วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สรุปเนติ วิชา สัมนากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งครั้งที่1 อาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ 22 พ.ย. 2560

สรุปคำบรรยานเนติ วิชาสัมนากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ครั้งที่1 
อาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ 22 พ.ย. 2560
-----------------------

การเสนอคดีต่อศาลทำได้ 2 วิธี
วิธีแรก เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิ
หรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง
=> ให้เสนอเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำฟ้องยื่นต่อศาล
ตาม ม.55 และ ม.172
=> คดีแพ่งที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลตามวิธีแรกนี้
เรียกว่า คดีมีข้อพิพาท คือ คดีที่มีโจทก์ - จำเลย
=> บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง เรียกว่า โจทก์
บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาล เรียกว่า จำเลย
*ฎีกาที่อาจารย์กล่าวถึง
ฎีกาที่ 167/2560 , ฎีกาที่ 2747/2560 , ฎีกาที่ 3356/2560
วิธีที่สอง บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล
=> ให้เสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอ
ตาม ม.55 ประกอบกับ ม.188(1)
ซึ่งคำร้องขอ ถือเป็นคำฟ้องตาม ม.1(3)
=> คดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลตามวิธีที่สอง
เรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท คือ คดีที่ไม่ได้ฟ้องบุคคลใดเป็นจำเลย
=> บุคคลผู้ยื่นคำร้องขอ เรียกว่า ผู้ร้อง
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. ม.55
ต้องพิจารณาจากกำหมายสารบัญญัติ
ว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องมาร้องขอต่อศาล
เพื่อรับรอง หรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่จึงจะใช้สิทธิทางศาลได้
เช่น
การร้องขอให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. ม.28
การร้องขอให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. ม.32
การร้องขอให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ ตาม ป.พ.พ. ม.61
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. ม.1713
การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตาม ป.พ.พ. ม.1382
*ฎีกาที่อาจารย์กล่าวถึง
ฎีกาที่ 6536/2544 , ฎีกาที่ 4530/2541 , ฎีกาที่ 1816/2547 ,
ฎีกาที่ 4888/2548 , ฎีกาที่ 6592/2548 , ฎีกาที่ 4764/2557
คดีมีข้อพิพาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรก คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์
อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือที่เรียกว่า คดีมีทุนทรัพย์
เช่น ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้
ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด เป็นต้น
ประเภทที่สอง คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์
อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือที่เรียกว่า คดีไม่มีทุนทรัพย์
เช่น ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอม หรือทางจำเป็น
คดีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. ม.237
คดีฟ้องขอให้คืนเช็ค หรือโฉนดที่ดิน
คดีทั้งสองประเภทนี้ มีข้อแตกต่างในทางกฎหมายที่สำคัญ คือ
1.ค่าขึ้นศาล
คดีมีทุนทรัพย์ => โจทก์เป็นผู้ชำระค่าขึ้นศาลเมื่อยื่นคำฟ้อง
กล่าวคือ ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล
ตามจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท
ดังนี้ ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาลร้อยละ 2
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป เสียค่าขึ้นศาลร้อยละ 0.1
คดีไม่มีทุนทรัพย์ => ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
ตามป.วิ.พ. ม.149 , 150 และตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ.
ข้อยกเว้น ในคดีมโนสาเร่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ.
แต่ค่าขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 บาท ตาม ม.190 จัตวา
คู่ความซึ่งไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้นั้น
อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ในการฟ้อง หรือต่อสู้คดีได้ตาม ม.155
2.สิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ => ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
ไม่เกิน 50,000 บาท ตาม ม.224
คดีไม่มีทุนทรัพย์ => ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
เว้นแต่ จะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ประเภทฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ
ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้
ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ม.224 ว.2
3.คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
เป็นคดีมโนสาเร่
ป.วิ.พ. ม.189 คดีมโนสาเร่ คือ
(1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์
อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท
4.อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง
ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง
ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้อง
ไม่เกิน 300,000 บาท หรือคดีมีทุนทรัพย์เท่านั้น
คดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.17 ประกอบ ม.25(5)
5.อัตราค่าทนายความขั้นสูง (ตาราง 6) ท้ายป.วิ.พ.
อัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้น
