วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลักฟ้องซ้ำ ( ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148)

ฟ้องซ้ำ (มาตรา 148)

หลัก   1.   คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว   คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทกันมาในคดีก่อนมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้ (เป็นฟ้องซ้ำ)
      1.1.คำว่า ถึงที่สุด คือ
         1.1.1.เมื่อได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นที่สุด
         1.1.2.เมื่อพ้นระยะอุทธรณ์หรือฏีกา หรือขอให้พิจารณาคดีใหม่
      1.2.คำ พิพากษาที่ถึงที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงว่าคดีใดยื่นฟ้องก่อนหลัง เพราะหลักของการฟ้องซ้ำ มิได้ถือเวลาที่ยื่นฟ้องเป็นสำคัญ   แต่ถือคดีถึงที่สุดเมื่อใด

   2.   ฟ้องซ้ำต้องเป็นคู่ความเดียวกันจึงจะต้องห้าม
      2.1.คู่ความเดียวกัน     แม้คดีก่อนเป็นโจทก์  แต่คดีใหม่กลับมาเป็นจำเลยก็ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน
      2.2.คู่ความเดียวกัน รวมถึงผู้สืบสิทธิจากคู่ความเดิม  เช่นสามีภริยา    เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม  ผู้รับโอนทรัพย์
      2.3.แม้ เป็นคู่ความเดิมแต่เข้ามาคนละฐานะ   ก็ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าคู่ความเดิม  เช่น คดีก่อนฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว  คดีใหม่ฟ้องคดีในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม  เช่นนี้ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน

   3.   ได้นำคดีมาฟ้องร้องกันใหม่ในประเด็นเดียวกัน ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน
      3.1.เหตุ อย่างเดียวกัน หมายถึง คำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ฟ้องร้องกันโดย วินิจฉัยอย่างเดียวกับคดีก่อนที่ศาลได้วินิจฉัยมาและต้องเป็นส่วนของเนื้อหา ด้วย  (หากไม่ใช่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ )
      3.2.กรณีศาลได้วินิจฉัยใน ประเด็นแห่งคดี  แต่ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ เพราะศาลมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีนั้นเอง  ดังนั้นจึงนำคดีมาฟ้องใหม่ได้  เช่นดังนี้.-
         3.2.1.ศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทิ้งฟ้อง ( ฏ.1740/2520 )
         3.2.2.ยกฟ้องเพราะเหตุฟ้องคดีเคลือบคลุม ( ฏ.155/2523 )
         3.2.3.ยกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์บกพร่อง ( ฏ.2522/2523 )
         3.2.4.ยกฟ้องเพราะขณะยื่นฟ้องไม่มีอำนาจฟ้อง ( ฏ.666/2530 )
         3.2.5.กรณีโจทก์ถอนฟ้อง ( ฏ.268/2489 )

   4.   ข้อยกเว้นตามกฎหมายที่ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ        มีดังนี้.-
      4.1.การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
         - กรณีบังคับคดีไม่พอชำระหนี้  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอบังคับเอากับทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีก
         - กรณีโต้แย้งว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
      4.2.คำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราว ที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติการณ์
         - การกำหนดวิธีชั่วคราว  คือกำหนดการบังคับคดีเอาไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว   เช่น  ค่าอุปการะเลี้ยงดู
      4.3.ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องใหม่ภายในอายุความ
         -  ได้แก่  ศาลยกฟ้องเพราะผู้ร้องจัดการมรดกยังไม่สามารถจะแบ่งทรัพย์กันๆได้ในชั้นนี้ ศาลชอบที่จะอนุญาตไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมว่าไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมา ฟ้องใหม่
         -  การพิพากษาให้นำคดีมาฟ้องใหม่ได้ตาม ม.148(3)นี้    ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
         -  การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์นำคดีมายื่นฟ้องใหม่ ตาม ม.148(3)   มิใช่การย่นหรือขยายระยะเวลา
      -  คดีเดิมมีการฟ้องร้องกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว  ซึ่งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาก็ถือว่าได้มีคำ วินิจฉัยในประเด็นแล้ว   เมื่อนำคดีมาฟ้องใหม่อีก   จึงเป็นฟ้องซ้ำ  แต่เนื่องจากคดีนี้ปรากฏว่าไม่สามารถปฎิบัติตามคำพิพากษาตามยอมได้    ดังนั้นคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิมจึงตกไป  เท่ากับยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกัน  คดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ฏ.124/2546)

