการ ชำระหนี้ ชดใช้เงิน และคืนทุนทรัพย์ตามลำดับไปแล้วยังมีทรัพย์เหลือ ดังนั้น กำไรที่แจกระหว่างการชำระบัญชีจึงมิใช่ผลกำไรที่ห้างหุ้นส่วนทำมาค้าได้อัน จะนำมาแบ่งเป็นเงินปันผลได้อีกต่อไป ส่วนเงินที่โจทก์ได้รับมีส่วนที่เป็นกำไรจากการปรับปรุงบัญชีรวมอยู่ด้วย 9,470.49 บาท เมื่อเงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกหุ้นส่วนจำกัด เป็นกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างการชำระบัญชี จึงไม่ใช่เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ข) แห่ง ป.รัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิก กัน เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์ลงทุนซึ่งเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13935/2555 
ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า เงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรไว้โดยเฉพาะการพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่ โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เป็นเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรหรือไม่ จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1084 ที่แสดงให้เห็นว่า เงินปันผลของห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเป็นส่วนแบ่งกำไรที่ห้างหุ้นส่วนจ่ายตอบ แทนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนตามส่วนแห่งการลงทุนขณะที่ยังประกอบกิจการปกติยัง มิได้เลิกห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ไม่แบ่งกำไรดังกล่าวจนกระทั่งจดทะเบียนเลิกห้าง ดังนี้ กำไรที่ยังไม่ได้แบ่งหรือเหลือจากการแบ่งย่อมไม่อาจถือเป็นเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไร อันจะได้รับเครดิตภาษี เงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน มิได้จ่ายตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1084 กำหนดไว้ แต่เป็นการเฉลี่ยแจกกำไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น กำไรที่แจกระหว่างการชำระบัญชีจึงมิใช่ผลกำไรที่ห้างหุ้นส่วนทำมาค้าได้ อันจะนำมาแบ่งเป็นเงินปันผลได้อีกต่อไป เงินที่โจทก์ได้รับเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เป็นกำไรที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชี จึงมิใช่เงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ข) ป.รัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิก กัน เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์ลงทุน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ฉ) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตาม มาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13928/2555 แจ้งแก้ไขข้อมูล โจทก์ ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คจำนวน 6 ฉบับ ที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย หาได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ การวินิจฉัยความผิดของจำเลยจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องตั๋วเงิน โจทก์จึงหาจำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมาแสดงตามที่จำเลยฎีกาไม่ จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คทั้ง 6 ฉบับ ตามฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คระงับแล้ว ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยและจำเลยฎีกาว่า โจทก์ได้ทำให้ทรัพย์สินที่เช่าเสียหาย คิดเป็นเงิน 260,000 บาท จึงขอหักกลบลบหนี้กับเช็คตามฟ้องโดยจำเลยเบิกความว่า ก่อนที่โจทก์จะออกไปจากห้องเช่า ทำให้ห้องเช่าเสียหาย เนื่องจากต่อเติมห้องเช่าโดยเทพื้นคอนกรีตลงบนสนามหญ้า มูลค่าความเสียหายเป็นเงิน 260,000 บาท นั้น ค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์มิได้ยอมรับ จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่อาจจะนำมาหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ตามฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13923/2555 
จำเลย ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ ต่อมาก่อนเช็คพิพาทถึงกำหนด จำเลยพบว่าสินค้าที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยตามใบสั่งซื้อ มีวาล์ว 10 ตัว จากจำนวนที่สั่งซื้อ 20 ตัว ชำรุดบกพร่องใช้การไม่ได้ ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระไว้ได้ทั้งหมดหรือบางส่วนตาม มาตรา 488 การที่จำเลยออกเช็คโดยจำนวนเงินตามเช็คเป็นการชำระค่าสินค้าทั้งหมดตามใบ สั่งซื้อให้แก่โจทก์ แต่มีสินค้าบางส่วนชำรุดบกพร่อง อันมีเหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระเงินเต็มตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเช็คพิพาท จำเลยจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ธนาคารห้ามการใช้เงิน ต่อมาเมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลย



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13466/2555 
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตได้รับมอบหมายจากบิดาให้บริหารกิจการของจำเลยแต่เพียงผู้ เดียว โดย ช. และ ม. มิได้เกี่ยวข้องกับกิจการของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ซึ่งการกระทำการแทนจำเลยต้องมีกรรมการอย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยจึงผูกพันจำเลยตามเงื่อนไข ที่ได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลไว้ การที่ ส. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแต่เพียงผู้เดียวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ จดทะเบียนนิติบุคคลไว้ดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการสั่งจ่ายในนามของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า ช. หรือ ม. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ส่อให้เห็นว่าเป็น การเชิดหรือยินยอมให้ ส. นำเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อปลอมของผู้ร่วมสั่งจ่ายไปแลกเงินสดจากโจทก์ได้ เมื่อจำเลยมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเนื้อความในเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12746/2555 
ผู้คัดค้านขายที่ดินโฉนดเลขที่ 31186 ให้ผู้ร้องแล้ว โดยมิได้สนใจที่ดินพิพาทอีกแปลงหนึ่งของผู้คัดค้านซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนด เลขที่ 31186 อีกเลย คงปล่อยให้ผู้ร้องเข้าครอบครองโดยเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าบ้านที่ปลูกไว้ใน ที่ดินพิพาทรวมทั้งรื้อถอนบ้านเช่าออกไป แล้วถมดินปรับปรุงพื้นที่และปลูกสร้างอาคารอู่ซ่อมรถให้ผู้อื่นเช่าเสมือน หนึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทติดต่อกันเรื่อยมาโดยผู้คัดค้านไม่เคยโต้แย้ง แม้ผู้คัดค้านได้นำเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท แต่ก็เป็นการกระทำหลังจากที่ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเป็น เวลากว่า 10 ปี แล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยไม่คำนึงว่าผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ เพราะการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์มิได้ กำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นการครอบครองโดยสุจริต 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12735/2555 
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ว. มารดาของผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 และที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดที่ 918 ทางทิศตะวันตกของ ท. โดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2529 ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 22 ปี หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องขอ ว. มารดาของผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนทางทิศตะวันตกของที่ดิน โฉนดเลขที่ 917 และโฉนดเลขที่ 918 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้และตกทอดแก่ผู้ ร้องและทายาทอื่นที่เป็นบุตรของ ว. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 และแม้ผู้ร้องกับทายาททั้งหมดเพิ่งทราบว่า ว. มารดาของผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองภายหลัง ก็ไม่ทำให้ทรัพยสิทธิที่มารดาของผู้ร้องได้มาและเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ร้องกับ ทายาทอื่นเสียไป ทั้งการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง ประกอบกับผู้ร้องมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง ได้มาโดยทางมรดกตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81 โดยที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเจ้ามรดกได้มาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ซึ่งต้องดำเนินการขอจดทะเบียนสิทธิตามมาตรา 78 ก่อน ผู้ร้องในฐานะทายาทผู้รับมรดกจาก ว. มารดาของผู้ร้องจึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทที่เป็นมรดกตกทอดมายังผู้ร้องและทายาทอื่นได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2555 
โจทก์ ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังแล้วมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่บริษัท ก. แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทดังกล่าวยักยอกเช็คไป บริษัท ก. ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นมาโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 เพื่อฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาโดยสุจริต การที่จำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นใช้ยันต่อโจกท์ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916 เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้ถือจึงนับได้ว่าเป็นผู้ทรง เมื่อโจทก์นำไปขึ้นเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นให้ แก่โจทก์ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12616/2555 
การตกลงกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ จำเลยที่ 1 นอกจากเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังมีลักษณะเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาโอนสิทธิการรับเงินค่า ก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 4 ให้สั่งจ่ายเช็คค่างวดงานก่อสร้างแก่โจทก์โดยตรง อันเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อสิทธิของโจทก์ได้เกิดมีขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 คู่สัญญาย่อมไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์นั้นในภายหลังได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งระงับการโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างโดยให้จำเลยที่ 4 ส่งเงินค่าก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยตรง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 375 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12460/2555 
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยซึ่งมีเงื่อนไขในการชำระค่าสินค้าโดยให้โจทก์โอน เงินเข้าบัญชีของจำเลยภายใน 60 วัน นับแต่วันรับสินค้าในแต่ละครั้ง และโจทก์มีสิทธิตรวจนับและรับรองสินค้าตลอดจนคุณภาพและสามารถคืนสินค้าได้ใน กรณีที่สินค้าหมดอายุ ชำรุด หรือโจทก์จัดรายการส่งเสริมการขาย เมื่อรายการนั้นจบลงและยังมีสินค้าของจำเลยเหลืออยู่จำเลยมีหน้าที่จะต้อง รับสินค้านั้นคืน โดยโจทก์จะหักกลบเงินค่าคืนสินค้ากับเงินที่โจทก์ต้องชำระค่าสินค้าให้จำเลย ในงวดต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดคืนเงินค่าสินค้าที่โจทก์ได้ชำระค่า สินค้าให้แก่จำเลยเมื่อหักกลบกับเงินที่โจทก์จะต้องชำระค่าสินค้าให้แก่ จำเลยในงวดต่อไป หาใช่เรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไม่ จึงจะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 มาใช้บังคับหาได้ไม่ และมิใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาเงินค่าของที่ได้ส่งมอบแก่ จำเลยจึงจะนำอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับหาได้ไม่อีกเช่นกัน การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยเพื่อชำระราคาค่าสินค้าเมื่อ หักกลบกับเงินที่โจทก์จะต้องชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยในงวดต่อไปคืน ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12264/2555 
สำเนาใบกำกับภาษีระบุชื่อจำเลยเป็นลูกค้าทุกฉบับ และยอดหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้มีรายการหักทอนกันระหว่างโจทก์และจำเลยหลาย รายการ ระบุยอดสุดท้ายว่าเป็นรายการที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ คงเหลือ 314,965.05 บาท เท่ากับรายการตามหนังสือรับสภาพหนี้ ปรากฏว่ามีการส่งอะไหล่ครั้งสุดท้ายระบุวันที่ 18 ตุลาคม 2540 โดยไม่ปรากฏว่าได้มีกำหนดเวลาชำระค่าอะไหล่กันไว้ ถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก ดังนั้น ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจะมีอายุความ 2 ปี ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย หรือมีอายุความ 5 ปี ดังที่โจทก์ฎีกา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 เป็นการจัดทำขึ้นหลังจากขาดอายุความแล้ว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลัก ฐานเป็นหนังสือ ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายใน 2 ปี นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพความรับผิดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ประกอบมาตรา 193/28 วรรคสอง 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12258/2555
จำเลย นำเช็คของธนาคาร ส. ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 จำนวนเงิน 9,450 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับเงินไทย 385,371 บาท ซึ่งมี ก. เป็นผู้สั่งจ่ายมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินจากธนาคารเจ้าของเช็คแทนจำเลย เมื่อโจทก์โอนเงินเข้าบัญชีจำเลยเท่ากับจำนวนเงินในเช็ค ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะทำให้จำเลยในฐานะผู้ทรงเช็คเข้าใจได้ว่าเงินที่โจทก์ โอนเข้าบัญชีนั้นเป็นเงินตามเช็ค การที่จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลยเพียงบางส่วนจำนวน 120,000 บาท ทั้งที่สามารถเบิกถอนออกจากบัญชีได้ในคราวเดียวทั้งหมด จึงไม่น่าจะเกิดจากการกระทำที่ไม่สุจริต เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยรับเงินไว้โดยไม่สุจริต จึงต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 412 เมื่อปรากฏว่าจำนวน 120,000 บาท ที่จำเลยเบิกถอนไปนั้น ส่วนหนึ่งจำเลยได้โอนคืนให้ บ. ภริยาของ ก. อีกส่วนหนึ่งนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนเวลาประมาณ 17 นาฬิกา ของวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ซึ่งเป็นเวลาที่จำเลยได้รับแจ้งจากพนักงานของโจทก์ว่าเช็คที่จำเลยให้โจทก์ เรียกเก็บแทนนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงถือว่าในวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นเวลาขณะเมื่อเรียกเงินคืน จำเลยไม่มีเงินเหลือที่จะคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115/2555 
การทำนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุทำขณะที่โจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้ เยาว์อยู่ ได้กระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1574 (11) นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะทันที และยังเป็นกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล กิจการนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1575 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุเกิดขึ้นเลย สิทธิการเช่าดังกล่าวยังคงเป็นของโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวไว้ แม้จะอ้างว่า รับโอนโดยสุจริตก็หามีผลทำให้จำเลยกลับมีสิทธิตามนิติกรรมโอนสิทธิการเช่า ดังกล่าวไม่ และเป็นกรณีมิใช่โมฆียกรรม ไม่อาจให้สัตยาบันหรือบอกล้างนิติกรรมได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11732/2555 
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าประเภทผลไม้แช่แข็ง โดยนำรถยนต์บรรทุกลากตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากกรุงเทพมหานครไปที่จังหวัด เชียงใหม่ เพื่อบรรจุสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์ และลากตู้คอนเทนเนอร์นำไปส่งให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่กรุงเทพมหานคร แล้วจำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าขนส่งให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งสิ่งของเรียกเอาค่าขนส่งพร้อมค่ายก ตู้และค่าผ่านท่าจากจำเลย ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาค่าระวาง มิใช่หนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานจ้างทำของและมิใช่หนี้ที่เรียก ร้องเกี่ยวกับข้อความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่สูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชัก ช้าด้วย จึงอยู่ในบังคับอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11731/2555 
จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย และจำเลยกับผู้ตายเป็นลูกหนี้สินเชื่อของโจทก์เช่นเดียวกัน การที่จำเลยทำสัญญารับใช้หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่ง โดยจำเลยยอมรับผิดร่วมกับกองมรดกของผู้ตาย โดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขสำคัญว่า เมื่อโจทก์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เพียงใด จำเลยจะชำระหนี้ในส่วนต่างระหว่างหนี้ตามคำพิพากษาและดอกเบี้ยจนถึงวันชำระ เสร็จและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองคดีกับเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาด และหากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เป็นงวดจนกว่าจะครบนั้นก็เนื่องจาก ในขณะนั้นสินเชื่อในส่วนของจำเลยเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ หากจำเลยไม่เข้ารับใช้หนี้ของผู้ตายแล้วโจทก์ก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม ให้แก่จำเลยอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มเติมความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับ หนี้สินของผู้ตายที่ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตก ได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ดังนั้น สัญญารับใช้หนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่ เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11692/2555 
โจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายแก่กัน กรณีแม้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 อันเป็นคดีครอบครัว แต่การพิจารณาพิพากษาคดีก็ต้องอาศัยหลักกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาและหลัก กฎหมายอื่นตาม ป.พ.พ. มาพิจารณาประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดา โดยให้ทำเป็นนิติกรรมซื้อขายกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 และโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 แล้วถือได้ว่าการแลกเปลี่ยนสินส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีผลสมบูรณ์ แม้รถยนต์ที่ตกลงแลกเปลี่ยนยังคงมีชื่อจำเลยที่ 1 ในทางทะเบียน แต่รถยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อคู่กรณีมีการตกลงโอนกรรมสิทธิ์แก่กันก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้การแลกเปลี่ยนทรัพย์สินกันนี้จะมีลักษณะเป็นสัญญาระหว่างสมรส ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนด หนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1469 ก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วตามมาตรา 374 วรรคสอง โจทก์จึงไม่อาจบอกล้างสัญญาดังกล่าวซึ่งจะมีผลให้เป็นการระงับสิทธิของจำเลย ที่ 2 ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11488/2555 