คดีมีทุนทรัพย์ => ร้อยละ 5
คดีไม่มีทุนทรัพย์ => 30,000 บาท
อัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
คดีมีทุนทรัพย์ => ร้อยละ 3
คดีไม่มีทุนทรัพย์ => 20,000 บาท
ลำดับขั้นตอนวิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น
คดีมีข้อพิพาท
1.โจทก์เสนอข้อหาโดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
(ป.วิ.พ. ม.170 ว.1 , 172 ว.1)
เสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจ
(ป.วิ.พ. ม.4(1) ,4ทวิ ,4ตรี, 5)
โจทก์ต้องชำระค่าขึ้นศาลเมื่อยื่นคำฟ้อง
(ป.วิ.พ. ม.149 ว.2 , 150 ว.1 และตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ.)
ถ้าโจทก์ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาล
อาจยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
และแนบเอกสารต่างๆ ตามที่กม.ต้องการ
(ป.วิ.พ. ม.155 , 156 , 156/1)
2.ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันยื่นฟ้อง
ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีให้แก่จำเลย
(ป.วิ.พ. ม.173 ว.1)
โดยโจทก์มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่ง
ส่วนการนำส่งนั้น โจทก์จะนำส่งหรือไม่ก็ได้
เว้นแต่ว่าศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่ง
(ป.วิ.พ. ม.70 ว.2)
มิฉะนั้นให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้
(ป.วิ.พ. ม.174(1) , 132(1) )
ในกรณีที่มีการทิ้งฟ้อง
ศาลมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลได้บางส่วนตามที่เห็นสมควร
(ป.วิ.พ. ม.151 ว.3)
แต่โจทก์อาจยื่นฟ้องใหม่ได้
ภายในกำหนดอายุความ
(ป.วิ.พ. ม.176)
3.เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้แก่จำเลยแล้ว
ให้จำเลยทำคำให้การยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน
(ป.วิ.พ. ม.177 ว.1)
คำให้การนั้น ให้ฝ่ายที่ให้การนำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมด้วยสำเนา
สำหรับให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นๆ รับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล
(ป.วิ.พ. ม.71 ว.1)
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้
(ป.วิ.พ. ม.177 ว.3 , 179 ว.ท้าย)
ถ้าจำเลยฟ้องแย้งรวมมาในคำให้การ
ให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้ง
ยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน
นับแต่วันที่ได้ส่งคำให้การถึงโจทก์
(ป.วิ.พ. ม.178)
ถ้าจำเลยมิได้ยื่นคำให้การ หรือ
โจทก์มิได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง
ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกม.
ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ หรือ
โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง
(ป.วิ.พ. ม.197 , 199ฉ )
ให้โจทก์มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน
นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง
เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด
ให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในระยะเวลาดังกล่าว
ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
(ป.วิ.พ. ม.198 ว.1 และ ว.2)
4.ศาลทำการชี้สองสถาน หมายถึง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท
กำหนดภาระการพิสูจน์ หรือหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริง
และกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบก่อนหรือหลัง
(ป.วิ.พ. ม.182 ,183)
ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน
ศาลจะกำหนดวันสืบพยาน
ซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 วัน
นับแต่วันชี้สองสถาน
ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน
ให้ศาลออกหมายกำหนดวันสืบพยาน
ส่งให้แก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วัน
(ป.วิ.พ. ม.184)
5.ให้สืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาท
(ป.วิ.พ. ม.84 , 185)
6.การมีคำพิพากษา
(ป.วิ.พ. ม.131(2) , 133)
7.ศาลออกคำบังคับ
ถ้าศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด
ซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ให้ศาลออกคำบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือ
ถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
(ป.วิ.พ. ม.140(3) )
และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบคำบังคับแล้วในวันนั้น
(ป.วิ.พ. ม.272 , 273)
แต่กรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องและสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ
หรือศาลพิพากษาตามยอมซึ่งคู่ความไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดต่อกัน
และค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ก็ไม่ต้องออกคำบังคับ
8.การขอบังคับคดี
เมื่อระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้
เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้ว
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดี
ให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้บังคับคดี
(ป.วิ.พ. ม.275 , 276)
9.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีได้ภายใน 10 ปี
นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั้ง
(ป.วิ.พ. ม.274)
คดีแพ่งประเภทต่างๆ
(ก) คดีมโนสาเร่
(ป.วิ.พ. ม.189 , 190 ทวิ)
(ข) คดีสามัญ คดีประเภทอื่นๆ นอกจากคดีมโนสาเร่
(ป.วิ.พ. ม.192 ,196)
(ค) คดีไม่มีข้อยุ่งยาก หมายถึง
คดีสามัญซึ่งมีลักษณะตาม ป.วิ.พ. ม.196

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น