วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เก็ง มาตรา กฎหมายรัฐธรรมนูญ (สอบผู้ช่วยผู้พากษา สนามใหญ่) 4 มี.ค 2566

 เก็ง มาตรา กฎหมายรัฐธรรมนูญ 

(สอบผู้ช่วยผู้พากษา สนามใหญ่) 4 มี.ค 2566

https://www.lawsiam.com/?name=Judge-Exam&file=filedetail&max=858

เก็ง กฎหมายรัฐธรรมนูญ (สอบผู้ช่วยผู้พากษา สนามใหญ่) 4 มี.ค 2566 ชุดที่2

 เก็ง กฎหมายรัฐธรรมนูญ

 (สอบผู้ช่วยผู้พากษา สนามใหญ่) 4 มี.ค 2566 ชุดที่2

https://www.lawsiam.com/?name=Judge-Exam&file=filedetail&max=861


เก็งกลุ่มมาตรา วิแพ่ง ข้อ 10 เตรียมสอบผู้พิพากษา สนามใหญ่ 11 มีนาคม 66

 เก็งกลุ่มมาตรา วิแพ่ง ข้อ 10

 เตรียมสอบผู้พิพากษา สนามใหญ่ 11 มีนาคม 66

https://www.lawsiam.com/?name=Judge-Exam&file=filedetail&max=864


เก็ง กลุ่มมาตรา กฎหมายแรงงาน เตรียมสอบผู้พิพากษา สนามใหญ่ 4 มีนาคม 66 ชุดที่1

 เก็ง กลุ่มมาตรา กฎหมายแรงงาน

เตรียมสอบ ผู้ช่วยพิพากษา สนามใหญ่ 4 มีนาคม 66 ชุดที่1

 

 

https://www.lawsiam.com/?name=Judge-Exam&file=filedetail&max=869

 

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“หญิง” กับ “หญิง” ไม่ใช่ “สามีภริยา” ตามความหมายของมาตรา ๗๑ วรรคแรก

 

       หญิง” กับ “หญิง” ไม่ใช่ “สามีภริยา” ตามความหมายของมาตรา ๗๑ วรรคแรก

        ฎีกาที่ ๒๘๘๗/๒๕๖๓ โจทก์ร่วมมิได้มอบการครอบครองทรัพย์ให้จําเลย ครอบครองแทนทั้งยังกําชับมิให้จําเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ร่วม การที่จําเลยเอาทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปจํานําและนําเงินที่ได้จากการจํานําไปเป็นของตน จึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานหลักทรัพย์มิใช่ความผิดฐานยักยอก

        โจทก์ร่วมและจําเลยจดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ๒๕๕๗ แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๕๙ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า “การสมรสในต่างประเทศ ระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทําตามแบบที่กําหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้” และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การสมรสซึ่งได้ทําถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ทําการสมรสนั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์” ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี มาตรา ๑๙ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติว่า “เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย” เมื่อจําเลย และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีสัญชาติไทย ดังนั้น ในการพิจารณาถึงความสมบูรณ์แห่งการสมรส ระหว่างจําเลยและโจทก์ร่วมจึงต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ หมวด ๒ เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรสประกอบด้วย เมื่อมาตรา ๑๔๔๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะทําได้ ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว” แสดงว่าการสมรสจะสมบูรณ์ต่อเมื่อคู่สมรสเป็นชายและหญิง เมื่อจําเลยและโจทก์ร่วมต่างก็เป็นหญิง การสมรสระหว่างจําเลยและโจทก์ร่วมจึงไม่ต้องด้วยเงื่อนไขของการสมรสตามกฎหมายไทย จําเลยและโจทก์ร่วมไม่มีสถานะเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยเหตุยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา ๗๑



อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

ข้อแตกต่างระหว่างการกระทําโดยป้องกันและการกระทําโดยจําเป็น

 

ข้อแตกต่างระหว่างการกระทําโดยป้องกันและการกระทําโดยจําเป็น

        ๑. การกระทําโดยป้องกัน กฎหมายถือว่า ผู้กระทําไม่มีความผิด ส่วนการกระทําโดยจําเป็น ผู้กระทํามีความผิดแต่กฎหมายยกเว้นโทษ

        ๒. หากภยันตราย เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย หากมี กระทําต่อผู้ก่อภัย ถือเป็นการกระทําโดยป้องกัน หากกระทําต่อบุคคลที่สาม ถือ เป็นการกระทําโดยจําเป็น

การกระทําโดยจําเป็น เป็นการกระทําต่อบุคคลที่สาม ซึ่ง ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

 

การกระทําโดยจําเป็น เป็นการกระทําต่อบุคคลที่สาม ซึ่ง ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

        ฎีกาที่ ๓๐๗/๒๔๘๙ วินิจฉัยว่า กรณีดังต่อไปนี้เป็นการกระทําโดยจําเป็น เกินสมควรแก่เหตุ จําเลยไปช่วยงานแต่งงาน และมีคนไล่ ทําร้ายจําเลย จําเลย วิ่งหนีจะไปทางห้องที่พวกเจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่ มีคนกั้นไม่ให้จําเลยเข้าไป จําเลยใช้ มีดแทงเขาตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นการกระทําโดยจําเป็น แต่เกินสมควรแก่เหตุ

ข้อสังเกต

        ๑. จําเลยถูกฟ้องในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา แสดงว่าจําเลยมีเจตนาทําร้าย ทําร้ายกับทําร้าย ถือว่า “เป็นสัดส่วน” จึงเกินสมควรแก่เหตุ ตามมาตรา ๖๗ (๒) เพราะมีคนวิ่งไล่จะทําร้ายจําเลย