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อ ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อเลี้ยวขวากลับรถ กะทันหันให้รถขวางถนน จนเป็นเหตุให้ อ. ซึ่งขับรถยนต์กระบะ พุ่งชน จน อ. ถึงแก่ความตาย และ ส. ซึ่งนั่งโดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ เมื่อขณะเกิดเหตุปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างขนส่งสินค้าและมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ของ จำเลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถบรรทุกหกล้อ เช่นนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นประจำโดยใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถมองเห็นได้ชัดเจน อันมีลักษณะเป็นการเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการรับจ้างขนส่งสินค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11482/2555 
แม้ข้อตกลงที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินกู้ค้างชำระทั้งหมดหากจำเลยพ้น จากการเป็นพนักงานจะมีผลบังคับได้ แต่หลังจากจำเลยลาออกแล้วโจทก์ก็ยังรับผ่อนชำระเงินกู้จากจำเลยมาตลอดโดย จำเลยไม่เคยผิดนัด แสดงว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกเงินกู้ค้างชำระทั้งหมดด้วยเหตุจำเลยพ้น สภาพการเป็นพนักงานของโจทก์โดยปริยาย นอกจากนั้นการกู้เงินของจำเลยเป็นการกู้เงินสวัสดิการของพนักงานเพื่อที่ อยู่อาศัยโดยมีที่ดินพร้อมบ้านจำนองเป็นประกัน ซึ่งหากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้โดย ไม่เสียหายอยู่แล้ว การลาออกของจำเลยก็มิได้เกิดจากการกระทำผิดหรือกระทำโดยมิชอบของจำเลย แต่เป็นเรื่องสุขภาพที่ฝ่ายโจทก์ขอให้จำเลยลาออกเอง ทั้งหลังจากลาออกแล้วจำเลยยังมีรายได้เพียงพอแก่การผ่อนชำระเงินกู้อีก ดังนั้น ที่โจทก์ใช้ทั้งสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดในขณะเดียวกันก็รับการ ผ่อนชำระของจำเลยไปเรื่อยๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตน บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต" เมื่อการใช้สิทธิของโจทก์ไม่สุจริตอันไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11224/2555 
การที่สลากกินแบ่งรัฐบาลถูกรางวัลที่หนึ่งและจำเลยทั้งสองร่วมกันไปรับเงิน รางวัลมาแล้ว ย่อมทำให้โจทก์ร่วมหมดโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัล เท่ากับว่าโจทก์ร่วมต้องสูญเสียเงินจำนวนนั้นไปเนื่องจากการกระทำความผิดของ จำเลยทั้งสองโดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินหรือใช้เงินเท่ากับจำนวน เงินรางวัลที่หนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ได้ความว่าในการขอรับเงินรางวัล จำเลยทั้งสองได้รับเงินมาเพียง 3,980,000 บาท เพราะต้องเสียอากรแสตมป์ 20,000 บาท จำเลยทั้งสองต้องคืนหรือใช้เงินจำนวนเท่าที่ได้รับมาเท่านั้น และโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำ ความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสิน ไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม โดยเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10969/2555 
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้อาจเกิดขึ้นได้ หลายสาเหตุ เช่น ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพ หนี้ รวมไปถึงการชำระหนี้ให้บางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยตกลงชำระหนี้บัตรเครดิตโดยยินยอมให้โจทก์หักเงินจากบัญชีเงินฝากออม ทรัพย์ของจำเลย และสัญญาการใช้บัตรเครดิตระบุว่า หากมีการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ให้ถือว่าเป็นการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น มิใช่เป็นการยกเลิกสัญญา และหากปรากฏว่ามียอดเงินเป็นลูกหนี้โจทก์ จำเลยตกลงที่จะชำระหนี้โดยให้โจทก์หักเงินจากบัญชีชำระหนี้ได้ ดังนี้ การที่โจทก์หักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยเพื่อชำระหนี้จึงเป็นกรณีที่ จำเลยยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์หักเงินจากบัญชีของจำเลยตามอำเภอใจไม่ กรณีจึงเป็นการรับสารภาพหนี้ต่อโจทก์ด้วยการชำระหนี้ให้บางส่วนอันเป็นเหตุ ให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เช่นนี้นับแต่วันที่จำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายจนถึง วันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10904/2555 
จำเลยทั้งสามซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์ไปเพื่อดำเนินการจัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรของประชาชนในท้องถิ่น การดำเนินการของจำเลยทั้งสามจึงมุ่งเน้นในการให้บริการสาธารณูปโภคเพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนอันเป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามที่ กฎหมายกำหนด มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญ การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่อยู่ในข้อยกเว้นของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10865/2555 
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่าพระครู ส. จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 เป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการโอนให้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของกฎหมายว่า รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงการที่โจทก์จดทะเบียนให้พระครู ส. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือ พระครู ส. ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอัน นั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์จึงต้องรับผิดผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทต่อจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่าง จำเลยที่ 2 และที่ 3 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2555 
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ผิดนัด คงให้การแต่เพียงว่าสัญญาบัตรเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลบังคับ เนื่องจากโจทก์มิได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การเลิกสัญญากับการผิดนัดเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือ หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 386 ถึง มาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก หาได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระ หนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่ง ปฏิทิน การที่จำเลยมิได้ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีกตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ฟ้อง 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10499/2555 
โจทก์เป็นผู้ซื้อรถคันพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิด นั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตรวจสอบทราบตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2543 แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อรถคันพิพาทได้ไปจากบริษัท จ. ก็ควรจะไปขอคืนรถคันพิพาทจากโจทก์โดยการเตรียมเงินไปชดใช้ราคาที่ซื้อมาให้ แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับใช้วิธีไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีในวันดังกล่าวแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้เช่าซื้อ ในข้อหายักยอกรถคันพิพาท ทั้งที่ได้มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2542 แล้ว และปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยนานถึง 1 ปี 4 เดือนเศษ เพิ่งจะมาแจ้งความร้องทุกข์ภายหลังจากทราบแล้วว่าโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อรถ คันพิพาทไปจากบริษัท จ. พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โดยจงใจอาศัยอำนาจของเจ้าพนักงานในการที่จะปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. ว่าด้วยการค้นและยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีข้อหายักยอกที่เพิ่งแจ้งความร้องทุกข์ใน ภายหลังมายึดรถคันพิพาทไป จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รถคันพิพาทเพื่อติดตามและเอารถคันพิพาท คืนจากโจทก์ไม่ได้ เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะได้ชดใช้ราคารถคันพิพาทแก่โจทก์ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ตกอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1332 และแม้ว่ารถคันพิพาทจะเป็นรถคันเดียวกับรถคันที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าซื้อไปในคดีข้อหายักยอก อันน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่ก็มีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รถคันพิพาทเช่นกัน โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการผู้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการแทนในการยึดรถคันพิพาทจากโจทก์โดยไม่ชดใช้ราคาที่ซื้อมา จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10409/2555 
ก่อนคดีนี้จำเลยได้นำหนี้ตามสัญญาเช่าซี้อรถยนต์พิพาทมาฟ้องให้โจทก์รับผิดแล้ว แต่ภายหลังตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำ พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของจำเลยที่จะเรียกร้องให้โจทก์ รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จำเลยคงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่านั้น เนื่องจากคำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีดังกล่าวถือได้ว่าเป็น ส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้เพียงว่าหากโจทก์ซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผิดนัด โจทก์ยินยอมให้จำเลยบังคับเอากับหนี้ที่เหลือได้ทั้งหมด โดยไม่มีข้อความใดระบุให้สิทธิแก่จำเลยติดตามยึดรถยนต์พิพาทคืน ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีเอากับ หนี้ที่เหลือตามคำพิพากษาตามยอมทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยได้ทันทีเท่านั้นไม่มี สิทธิที่จะไปยึดรถยนต์พิพาทได้อีก การกระทำของจำเลยที่มอบหมายให้พนักงานของจำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทแล้วนำออกขาย ทอดตลาดจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์ โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10408/2555 