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2546
           คดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ ถือกรรมสิทธิรวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสแล้วทำสัญญาประนี ประนอมยอมความว่าจะนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสินสมรสไปขายให้แก่ผู้ มีชื่อในราคา 2,000,000 บาท ภายใน 1 เดือนแล้วนำเงินมาแบ่งกัน โดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ศาลพิพากษาตามยอมต่อมาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ โดยอ้างว่าผู้ซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อจึงมีการทำข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสกัน ใหม่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามข้อตกลงใหม่เป็นคดีที่ สอง คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแรกเป็นสัญญา มีเงื่อนไขไม่สามารถสำเร็จผล อันมีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปไม่มีผลบังคับส่วนข้อตกลงจัดการสิน สมรสกันใหม่เป็นสัญญาระหว่างสมรส เมื่อคู่สมรสบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสเดียวกับที่ฟ้องคดีแรก ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมในคดีแรกเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นเดียวกับสัญญาประนี ประนอมยอมความ ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าคดีแรกได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้ วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

      -  คดีแรกศาลได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด   ดังนั้นผลของคำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยทั้งสองมิให้โต้เถียง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงไม่มีสิทธิจะยึดรถยนต์ไว้  คดีหลังที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับให้คืนรถยนต์เป็นการฟ้องเพื่อขอให้บังคับตาม สิทธิของตนเอง ซึ่งเกิดจากคำพิพากษาคดีก่อน  คดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ( ฏ.1939/2545 , 2658/2545 )

คำพิพากษาฎีกาที่ 1939/2545 (ป)        ในคดีก่อนศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์คดีนี้ ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีดังกล่าว ให้ยกฟ้องของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ผลของคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดัง กล่าวมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทกับโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้ร้อง สอดในคดีข้างต้นอีก จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะยึดรถยนต์พิพาทไว้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำ พิพากษาฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาฎีกาที่ 7600/2544          คดีก่อน ป. ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาที่ดินที่ค้างชำระ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินร่วมสัญญาร่วมลงทุนกับ ป. โดยมีข้อสัญญาเอาเปรียบ ป. สัญญาดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน จึงขอให้บังคับจำเลยชำระราคาที่ดินที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย
            โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ ป. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ป. โจทก์ในคดีก่อน ถือว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับคดีก่อน
            การที่โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่า ป. และจำเลยแสดงเจตนาลวงทำสัญญาการซื้อขายที่ดินร่วมสัญญาร่วมลงทุนโดยไม่มี เจตนาที่จะผูกพันกันตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนสัญญาการซื้อขายที่ดินร่วมสัญญาร่วมลงทุน แม้จะเป็นการเบียงเบนข้อเท็จจริงที่ ป. ฟ้องคดีก่อน แต่ศาลก็ต้องวินิจฉัยคดีนี้อีกว่า สัญญาการซื้อขายร่วมสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง ป. กับจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ. มาตรา 148

      -  ความเสียหายที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีหลังนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภาย หลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว   คำขอบังคับจำเลยทั้งสองตามฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงต่างกับคำขอให้บังคับจำเลย ทั้งสองของโจทก์ในคดีก่อน  และมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียว กัน  ดังนั้นฟ้องโจทก์ในคดีที่สองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก ( ฏ.456/2545 , 1584/2545 , 457/2545 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น