        สรุป คือ มีคนจะกระทําความผิดมาตรา ๒๙๕ ต่อจําเลยจําเลยไปกระทําความตามมาตรา ๒๙๕ ต่อบุคคลที่สามที่ยืนกั้นหน้าห้อง เพื่อให้จําเลยพ้นภยันตราย อย่างนี้เป็นสัดส่วน เพราะคนที่กั้นอยู่หน้าห้อง เป็นบุคคลที่สาม ไม่ใช่ผู้ก่อภัย

        ๒. แต่ถ้าจําเลยไม่กลัวคนร้าย จําเลยใช้มีดแทงคนร้ายบาดเจ็บ ถือว่า เป็นการ “ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ” เพราะได้ “สัดส่วน” เนื่องจากคนร้ายคือ “ผู้ก่อภัย”

        แม้คนร้ายจะล้มลงหัวฟาดพื้นตาย*** ก็เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุเช่นกัน ตามหลักในเรื่อง “สัดส่วน” ของการ “ป้องกัน” (เทียบฎีกาที่ ๑๐๔๙๗/๒๕๕๓)



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

หลัก จะอ้างจําเป็นตาม ป.อ มาตรา ๖๗ (๒) ได้ ผู้กระทําจะต้อง...

 

 ผู้กระทําได้กระทําไป เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย

        หลัก จะอ้างจําเป็นตามมาตรา ๖๗ (๒) ได้ ผู้กระทําจะต้อง...

        ๑. มีเจตนาธรรมดา คือ “ประสงค์ต่อผล” หรือ “เล็งเห็นผล” หรือ “เจตนาโดยพลาด” และ

        ๒. กระทําโดยมีมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษ “เพื่อให้พ้นภยันตราย”

        หลักข้อ ๑. ข้างต้นที่ว่า ต้องมีเจตนาธรรมดา (คือ “ประสงค์ต่อผล” หรือ “เล็งเห็นผล”)

        มีฎีกาบรรทัดฐาน คือ ฎีกาที่ ๗๒๒๗/๒๕๕๓ คําเบิกความและคําให้การชั้นสอบสวนของจําเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนปืนออกจากลูกโม่แล้วมาจ่อยิงที่ศีรษะตนเองหรือผู้อื่นเพื่อล้อเล่น ในวันเกิดเหตุก่อนเกิดเหตุผู้ตายก็เอาอาวุธปืนมาเล่นอีก แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะ ตนเองแล้วจําเลยเข้าแย่งเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราจน ไม่ได้สติแต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจําเลยรู้หรือไม่ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืน หรือไม่ ดังนั้น การที่จําเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าจําเลยกระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และ จําเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทําโดย ประมาทตาม ป.อ. มาตรา ๕๙ วรรคสี่ การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทําความผิดด้วย ความจําเป็นได้นั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทําผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จําเลยกระทําความผิดโดยประมาท จึงมิใช่เป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็น

        ข้อสังเกต

        ๑. คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจําเลยตามมาตรา ๒๙๑ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ยกฟ้องโจทก์ไม่ลงโทษจําเลย โดยเห็นว่าเป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็นตาม มาตรา ๖๗ (๒) เพื่อให้ผู้ตาย “พ้นภยันตราย” แต่ศาลฎีกาพิพากษากลับลงโทษจําเลย โดยให้เหตุผลว่าเพราะจําเลย “ประมาท” จึงอ้าง “จําเป็น” ไม่ได้

        ๒. ข้อเท็จจริง เช่นนี้ ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าตาม “พฤติการณ์” เช่นนั้น จําเลย “ประมาท” ตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ หรือไม่

 

        หลักข้อ ๒. จะอ้างจําเป็นตามมาตรา ๖๗ (๒) ได้ ต้องกระทําไปโดยมี “เจตนาพิเศษ” “เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย”



อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตร 59-106 (อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์) สมัยที่74

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ขยายความให้คำฟ้องชัดขึ้น คลาดเคลื่อนบ้าง ผิดฐานฟ้องเท็จหรือไม่?

 

การขยายความให้คำฟ้องชัดขึ้น แม้จะคลาดเคลื่อนไปบ้าง ก็ไม่ใช่ ข้อสําคัญในคดี

      ฎีกาที่ ๙๗๕/๒๕๓๐ ข้อความตอนที่สองที่อธิบายให้เห็นข้อความในการหมิ่นประมาทว่าเป็นอย่างไร เป็นการทําให้คำฟ้องชัดขึ้นอธิบายให้ชัดขึ้นแม้จะคลาดเคลื่อนไปบ้างก็ไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จ



อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ฟ้องเท็จ หรือ เบิกความเท็จ?

 

ระบุว่าบุคคลใดเอาเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ไม่ใช่องค์ประกอบ ความผิด

        ฎีกาที่ ๑๔๖๐/๒๕๒๒ (ออกข้อสอบผู้ช่วยฯ*)  การที่โจทก์หรือจําเลยผู้ใดเอาเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชี เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบของการกระทําผิดที่จําเลยฟ้อง ดังนั้น การที่จําเลยกล่าวในฟ้องว่าจําเลยนําเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค แม้จะไม่เป็นความจริงก็ไม่ใช่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ แต่ในข้อหาเบิกความเท็จนั้น ในเรื่องว่า ผู้ใดนําเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คย่อมเป็นข้อสาระสําคัญของคดี เพราะผู้นําเช็คเข้าบัญชีย่อมเป็นผู้ทรง เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค ผู้นั้นย่อมเป็นผู้เสียหายมีอํานาจฟ้องผู้ออกเช็คได้ ฉะนั้น เมื่อจําเลยเบิกความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้นําเช็ค ไปเข้าบัญชีซึ่งความจริงจําเลยขายลดเช็คไปแล้ว จําเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่ไม่ผิดฐานฟ้องเท็จ  


 

อ้างอิง : กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74