แม้โจทก์ไม่ได้แต่งตั้งให้ ฐ. ไปทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทกับบริษัท ท. มีผลให้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าบริษัท ท. สละเจตนาครอบครองเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทพร้อมอุปกรณ์ เมื่อโจทก์เข้ายึดถือเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดและฟ้องเรียกเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทคืนได้ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทโดยนำไปร่วมลงทุนกับ จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 นำเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อโดยพลการและโดยไม่มีสิทธิ แม้จำเลยที่ 3 จะสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และต้องคืนเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทพร้อมอุปกรณ์ให้แก่ โจทก์ซึ่งมีสิทธิดีกว่า และโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่คืนจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้าง เคลื่อนย้ายเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทออกจากสวนสนุกไปเพื่อทำสีใหม่นั้น เป็นเพราะจำเลยที่ 1 นายจ้างสั่งการ แต่จำเลยที่ 2 กลับนำเครื่องเล่นรถไฟที่พิพาทไปเก็บและนำไปให้จำเลยที่ 3 เช่าซื้อโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นด้วยก็ไม่ใช่สาระสำคัญ จำเลยที่ 1 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างต่อโจทก์ตามฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10398/2555 
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 จำเลยลงชื่อรับสินค้าตามใบส่งของ การซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาต่างตอบแทนที่ไม่มีกำหนดระยะ เวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระ หนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินค้านับแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบจึงมีกำหนดอายุความสอง ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ครบกำหนดสองปีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาและเป็นวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา และอายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คู่ความไม่จำต้องนำสืบ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10210/2555 
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าความเจ็บป่วยของโจทก์ที่ปรากฏนั้นมีอาการหนักหนาสาหัสที่ ต้องรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานและต้องรักษาถึงหลายอาการและหลังจากวันฟ้องก็ เห็นได้ชัดว่าจะต้องรักษาต่อเนื่องกันไปอีกและยากที่จะมีสภาพแข็งแรงเหมือน เดิมได้ ดังนั้นเมื่อในเวลาที่พิพากษาคดี ศาลชั้นต้นเห็นเป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ชัดว่าความเสียหายที่โจทก์ได้ รับนั้นแท้จริงเพียงใด จึงมีอำนาจที่จะกล่าวในคำพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษา อีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีได้ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคสอง ให้อำนาจไว้ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10105/2555 
เจ้าหนี้เป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ต่อธนาคาร ก. เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิไล่เบี้ย ในเวลาภายหน้าตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 ปรากฏว่าธนาคาร ก. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย และวรรคสอง การที่เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ตามหนังสือค้ำประกันถึงแม้มีผลให้เจ้าหนี้เข้ารับช่วงสิทธิของธนาคาร ก. บรรดามีเหนือลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 แต่เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้หลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ แล้ว ดังนี้ ขณะยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้จึงยังไม่ได้รับช่วงสิทธิที่จะมาขอรับชำระ หนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยอาศัยคำขอรับชำระหนี้เดิมของเจ้าหนี้ได้ การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในกรณีนี้เจ้าหนี้ชอบที่จะต้องเข้ารับช่วงสิทธิ ของธนาคาร ก. ในส่วนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้แล้ว 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9761/2555 
ป.พ.พ. มาตรา 1361 บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน" แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบเอก บ.จดทะเบียนใส่ชื่อของจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง เพียงคนเดียว และนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเพื่อประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและบรรดาทายาทอื่นของจ่าสิบเอก บ.โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ทั้งผู้ร้องและพี่น้องคนอื่นซึ่งเป็นบุตรของจำเลยยังเคยเจรจากับโจทก์ว่าไม่ คิดจะโกงโจทก์ และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ผู้ร้องยังมีส่วนเจรจากับโจทก์โดยขอให้โจทก์ยอมลดยอดหนี้ให้แก่จำเลย จนจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อมีการยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ผู้ร้องยังได้ไปดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลยอีกด้วย แสดงว่าตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี นับแต่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวและ ยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาด ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2555 
เมื่อหนี้ตามสัญญาจำนองที่ได้ประกันหนี้ไว้ระงับไป สัญญาจำนองจึงระงับสิ้นไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) ด้วยเหตุนี้จำเลยในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจหน่วงเหนี่ยวถือสิทธิใดๆ ในสัญญาจำนองและทรัพย์สินที่จำนองไว้ได้อีก การที่จำเลยปลดจำนองให้แก่ อ. และ ว. ซึ่งเป็นการกระทำไปตามหน้าที่ของเจ้าหนี้ผู้ที่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ย่อมต้องคืนทรัพย์ซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่เจ้าของทรัพย์ การที่จำเลยจดทะเบียนปลดจำนองจึงเป็นการดำเนินการไปตามหน้าที่ของเจ้าหนี้ ผู้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ที่พึงต้องคืนหลักประกันการชำระหนี้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นละเมิดต่อโจทก์ไม่ และหาเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับ ช่วงในสิทธิจำนองที่ได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 697 ไม่ เพราะบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเป็นกรณีที่เจ้าหนี้กระทำให้สิทธิ บุริมสิทธิหรือจำนองที่มีเพื่อประโยชน์ในการได้รับชำระหนี้ลดน้อยลง อันเป็นการกระทำก่อนการได้รับชำระหนี้จนครบ โจทก์จึงจะอ้างว่าจำเลยทำให้เสื่อมสิทธิในการเข้าสวมสิทธิจำนองของตนเพื่อ ไล่เบี้ยต่อ อ. และ ว. หาได้ไม่ 

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ฎีกาอาญา เจาะวลีฎีกาเด่น* ปี 2556





คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2556
ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ จำเลยกระทำความผิดโดยเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนความผิดฐานสนับสนุนการก่อการร้ายจำเลยกระทำความผิดด้วยการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดฐานก่อการร้ายก่อนหรือขณะกระทำความผิด การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว แม้จำเลยจะได้กระทำในช่วงเดียวกัน แต่การกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกันและต่างกรรมต่างวาระ ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการเป็นอั้งยี่ และสนับสนุนการก่อการร้ายก็เป็นคนละอย่างต่างกัน การกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานเป็นอั้งยี่และฐานสนับสนุนการก่อการร้ายจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2556 
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี โจทก์จึงต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 15 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2537 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 ภายในอายุความ 15 ปี นับแต่วันกระทำความผิด แต่การที่ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ต่อไประหว่างนั้นจะถือว่าได้ตัวจำเลยทั้งสองมาศาล และจำเลยทั้งสองอยู่ในอำนาจศาลไม่ได้ อายุความจึงยังไม่หยุดนับ เมื่อปรากฏว่าขณะที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 18 มกราคม 2553 นั้นเป็นเวลาเกิน 15 ปี นับแต่วันที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง คดีโจทก์สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ย่อมขาดอายุความ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องจำเลยทั้งสองยังไม่อยู่ในอำนาจของศาลจนกว่าศาลจะมีคำสั่งประทับรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา การที่ศาลหมายแจ้งวันนัดไต่สวนมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองทราบ จำเลยทั้งสองมีสิทธิไม่มาศาลในวันนัดได้ เพราะหมายเรียกดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองมาฟังการพิจารณาของศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองอยู่ในอำนาจศาล ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) และจะนำบทบัญญัติทางแพ่งเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงเมื่อฟ้องคดีมาใช้บังคับไม่ได้เพราะ ป.อ. มาตรา 95 บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่อัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องคดี หรือประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ฟ้องคดีในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด แต่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีเองเช่นนี้ ตามมาตรา 97 วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อคดีของโจทก์มิใช่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง กรณีไม่ต้องตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนไม่ได้ แม้ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจะเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่การพิจารณาว่าความผิดฐานใดขาดอายุความต้องพิจารณาจากอายุความของความผิดฐานนั้นๆ เป็นหลัก มิใช่พิจารณาจากความผิดที่มีโทษหนักที่สุด



