วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ9 วิแพ่ง ฟื้นฟูกิจการ (ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ9 วิแพ่ง

ฟื้นฟูกิจการ

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน

เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่ได้ กฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องเฉพาะลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ดังนั้น หากลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ร่วมกับบุคคลอื่น หรือมีผู้ค้ำประกันอยู่ด้วย ผลของสภาวะพักการชำระหนี้มีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ เท่านั้น เช่นนี้ หากมีการฟ้องลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันในคดีแพ่งไว้ก่อนแล้ว เฉพาะคดีส่วนของลูกหนี้เท่านั้นที่ตกอยู่ภายใต้สภาวะพักการชำระหนี้ คดีส่วนของผู้ค้ำประกันหรือลูกหนี้ร่วมศาลดำเนินคดีต่อไปได้ (เน้น**) และลูกหนี้ในที่นี้หมายถึง ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๐๓/๒๕๔๕ แม้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ ๑ แต่ จำเลยที่ ๑ เป็นผู้ยื่นคำร้องขอที่ฟื้นฟูกิจการแต่ผู้เดียว จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๑๒ (๔) เช่นเดียวกับจำเลยที่ ๑ เพราะจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ไม่ได้อยู่ในฐานะลูกหนี้ในคดีที่ฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ต่อไปได้
ข้อสังเกต คำพิพากษาฎีกานี้เคยนำไปออกข้อสอบเนติ บัณฑิต สมัยที่ ๖๑ 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ผู้ช่วยผู้พิพากษา 2 มิถุนายน 2555)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ10 วิแพ่ง

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


อุทาหรณ์

เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดระยอง ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่ง เป็นทายาทโดยธรรม คนละ ๑ ส่วน รวม ๔ ส่วน ใน ๕ ส่วน คิดเป็นเงิน ๔๐ห๐,๐๐๐ บาท นายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยองแต่ผู้เดียวนั่งพิจารณาคดีนี้จนเสร็จการสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหจำเลย จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษาไว้แล้ว แต่นายเที่ยงถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะทำคำพิพากษา นายธรรมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระยองจึงมอบหมายให้นายเดชผู้พิพากษาอาวุโสศาลจังหวัดระยองเป็นผู้ทำคำพิพากษาคดีนี้แทนนายเที่ยง นายเดชตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าคดีของโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความ จึงลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาโดยพิพากษายกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณา ตลอดจนการทำคำพิพากษาคดีนี้ ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนละ ๑ ส่วน รวม ๔ ส่วนใน ๕ ส่วน คิดเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท เช่นนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์ แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวของตน เมื่อที่ดิน ๔ ส่วนที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมาคิดเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ที่ดินแต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ย่อมเป็นคดีที่ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๔) (นัย ฎ.๕๙๗๑/๒๕๔๔ ประชุมใหญ่) การที่นายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยองแต่ผู้เดียวนั่งพิจารณาคดีนี้จนเสร็จการสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๔) คำสั่งงดสืบพยานจำเลยของนายเที่ยงผู้พิพากษาศาลจังหวัดระยอง เป็นการออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ (๒)
ดังนั้นการที่นายเที่ยงเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานจำเลย จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยย่อมชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเช่นกัน การที่นายเที่ยงถึงแก่ความตายก่อนทำคำพิพากษา เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา ๓๐ ทำให้นายเที่ยงผู้พิพากษาคนเดียวซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้และเหตุจำเป็นเช่นว่านี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๙ (๓) กำหนดให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาได้ ดังนั้น การที่นายธรรมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดระยองมอบหมายให้นายเดชผู้พิพากษาอาวุโสของศาลจังหวัดระยองเป็นผู้ตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๙ (๓) (ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ๒ มิถุนายน ๒๕๔๕) 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


ข้อ10 วิแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม (อุทาหรณ์)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ10 วิแพ่ง

