เจาะหลักเตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
กฎหมายอาญา (ภาคทั่วไป) ชุดที่ ๑
๑. มาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง
บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ”
ฎีกาที่ ๘๗๔๓/๒๕๕๔
วินิจฉัยว่า จําเลยปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่า
การตัดต้นไม้หวงห้ามเป็นผิดกฎหมาย มิใช่กระทำผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบ
เพราะมีจิตบกพร่องตามมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่า
กระทำโดยมิได้รู้สํานึกในการที่กระทำ
ข้อสังเกต
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จําเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญานั้น มิใช่
เป็นเพราะมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นเพราะถือได้ว่าจําเลยไม่มีการกระทำ
มาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า ผู้ใด “กระทำความผิด” ในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิต บกพร่อง ฯลฯ ดังนั้น จะอ้างมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง จะต้องมีการกระทำตามมาตรา ๕๙ เสียก่อน
๒. เด็กทารกไร้เดียงสา เด็กทารกไร้เดียงสาอายุยังน้อย ๆ ถ้ากําเศษไม้ไว้ในมือ แล้วพลิกตัวไปข้าง ๆ เศษไม้ไปถูกลูกนัยต์ตาของเด็กอีกคนหนึ่ง ตาบอด
๒.๑ เด็กทารกคนนี้ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา โดยไม่ต้องไปอ้างมาตรา ๗๓ ที่ว่าเด็กอายุยังไม่เกิน ๑๒ ปี ไม่ต้องไปอ้าง เพราะมาตรา ๗๓ เด็กอายุยังไม่เกิน ๑๒ ปี จะยกเว้นโทษ เด็กคนนั้นต้องมี “การกระทำ” เสียก่อนดังนั้น จะใช้มาตรา ๗๓ การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ต้องเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สํานึก กล่าวคือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
๒.๒ แต่การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กทารกไร้เดียงสา
ไม่ถือว่ารู้สํานึก เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้ บังคับของจิตใจ เพราะฉะนั้น
ต้องถือว่าไม่มีการกระทำ เมื่อไม่มีการกระทำ จุดตัดของ ความรับผิดอยู่ที่ มาตรา
๕๙ ไม่ใช่มาตรา ๗๓
๓. คนละเมอ
ฎีกาที่ ๒๕๙๐/๒๕๖๒ “สามีแทง ภรรยาตายขณะสามี ละเมอ” ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ ขณะที่ผู้ตายนอนอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ จําเลยซึ่งเป็นสามีของผู้ตายใช้มีดเป็นอาวุธแทงผู้ตายที่บริเวณหน้าอกขวาและซ้าย ไหปลาร้า มือขวาและซ้าย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยว่า จำเลยแทงผู้ตายโดยรู้สึกนึกในการกระทำหรือไม่ โดย จําเลยฎีกาว่า การกระทำของจําเลยเป็นการนอน ละเมอในช่วงหลับลึก จําเลยไม่รู้สึก ในการที่กระทำความผิด อันจะถือว่าจําเลยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลมิได้ การกระทำของจําเลยจึงขาดเจตนา ไม่เป็นความผิด เมื่อพิจารณาตามคำเบิกความของนายแพทย์ ศ. นายแพทย์ชํานาญการ หัวหน้า กลุ่มงานจิตเวช ประจําโรงพยาบาล ส. ซึ่งเบิกความในฐานะเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญว่า คนทั่วไปแม้ไม่ถึงขั้นจิตเวช แต่ในช่วงนอนหลับสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ไม่รู้สึกตัว ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า สลีปวอร์คเกอร์ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เป็นอาการละเมอ อาการละเมอดังเช่นจําเลยโดยปกติคนทั่วไปสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่จําเป็นได้โดยต้องเป็นผู้ป่วยทางด้านจิตเวชมาก่อน อีกทั้งโจทก์และจําเลยนําสืบตรงกันว่าจําเลยและผู้ตายไม่เคยทะเลาะกัน ยังรักกันดี จึงไม่มีสาเหตุที่จําเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ถึงแม้จําเลย ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิด แต่จําเลยก็นําสืบว่าที่จําเลยฆ่าผู้ตายนั้น จําเลยไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาตามเอกสารหมาย จ.๑๑ จําเลยให้การว่า จําเลยไม่ทราบเรื่องและไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้กระทำการดังกล่าวไปได้ อย่างไร เนื่องจากในวันเกิดเหตุจําเลยเข้านอนหลับพักผ่อนกับผู้ตายและหลายชาย
คดีนี้แม้จําเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิด แต่เนื่องจากเป็นคดีที่กฎหมายกําหนด อัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จําเลยได้กระทำความผิดจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง เมื่อพยานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่า จําเลยกระทำโดยรู้สํานึกในการที่กระทำ การกระทำของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๖ พิพากษาลงโทษจําเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจําเลยฟังขึ้น...พิพากษา กลับให้ยกฟ้อง
https://www.lawsiam.com/?file=lawyer-exam