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333 - 339/2556 
การที่จำเลยทั้งเจ็ดทำลายบัตรเลือกตั้งเป็นการกระทำในคราวเดียวด้วยเจตนาเดียวที่จะทำลายบัตรเลือกตั้ง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียว แต่การกระทำดังกล่าวแม้จะกระทำในคราวเดียววาระเดียวกันต้องด้วยองค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 และเป็นความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 108 ก็ตาม แต่เมื่อความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งเป็นความผิดเฉพาะตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องที่บัญญัติใช้เป็นพิเศษ การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดจึงไม่จำต้องปรับบทความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อันเป็นบทกฎหมายทั่วไปอีก



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2556
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้กับในคดีอีกสี่สำนวนของศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาในวันเดียวกันและในเวลาใกล้เคียงเกี่ยวเนื่องกันติดต่อกันไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีนี้โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอื่นอีกสี่สำนวนนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่อย่างไร ทั้งตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอื่นอีกสี่สำนวนนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยติดต่อกันจึงชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2556
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรกนั้น ต้องได้ความว่าผู้กระทำได้รับซื้อทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดลักษณะหนึ่งในแปดลักษณะ ซึ่งมีความผิดฐานฉ้อโกงรวมอยู่ด้วย ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์นำสืบให้เห็นว่าซิมการ์ดของกลางที่จำเลยที่ 1 ซื้อมานั้น เป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ส่วนผู้ใดจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่องค์ประกอบความผิดของความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นรายละเอียดดังกล่าว แต่โจทก์ได้นำสืบส่วนที่เป็นองค์ประกอบความผิดครบถ้วนศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12265 - 12266/2556
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุชัดเจนว่ามีกำหนดอายุของสัญญาเช่าเป็นเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2529 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาเช่าทุกฉบับมีข้อตกลงในข้อ 7.9 ว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุประการใดก็ตาม ผู้เช่าจะต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่า ขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าได้โดยปราศจากความรับผิดใด ๆ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการต่อสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่ากันใหม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกกลับเข้าครอบครองพื้นที่เช่าโดยใช้ไม้กระดานปิดกั้นและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ในที่อื่นและพร้อมกับปิดประกาศ ณ บริเวณพื้นที่เช่าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ว่า สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามข้อตกลงแห่งสัญญาเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และฐานทำให้เสียทรัพย์ สำหรับข้อหาลักทรัพย์ ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 ว่ามีการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ที่ลานจอดรถชั้นที่ 3 และโกดังชั้นที่ 6 บางส่วนนำไปไว้ที่ทิ้งขยะชั้นล่าง แต่ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าจำเลยทั้งหกเอาไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เช่าก็เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เพื่อให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน และยังอ้างด้วยว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าจำเลยทั้งหกขาดเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13360/2556
การที่จำเลยกับพวกมีการวางแผนและตระเตรียมอาวุธไปพร้อมตีทำร้ายผู้ตายหลายครั้งทั้งที่ผู้ตายเป็นคนพิการไม่มีทางต่อสู้ได้ จนได้รับบาดแผลและถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล และเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13480/2556
ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของทั้งสองฝ่ายตรงกันเพียงว่า โจทก์ประสงค์จะได้ตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์เชื่อตามที่จำเลยที่ 1 บอกโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 สามารถช่วยเหลือได้เพราะจำเลยที่ 2 สนิทสนมกับอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งสนิทสนมกับพลเอก ว. ซึ่งเป็นคณะปฏิรูปการปกครองในขณะนั้นซึ่งต้องใช้เงินเป็นค่าประสานงาน 10,000,000 บาท โจทก์ต่อรองเหลือ 7,500,000 บาท และโจทก์จ่ายเงินให้จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน 2,500,000 บาท เพื่อให้โจทก์ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เงินดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองนำไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรตำแหน่งดังกล่าวให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการหลงเชื่อจำเลยที่ 1 กับพวก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายและมีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานฉ้อโกงได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13193/2556
ความผิดฐานทำวัตถุระเบิดและฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 38 และมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 78 ด้วยกัน เมื่อวัตถุระเบิดที่จำเลยทำกับวัตถุระเบิดที่ครอบครองเป็นระเบิดลูกเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18180/2556
ความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เป็นความผิดเกิดขึ้นและสำเร็จแล้วตั้งแต่ผู้ให้กู้ให้กู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยต่อเนื่องกันมาเป็นผลของการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันให้โจทก์ร่วมกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2541 และโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20936/2556
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์กระบะด้วยความเร็วสูงเสียหลักลื่นไถลออกนอกเส้นทางพุ่งชนรถยนต์คันที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับสวนทางมา โดยมีโจทก์ร่วมที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วย ทำให้โจทก์ร่วมที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องมิได้ทำให้โจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยไม่คัดค้านในการที่โจทก์ร่วมที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ แต่การพิจารณาว่าโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายหรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในฟ้องว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ มิใช่พิจารณาว่าจำเลยจะคัดค้านหรือไม่ดังนี้ โจทก์ร่วมที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4 (2) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 บัญญัติให้ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ต้องเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4 (2) หรือมาตรา 5 เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 มิใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกับบุตรของโจทก์ร่วมที่ 1 โจทก์ร่วมที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่ารักษาพยาบาลของบุตรโจทก์ร่วมที่ 1 ก่อนถึงแก่ความตาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21553/2556
ป.อ. มาตรา 29 กำหนดวิธีการบังคับค่าปรับไว้ 2 วิธี เพื่อให้ศาลเลือกใช้ได้ตามสมควรแก่รูปคดี มิใช่ให้ศาลเลือกใช้วิธีการบังคับได้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระค่าปรับรายวันแล้วก็ตาม ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งกักขังจำเลยแทนค่าปรับได้ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยโดยกำหนดว่า หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุว่าให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใด ถือเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21554/2556
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีบรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13113/2556