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


อุทาหรณ์

(๑) โจทก์ฟ้องว่า เทศบาลจำเลยออกประกาศสอบราคาเครื่องปั้มน้ำ โจทก์ เสนอราคาตามประกาศและเป็นผู้สอบราคาได้ จำเลยเรียกโจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขาย เครื่องปั้มน้ำ ต่อมาจำเลยได้รับเครื่องปั้มน้ำแล้ว แต่ไม่ยอมตรวจรับสินค้าอ้างว่าเป็น ของเก่าและบอกเลิกสัญญา ขอให้จำเลยตรวจรับและชำระราคา จำเลยให้การว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค โจทก์ ผิดสัญญาฝ่ายเดียว อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขาย ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสั่งงดสืบพยาน แล้ววินิจฉัยข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลปกครอง พิพากษายกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คำตอบ
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งเรื่องคดีอยู่ในอำนาจศาลปกครองไว้ในคำให้การ ไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครอง ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว (ฎ.๗๙๕๑/๒๕๕๑) 



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.อนันต์ฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข้อ2 วิแพ่ง เนติฯ ประเด็น ยกฟ้องแย้งในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งได้ หรือไม่?


ข้อ2 วิแพ่ง

วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค1

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



กรณีจำเลยฟ้องแย้ง ซึ่งหากฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามมาตรา ๑๗๗ วรรคสาม และ ๑๗๙ วรรคท้าย ศาลชั้นต้นจะไม่รับฟ้องแย้ง หากฟ้องแย้งนั้นเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งจำเลยไม่มีทางชนะคดีตามฟ้องแย้งได้ ศาลก็สามารถพิพากษายกฟ้องแย้งในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งได้เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องไม่รับฟ้องแย้ง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๘๓/๒๕๓๘ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์ เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า แต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่ง แต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะเพราะขัดต่อมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด ๓ ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดและให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ ๓ ปี ตลอดไปนั้น เป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้ง ศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้ง
ส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๑ (๒)


หมายเหตุ เรื่องนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินมีกำหนด ๓ ปี 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 อ.อำนาจฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ข้อ2 วิแพ่ง เนติฯ : ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หรือไม่?


สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ2 วิแพ่ง

วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค1

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



ข้อห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา ๑๔๔ เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามทั้งศาลและคู่ความ (ฎีกาที่ ๖๔๖/๒๕๕๖) มิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นข้อใดแห่งคดีที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๖/๒๕๕๖ คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามสัญญาขายสินทรัพย์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง และต้องถือว่าศาลนั้นได้วินิจฉัยสิทธิของจำเลยตามสัญญาขายสินทรัพย์อันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยกระทำละเมิด ต่อโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาขายสินทรัพย์ โดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าสัญญาขายสินทรัพย์เป็นโมฆะซึ่งข้ออ้างต่าง ๆ ล้วนเป็นข้ออ้างที่โจทก์สามารถยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้ในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ซึ่งหากฟังได้ตามอ้างโจทก์ก็อาจไม่ต้องรับผิด ชำระหนี้ให้แก่จำเลย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์นำประเด็นแห่งคดีที่ศาลได้วินิจฉัยแล้ว ในคดีก่อนมากล่าวอ้างให้ศาลในคดีนี้วินิจฉัยซ้ำอีก ต้องห้ามตามมาตรา ๑๔๔ และ บทบัญญัตินี้มิใช่ห้ามเฉพาะคู่ความ แต่รวมทั้งห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวน พิจารณาด้วย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ว่าคำพิพากษาในคดีก่อหนผูกพัน โจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว แต่ที่วินิจฉัยว่าสัญญาขายสินทรัพย์ตามฟ้องไม่เป็นโมฆะ จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แล้วพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนเป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีซึ่งมิการวินิจฉัยไปแล้วเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ชอบด้วยกฎหมาย


สรุป ตามฎีกานี้ คดีนี้จำเลยในคดีก่อนมาเป็นโจทก์คดีนี้ฟ้องกล่าวหาโจทก์คดีก่อนกระทำละเมิด สภาพแห่งคำฟ้องต่างกับคดีก่อน ที่จำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาขายสินทรัพย์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ และคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันคู่ความ คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 อ.สมชัยฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

พิพากษาหรือมีคำสั่ง เกินคำขอ ได้หรือไม่?