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปยังบ้านที่เกิดเหตุพร้อมกับ ว. แล้ว จำเลยที่ 2 เรียกชื่อเล่นของ น. ว่า ปู เมื่อผู้ตายตะโกนว่าปูไม่อยู่ ว. ใช้อาวุธปืนยิงไปที่ประตูบ้านถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยทั้งสองและ ว. พากันหลบหนีไป ว. ไปถอดหมวกนิรภัยและเสื้อที่สวมใส่ในขณะก่อเหตุที่บ้านของจำเลยทั้งสองก่อนจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองบ่งชี้ว่ามีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับ ว. จึงเป็นตัวการร่วมกัน แต่การที่ ว. ใช้อาวุธปืนยิงไปที่ประตูบ้าน 2 นัด หลังจากผู้ตายตะโกนบอกว่าปูไม่อยู่ กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นการกระทำที่เล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกคนในบ้านถึงแก่ความตายเท่านั้น มิได้ประสงค์ต่อผลโดยตรงที่จะยิงให้ถูก น. เนื่องจากมองไม่เห็นว่า น. อยู่ที่ใด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานเป็นตัวการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงลงโทษได้ในฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น โดยบุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จจริงนั้นตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคท้าย 



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12114/2556
การที่จำเลยนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปซ่อมรอยรั่วซึมของถังน้ำมัน โดยจำเลยไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบก่อน กลับแจ้งผู้ตายโดยตรงให้ซ่อมถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงานที่มีขึ้นเพื่อความปลอดภัย และจำเลยไม่ได้บอกผู้ตายว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันเบนซินมาด้วย ทำให้ผู้ตายไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิดระเบิดขึ้นและผู้ตายถึงแก่ความตาย นับเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียวที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาได้เกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วยไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12031/2556
แม้พฤติการณ์ที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ในเวลากลางคืน 4 ครั้ง ต่างวันกันจะส่อไปในทางที่ผู้เสียหายที่ 3 บุตรผู้เยาว์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 รู้เห็นยินยอม แต่การที่จำเลยเข้าไปในบ้านเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายที่ 3 โดยผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุไม่ยินยอมถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11974/2556
จำเลยเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แต่ผู้อำนวยการโรงเรียนได้มอบหมายให้จำเลยทำการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ศิลปะ และการงานอาชีพหรือเกษตรกรรมในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้เสียหายเรียนอยู่ด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่อบรมสั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนผู้เสียหายหรือนักเรียนร่วมชั้นให้อยู่ในระเบียบของทางราชการ ฐานะของผู้เสียหายจึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 285 การกระทำชำเราโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราเพียงว่าจำเลยใช้นิ้วมือของจำเลยแหย่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่การกระทำเพื่อสนองความใคร่โดยปกติทั่วไป เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาสนองความใคร่ของจำเลยด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11817/2556
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ซึ่งความผิดดังกล่าวศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ กรณีจึงไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72, 288


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11340/2556
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา" และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อ 4 กำหนดว่า "การปกครองคณะสงฆ์แต่ละคณะให้มีบรรพชิตเป็นผู้ปกครองตามตำแหน่ง ดังนี้ (11) เจ้าอาวาส" ดังนี้ เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ตามกฎกระทรวง จึงถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาตามบทบัญญัติดังกล่าว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9912/2556
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นสมาชิกของขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนผู้ตายเป็นผู้หาข่าวความเคลื่อนไหวของขบวนการดังกล่าวให้แก่ทางราชการ ในวันเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์กลับจากทำละหมาดจะไปยังบ้านพัก จำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ตามสะกดรอยไปจนถึงบ้านพักของผู้ตาย แล้วร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย เมื่อภริยาของผู้ตายได้ยินเสียงปืนได้ออกมาดูแลถามจำเลยที่ 2 ว่าเหตุใดจึงยิงผู้ตาย จำเลยที่ 2 ขู่ภริยาของผู้ตายให้อยู่เฉย ๆ พร้อมกับจ้องปืนเล็งไปที่ภริยาของผู้ตาย โดยไม่ได้แสดงพฤติการณ์ให้เห็นว่าเป็นการสร้างความวุ่นวายและความไม่สงบให้เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/1 (1) 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9829/2556
การกระทำที่เป็นการพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ตาม ป.อ. มาตรา 317 นั้น ไม่ถึงขนาดต้องควบคุมตัวเด็กนั้นไว้ เพระการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดต่อเสรีภาพอีกต่างหาก คำว่า "พราก" มีความหมายว่า จากไปหรือแยกออกจากกัน สาระสำคัญจึงอยู่ที่การพาไปหรือการแยกเด็กไปนั้น ได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวให้ไปกับบุคคลที่พาไปหรือไม่ หรือมิฉะนั้นบุคคลที่พาเด็กนั้นไปจะต้องมีเหตุอันสมควร 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10908/2556
จำเลยฆ่า ส. ผู้ตายโดยบันดาลโทสะ ส. จึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ส. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ว. มารดาของ ส. ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 รวมทั้งไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 กับไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษและขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วม ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ว. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยคำร้องขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10879/2556
แม้ผู้เสียหายเข้าไปภายในบริเวณบ้านจำเลย และ ส. เพื่อปรับความเข้าใจเรื่องที่ผู้เสียหายมีปากเสียงกับจำเลย แต่เมื่อ ส. ไล่ให้ผู้เสียหายกลับไป และจำเลยปิดประตูบ้าน จึงเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรมของจำเลย และ ส. ในฐานะเจ้าของบ้านที่จะไล่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบริเวณบ้านของตนได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมออกไปจากบริเวณบ้าน ถือเป็นการบุกรุกบ้านของจำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธมีดโต้ฟันผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย แต่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้อาวุธใดจะทำร้ายจำเลย การที่จำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหายหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมการกระทำโดยเจตนาทำร้ายด้วยซึ่งเป็นความผิดอยู่ในตัว เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215, 225


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10542/2556
ผู้เสียหายเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) บริเวณที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แต่ปรากฏว่าระหว่างที่ดินพิพาทและที่ดินของผู้เสียหายมีถนนสาธารณะกั้นตลอดแนว ทำให้ที่ดินพิพาทไม่ติดกับที่ดินของผู้เสียหายเนื่องจากมีทางสาธารณะคั่น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งไม่ตกเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 ที่ดินพิพาทจึงเป็นชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ซึ่งมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ที่เอกชนเป็นเจ้าของเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8413/2556
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเสมียนตรามีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกไปมีข้อความหรือจำนวนเงินผิดพลาด จำเลยย่อมมีอำนาจหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้อง การแก้ไขดังกล่าวมิใช่การกระทำในขณะจำเลยหมดอำนาจที่จะแก้ไข จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทำเอกสารอันเป็นเท็จแต่การทำเอกสารอันเป็นเท็จดังกล่าวเพื่อให้สมเหตุผลในการยักยอกทรัพย์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวคือเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2556
ผู้เสียหายมีอาชีพทำฟาร์มโค ฟางอัดแท่งที่เก็บอยู่ในโรงเก็บฟาง ไม่ใช่สินค้าที่มีไว้เพื่อการค้าของผู้เสียหาย แต่น่าจะมีไว้เลี้ยงโคผู้เสียหายเองมากกว่า โรงเก็บฟางที่จำเลยวางเพลิงจึงมิใช่โรงเรือนอันเป็นที่เก็บสินค้าตามความหมายของมาตรา 218 (2) แต่เป็นทรัพย์ทั่วไปของผู้อื่นตามมาตรา 217 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2556
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ตำรวจแม่ง...ใช้ไม่ได้" เพราะรู้สึกว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ความสำคัญต่อคำชี้แจงของตน ทำให้จำเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงกล่าวตำหนิการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียบหยามหรือสบประมาทเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8010/2556
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 โดยกล่าวหาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับรองว่าที่พิพาทได้ทำประโยชน์ต่อเนื่องกันมาซึ่งเป็นความเท็จ เพราะความจริงที่พิพาทมีสภาพเป็นภูเขาไม่อาจออกเอกสารสิทธิได้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 นำเอาแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ผิดแปลงไปใช้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาท ก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวประสงค์เพียงให้มีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็พอแล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเรื่องที่ว่ากันในชั้นสืบพยานได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้รับมอบหมายให้รังวัดชันสูตรตรวจสอบที่ดินในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้คำรับรองว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เป็นที่สาธารณประโยชน์ และเป็นที่สงวนหวงห้ามของทางราชการ เพื่อให้ ส. ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ทำให้เกิดความสียหายแก่รัฐ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเสนอต่อนายอำเภอรับรองว่าออกทำการรังวัดตรวจสอบที่ดินตลอดจนตรวจสอบแล้วว่าสามารถออกแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ได้ อันเป็นความเท็จ จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในบันทึกสอบสวนสิทธิและใบรับรองเขตติดต่อที่ดินยืนยันว่ามีการครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องและที่ดินมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ทั้งไม่ใช่ที่สาธารณะหรือที่หวงห้ามของทางราชการอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานได้รับมอบหมายจากนายอำเภอให้ปฏิบัติหน้าที่ระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดินสาธารณะแต่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบและยังรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ มีจุดประสงค์อย่างเดียวเพื่อให้นายอำเภอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836/2556
จำเลยรับเครื่องประดับจากโจทก์ไปจำหน่าย โดยจำเลยสั่งจ่ายเช็คระบุจำนวนเงินตามมูลค่าเครื่องประดับนั้น ๆ ให้โจทก์ยึดถือไว้ เมื่อจำเลยนำเงินค่าเครื่องประดับมาชำระ โจทก์จะคืนเช็คให้จำเลย พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เชื่อได้ว่า ราคาที่โจทก์กำหนดตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องนั้น แท้จริงแล้วคือราคาที่จำเลยจะต้องออกเช็คให้โจทก์ยึดถือไว้ ดังนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยจะได้รับจากการทำธุรกิจเช่นนี้กับโจทก์ก็คือ ส่วนต่างของราคาเครื่องประดับที่จำเลยขายให้แก่ลูกค้ากับราคาที่โจทก์กำหนดโดยจำเลยต้องออกเช็คให้โจทก์ยึดถือไว้นั่นเอง กรณีจึงมิใช่จำเลยได้รับมอบหมายให้รับเครื่องประดับไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์ หากแต่จำเลยครอบครองโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาที่โจทก์กับจำเลยมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อจำเลยไม่ส่งเงินที่ขายได้หรือไม่ส่งคืนเครื่องประดับที่ยังขายไม่ได้ให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้ ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาสามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7832/2556
จำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ ขณะอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะกระทำความผิดผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าว การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่ 1 แต่ก็ถือว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะที่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ และย่อมมีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา ผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7479/2556
แม้ได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดในบริเวณบ้านของผู้เสียหายและสอบถามหาผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายออกจากห้องครัวมา จำเลยสอบถามเรื่องไก่ของจำเลยที่หายไปและให้ผู้เสียหายดูแลคนงานของผู้เสียหายให้ดี ๆ จนเกิดการโต้เถียงกัน ผู้เสียหายไล่ให้จำเลยออกจากบ้าน จำเลยยังไม่ยอมออก จากนั้นประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยจึงเดินไปที่รถจักรยานยนต์ของจำเลย ขับออกไปจากบ้านผู้เสียหาย แต่เมื่อพิจารณาลักษณะและสภาพที่ตั้งบ้านของผู้เสียหาย เป็นบ้านชั้นเดียว มีเสารั้วปูนปักรั้วล้อมรอบและขึงด้วยลวดหนามเว้นช่องทางเข้าบ้านไว้ ไม่มีประตูกั้น ถนนหน้าบ้านผู้เสียหายไม่ได้หวงกั้น บุคคลใดจะเข้าออกก็ได้และเป็นการสะดวกแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หวงห้ามในการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหาย และที่จำเลยเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องไก่ที่หายไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปเพื่อสอบถามผู้เสียหาย เมื่อเกิดมีการโต้เถียงกันและผู้เสียหายไล่จำเลยออกไป แม้จำเลยยังไม่ออกไปทันที แต่หลังจากนั้นไม่นานเพียงประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยก็เดินไปที่รถจักรยานยนต์แล้วขับออกไปจากบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวนั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิได้เข้าไปได้ไล่ให้ออก อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2556
จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2537 จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจาร 2 กระทงในปี 2549 ดังนั้นจำเลยจึงมีอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 74 แต่ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) ถึง (5) ได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุของจำเลยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยในความผิดฐานดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 75 แล้วลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2556
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 มีเหตุบาดหมางกับจำเลยเกี่ยวกับแย่งผู้หญิงและเคยมีการเจรจาตกลงกัน ในวันเกิดเหตุจำเลยกับพวกมีอาวุธปืนและมีดตามผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปในบ้านเกิดเหตุ เมื่อพบก็เข้าทำร้ายทันที แสดงว่าจำเลยยังขุ่นเคืองผู้เสียหายที่ 2 เกี่ยวกับผู้หญิงและตั้งใจตามหาผู้เสียหายที่ 2 เพื่อทำร้าย มิใช่ว่าพบโดยบังเอิญแล้วเกิดทะเลาะวิวาทและทำร้ายทันทีในขณะนั้น จำเลยจึงมีโอกาสคิดทบทวนล่วงหน้าก่อนจะกระทำความผิด แล้วจำเลยกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านใช้มีดและปืนเป็นอาวุธฟันและยิงผู้เสียหายที่ 2 บ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยได้วางแผนและตระเตรียมการที่จะฆ่าผู้เสียหายที่ 2 มาก่อนแล้ว จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2556
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ได้สูญหายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน ทำให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งจะเป็นความเท็จ เพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าพนักงาน มิได้กล่าวพาดพิงไปถึงโจทก์ อันจะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง สิทธิของโจทก์หากจะพึงมีพึงเป็นอย่างไรในที่ดินแปลงนั้นในฐานะหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็คงมีอยู่ตามเดิมมิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ยังคงมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในฐานะหุ้นส่วนและมีสิทธิว่ากล่าวแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนได้เช่นเดิม โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ จำเลยที่ 1 ฎีกาโดยยกคำฟ้องของโจทก์ขึ้นกล่าวเพียงว่า โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท หลังจากนั้นก็กล่าวอ้างถึง ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ มาตรา 1363 และทางนำสืบของโจทก์เท่านั้น โดยมิได้ฎีกาคัดค้านว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 อย่างไรฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และฐานร่วมกันยักยอกรวมกันมาในข้อเดียวกัน คือ ข้อ ค. โดยมิได้บรรยายฟ้องแยกแยะการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดแจ้งพอที่จะเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้องข้อ ค. ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานยักยอกเป็นสองกรรมเกินจากที่กล่าวในฟ้องหาได้ไม่ ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสองกรรมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6215/2556
จำเลยที่ 1 บอกผู้เสียหายที่ 1 ว่าจะขับรถจักรยานยนต์พาไปส่ง แล้วกลับให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ จ. พวกของจำเลยที่ 1 พาไปพักที่โรงแรม เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เดินออกจากโรงแรม จำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 1 กลับเข้าไปในห้องพักภายในโรงแรมโดยมี จ. ซึ่งไปด้วยรออยู่แล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นเป็นใจกับพวกที่ไปด้วยกัน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกพวกของจำเลยที่ 1 ที่ไปด้วยกันกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แต่ความผิดฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารนั้น จำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาเดียวคือพาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้พวกของตนกระทำชำเรา จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานสนับสนุนผู้อื่นในการกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี หาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์ฟ้องไม่ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ต้องเป็นกรณีที่เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ถ้าเป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำนั้นเอง หรือร่วมกันกระทำเพื่อผู้ใดในบรรดาผู้ร่วมกระทำด้วยกันแล้ว ก็หาเป็นความผิดตามมาตรานี้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 และ จ. กับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อสนองความใคร่ของ จ. ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283 แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2556