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ2 วิแพ่ง ภาค1 เนติฯ

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องอย่างไร ศาลจะต้องทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ ไปตามคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา นั้นเท่านั้น ซึ่งก็คือ การห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอตามคำฟ้องของโจทก์

หลักการ การที่ศาลจะพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ ตามมาตรา ๑๔๒ โจทก์จะต้องบรรยายมาเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและมีคำขอมาในคำฟ้อง เพียงแต่บรรยายความเสียหายมาแต่ไม่มีคำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย (ฎีกาที่ ๙๕๔/๒๕๔๘) หรือ มีคำขอบังคับมาแต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักข้อหาตามคำขอบังคับมาในฟ้อง (ฎีกาที่ ๓๕๔๑/๒๕๔๘) ศาลก็พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ไม่ได้ เพราะเกินคำขอ




อ้างอิง คำบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 อ.สมชัยฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


ประเด็น ฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หรือไม่?

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ2 วิแพ่ง ภาค1 เนติฯ

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



ประเด็นสำคัญ** หากในคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและหรือทางจำเป็น แต่คดีก่อนไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อหาหนึ่งข้อหาใด คู่ความก็มีสิทธินำข้อหาที่มิได้วินิจฉัยนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่ว่าจะในเรื่องฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ (ฎีกาที่ ๑๖๙๕/๒๕๕๙)


คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๙๕/๒๕๕๙ คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและหรือทางภาระจำยอม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ทางพิพาทอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกัน แต่โจทก์ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องอุทธรณ์ต่อไปอีก เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว แม้จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยเฉพาะประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ โดยไม่รับวินิจฉัยประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น หรือไม่ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ามาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง (เดิม) และที่ศาลฎีกาวินิจฉัยในคดีก่อนว่า เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการกล่าวถึงเหตุผลตามกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ไม่มีอำนาจยกปัญหาเรื่องทางจำเป็นขึ้นวินิจฉัย กรณีถือไม่ได้ว่าคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่แล้ว และไม่มีคำพิพากษาในประเด็นดังกล่าวที่จะผูกพันโจทก์ตามมาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้เปิดทางจำเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา ๑๔๘ 


อ้างอิง คำบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 อ.สมชัยฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


ข้อ2 วิแพ่ง ภาค1 เนติฯ (ประเด็น : นอกฟ้อง นอกประเด็น หรือไม่?)


สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ2 วิแพ่ง ภาค1 เนติฯ

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๖๐/๒๕๕๓ โจทก์ที่ ๑ ฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแต่ไม่เป็นภาระจำยอมแม้โจทก์ที่ ๑ มิได้อุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ภาค ๑ เห็นว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางจำเป็น เพราะที่ดินและบ้านของโจทก์ที่ ๑ อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการนอกฟ้อง นอกประเด็น

สรุป ตามฎีกานี้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยทั้งสองข้อหาว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแต่ไม่เป็นภาระจำยอม แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาทางพิพาทว่า เป็นทางภาระจำยอม หรือไม่ ก็ยังไม่ยุติเพราะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกับทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางภาระจำยอมได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น



อ้างอิง คำบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 อ.สมชัยฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ขอบเขต วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย (English for Lawyers) เนติฯ ภาค2 สมัยที่72

ขอบเขต วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

 (English for Lawyers) เนติฯ ภาค2 สมัยที่72




ตารางสอน เนติ ภาค2 สมัยที่72 (ภาคปกติ/ค่ำ)

ตารางสอน เนติ ภาค2 สมัยที่72 (ภาคปกติ/ค่ำ)