การที่จำเลยจับนมผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้อนุญาตยินยอมนั้น เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสองแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่าการจับนมเป็นเพียงวิธีการทำอนาจารผู้เสียหายเท่านั้น ไม่เป็นการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้าย จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2556
อาคารที่พักสายตรวจตำบลดอนมนต์สร้างจากเงินบริจาคของประชาชนบนที่ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมนต์ แม้โจทก์จะร่วมบริจาคเงินในการก่อสร้างด้วย แต่วัตถุประสงค์ที่ก่อสร้างก็เพื่อใช้เป็นที่พักของเจ้าพนักงานตำรวจที่เป็นสายตรวจและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาแจ้งความร้องทุกข์ ย่อมแสดงว่าประชาชนประสงค์ให้ใช้เป็นสถานที่ราชการที่สามารถเข้ามาติดต่อกับเจ้าพนักงานตำรวจได้ ทั้งอาคารดังกล่าวได้ขอเลขที่บ้านโดยระบุว่าเป็นที่ทำการสถานีตำรวจชุมชน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากหัวหน้าสถานีตำรวจชุมชนตำบลดอนมนต์ จึงบ่งชี้ว่าประชาชนที่ร่วมกันก่อสร้างได้มอบอาคารดังกล่าวให้เป็นสถานที่ราชการตำรวจโดยปริยายแล้ว อาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่ที่รโหฐานอันเป็นที่ส่วนตัวของโจทก์ที่จะมีอำนาจจัดการหวงห้ามได้ สำหรับห้องพักที่เกิดเหตุที่โจทก์กั้นเป็นสัดส่วนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่พักสายตรวจตำบลดอนมนต์ นอกจากโจทก์จะใช้เป็นที่พักอาศัยแล้วเจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจอื่นก็สามารถใช้ประโยชน์จากห้องดังกล่าวได้ แม้โจทก์จะเก็บสิ่งของส่วนตัวไว้และใส่กุญแจก็ไม่ใช่ห้องพักส่วนตัวที่โจทก์จะมีสิทธิหวงกันไว้ผู้เดียวได้ ห้องพักที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ที่รโหฐาน ประกอบกับจำเลยเข้าไปในห้องพักที่เกิดเหตุเพื่อค้นหาอาวุธปืนตามที่ผู้ใช้กระทำความผิดแจ้งว่านำมาไว้ในอาคารที่พักสายตรวจดอนมนต์ จึงมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามีสิ่งของที่ได้ใช้หรือมีไว้เป็นความผิดซ่อนไว้ในห้องพักที่เกิดเหตุ เช่นนี้ จำเลยย่อมมีอำนาจค้นห้องพักที่เกิดเหตุได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น หาใช่เป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937 - 4938/2556
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างผู้เสียหายทำงานในตำแหน่งพนักงานอาวุโส ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ประจำลานจอดเครื่องบินและปล่อยเครื่องบิน ไม่มีหน้าที่ขายบัตรโดยสารเครื่องบิน ผู้เสียหายมิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 มีหน้าที่รับและครอบครองเงินค่าโดยสารเครื่องบินที่ได้จากลูกค้าแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับพนักงานขายบัตรโดยสารเครื่องบินที่ผู้เสียหายมอบหมายหน้าที่ให้รับและครอบครองเงินค่าโดยสารเครื่องบินแทนลูกค้าด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 รับเงินค่าโดยสารเครื่องบินที่ลูกค้าซื้อการให้บริการหรือชำระค่ารับจ้างในกิจการของผู้เสียหาย เงินค่าโดยสารเครื่องบินนั้น จึงเป็นของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องนำไปส่งมอบหรือชำระตามวิธีการให้ผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 2 เอาเงินค่าโดยสารเครื่องบินดังกล่าวไว้เป็นของจำเลยที่ 2 เสียเอง จึงเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ไปจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างของผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง มิใช่ความผิดฐานยักยอก 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2556
ขณะเกิดเหตุ ร้านเสริมสวยของผู้เสียหายที่ 1 ยังเปิดให้บริการอยู่ ประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยทั้งสองมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ไม่ถือเป็นเคหสถาน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในร้านดังกล่าวแล้วร่วมกันพยายามกรรโชก และใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน 



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2556
การจะนำโทษตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดมากำหนดโทษใหม่ในคดีที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนให้จำคุกตลอดชีวิต แล้วลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 25 ปี การกำหนดโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงอยู่ในระวางโทษตามบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ถือไม่ได้ว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในเกณฑ์ ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษให้จำเลยทั้งสองใหม่ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2556
แม้ผู้ร้องที่ 1 เคยรับจ้างขนแร่ให้แก่บริษัท จ. มาก่อน และไม่เคยถูกจับกุม แต่ก็มิใช่ว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจะไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ร้องที่ 1 กำชับให้จำเลยตรวจสอบใบอนุญาตให้ถูกต้องแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องที่ 1 ทราบว่าอาจมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นได้ และการกำชับดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการควบคุมเบื้องต้นซึ่งเป็นเรื่องภายในระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องคอยควบคุมดูแลมิให้จำเลยขนแร่โดยไม่มีใบอนุญาตขนแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย การที่ผู้ร้องที่ 1 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องที่ 1 นำรถพ่วงของกลางไปบรรทุกแร่ โดยเป็นผู้ตรวจสอบใบอนุญาตขนแร่เองทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่รู้ว่าใบอนุญาตขนแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีลักษณะอย่างไร ถือได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นอีกด้วย จึงให้ริบรถพ่วงของกลางและยกคำร้องของผู้ร้องที่ 1 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2556
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2 ) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2556 
จำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายและโจทก์ร่วมมาก่อนเกิดเหตุ เนื่องจากพวกของจำเลยตบหน้าผู้ตาย เมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์กลับบ้าน ผู้ตายและโจทก์ร่วมขับรถจักรยานยนต์วนไปมาโดยถือเหล็กแป๊บมาด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยเชื่อว่าผู้ตายและโจทก์ร่วมจะตามมาเอาเรื่องจำเลย เมื่อจำเลยกลับถึงบ้านจึงบอกบิดาจำเลยแล้วนำอาวุธปืนออกมา การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยและบิดาจำเลยเกิดความโกรธที่ผู้ตายและโจทก์ร่วมตามมาเอาเรื่องจำเลยโดยมีอาวุธมาเพื่อใช้ทำร้ายจำเลย จำเลยและบิดาจำเลยจึงได้ตอบโต้โดยตระเตรียมอาวุธปืนเพื่อมายิงต่อสู้กับผู้ตายและโจทกร่วม และเมื่อผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา จำเลยและบิดาจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ตามไปประมาณ 200 เมตร จึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและโจทก์ร่วมที่ด้านหลัง โดยที่ผู้ตายและโจทก์ร่วมมิได้ต่อสู้ด้วย กรณีที่เกิดขึ้นจำเลยและบิดาจำเลยมีโอกาสคิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันทันด่วนไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2556
เมื่อจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม จะอ้างเหตุดังที่จำเลยนำสืบมาบ่ายเบี่ยงหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมโดยที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ทำยอมมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ยุ่งยากแก่การบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอม จึงเป็นการเพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์ที่จำเลยรู้ว่าน่าจะถูกยึดหรืออายัด อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2556
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วนำมาแบ่งกันที่บ้านของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ได้รับทรัพย์ของผู้เสียหายไว้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดฐานรับของโจ แม้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานนี้ แต่กรณีถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องระหว่างการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์กับรับของโจร มิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 4 มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2556
การที่ บ. ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วเรียกจำเลยเข้าไปในห้อง ส่วน บ. ออกจากห้องไปรอที่รถ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา จำเลยก็เรียกให้ บ. เข้าไปช่วยจับหัวไหล่ผู้เสียหายที่ 2 ไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ได้นั้น เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยกับ บ. คบคิดหรือนัดแนะกันมาแต่ต้น ถือว่าได้กระทำชำเราโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กนั้นไม่ยินยอมแล้ว 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2556
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก คือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า (3) ผู้อื่น กล่าวคือ รู้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่า และรู้ด้วยว่า วัตถุแห่งการกระทำคือผู้อื่นนั้นยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งปัญหาว่าจำเลยที่ 1 รู้หรือไม่ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วนั้น โจทก์ไม่ได้ฎีกา และฎีกาโจทก์รับว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลล่างว่าจำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดว่าผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย จะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามความใน ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม