วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เจาะหลัก* สัมมนาวิ.อาญา อ.อรรถพล ใหญ่สว่าง (ภาคปกติ) 25 พ.ย 62 สมัยที่72

สัมมนาวิ.อาญา  สมัยที่72

 อ.อรรถพล ใหญ่สว่าง (ภาคปกติ) 25 พ.ย 62 

---------------------------





คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 1592/2556 กลับหลักคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 132/2553 และคำพิพากษาที่ 8537/2553


ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ถูกทำร้ายถึงตายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5(2) ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเเล้วตายลง ผู้มีอำนาจจัดการเเทนผู้เสียหายที่อยู่ในฐานะเดียวกันจะเข้าสืบสิทธิดำเนินคดีต่อไปได้ หรือไม่

คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 1592/2556 โจทก์ร่วมที่ 1 บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท. ผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมที่ 1 และเป็นมารดาของ ท. ผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดี คือว่าผู้ร้องประสงค์ขอใช้สิทธิของตนที่มีอยู่เดิมตั้งแต่แรกในฐานะผู้มีอำนาจจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5 (2) เพื่อสืบสิทธิดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมที่ 1 ในชั้นฎีกาศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ร่วมที่ 1 แทนโจทก์ร่วมได้ กับให้รับคำแก่ฎีกาไว้พิจารณา

คำสั่ง วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

พิเคราะห์แล้วเห็นว่านางสำเภา ศรีวธาหรือพรมมา ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโสภณ พรมมา โจทก์ร่วมที่ 1 และเป็นบุพการีของนายสุทธิพงษ์ พรมมผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย จึงอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับ โจทก์ร่วมที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงแก่ความตาย การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีนี้ ถือได้ว่าประสงค์ขอใช้สิทธิของตนที่มีอยู่เดิมตั้งแต่แรกในฐานะผู้มีอำนาจจัดการแทนด้วยอีกคนหนึ่งเช่นเดียวกับโจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อสืบสิทธิดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมที่ 1 ในชั้นฎีกาจึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าร่วมดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ร่วมที่ 1 แทน นายโสภณ พรมมา ได้ตามขอกับให้รับคำแก่ฎีกาฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2556 ของโจทก์ร่วมที่ 1 ไว้พิจารณาต่อไป

หมายเหตุ กลับหลักคำสั่งคำร้องที่ 132/2553 และคำพิพากษาฎีกาที่ 8537/2553



           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553 (ถูกกลับหลัก) นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. เป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตายและโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปด้วยความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วน



 -----------------------------

 แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 (กลุ่ม วิ.แพ่ง-วิ.อาญา) อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งรายข้อ ท่องพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียดที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ฎีกาเด่น* สัมมนาวิ.อาญา อ.อรรถพล ใหญ่สว่าง (ภาคปกติ) 25 พ.ย 62 สมัยที่72




คำพิพากษาฎีกา วิชา สัมมนาวิ.อาญา สมัยที่72 

อ.อรรถพล ใหญ่สว่าง (ภาคปกติ) 25 พ.ย 62








คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543  โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ทั้งทางแพ่งและ ทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีนี้โดยฟ้องจำเลย ทั้งสามเป็นคดีอาญาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในการดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ซึ่งให้นำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนี้ ในการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้นนอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 แล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ด้วย
พยานหลักฐานของโจทก์เองแสดงให้เห็นว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจาก วันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้ว โดยเป็นการทำซ้ำเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้น ให้แก่ ส. ตามที่ ส. ได้ล่อซื้อนั่นเอง มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ ดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าการที่มีผู้กระทำผิด ด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2551 สิบตำรวจตรี ส. ขอซื้อยาลดความอ้วนซึ่งมีส่วนผสมของเฟนเตอมีนจากจำเลย จำเลยบอกว่าไม่มีและที่ร้านของจำเลยไม่ได้ขายลดความอ้วนดังกล่าวสิบตำรวจตรี ส. จึงบอกว่าคนรักต้องการใช้ยาลดความอ้วน จำเลยจึงบอกว่าจำเลยมียาลดความอ้วนอยู่ 1 ชุด ที่จำเลยซื้อมาไว้รับประทานเอง สิบตำรวจตรี ส.ขอซื้อยาลดความอ้วนชุดนั้นจำเลยจึงขายให้และเมื่อมีการตรวจค้นร้านขายยาของจำเลยก็ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมายอื่นแต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่มีเฟนเตอมีนของกลางไว้เพื่อขายดังที่โจทก์ฟ้อง และรับฟังไม่ได้ว่าที่ร้านขายยาของจำเลยเคยมีการขายเฟนเตอมีนมาก่อน ดังนั้น การที่จำเลยขายเฟตเตอมีนของกลางให้แก่สิบตำรวจตรี ส. จึงเกิดจากการถูกล่อให้กระทำความผิด โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะกระทำความผิดในการขายเฟตเตอมีนมาก่อน พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นพยานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบโจทก์ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226




 -----------------------------



 แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 (กลุ่ม วิ.แพ่ง-วิ.อาญา) อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งรายข้อ ท่องพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียดที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

คำถาม-ตอบ คำพิพากษาฎีกา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม อ.ประเสริฐฯ




สกัดหลัก เจาะมาตรา แนวคำถาม-ตอบ คำพิพากษาฎีกา 
เน้นประเด็น ท่องพร้อมสอบ ที่น่าสนใจ ชุดที่ ๑
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕
------------------------------------

อ.ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์


คำถาม โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ หมายถึงโทษจำคุกแต่ละกระทง หรือ ทุกกระทงรวมกัน

คำตอบ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ บัญญัติว่า “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้ (๕) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตรา โทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือ ปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้’’
ดังนั้น ตามบทบัญญัติ ดังกล่าวโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๕) นั้น หมายถึงโทษจำคุกแต่ละกระทงที่จะลงแก่จำเลยโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกเกินกว่า ๖ เดือนหรือไม่ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๘๖๘/๒๕๕๔ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ บัญญัติว่า “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้ (๕) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตรา โทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะ ลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือ ปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้’’ ตามบทบัญญัติ ดังกล่าวโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๕) นั้น หมายถึงโทษจำคุกแต่ละกระทงที่จะลงแก่จำเลยโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกเกินกว่า ๖ เดือนหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษ จำคุกจำเลยกระทงละ ๔ เดือน จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน ๖ เดือน ซึ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ (๕)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๔๓/๒๕๕๘ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก ๑ ปี และปรับ ๓,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือขื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๕) ทั้งนี้ เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕


 -----------------------------


 แนะนำ :-

-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 (กลุ่ม วิ.แพ่ง-วิ.อาญา) อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งรายข้อ ท่องพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียดที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate


วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปข้อ6 วิแพ่ง ภาค4 (คุ้มครองชั่วคราว มาตรา 253) เนติบัณฑิต สมัยที่ 72



สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ6 วิแพ่ง (คุ้มครองชั่วคราว)

วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72




กรณีคุ้มครอง จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๓ ใช้เฉพาะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น

มาตรา ๒๕๓ ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราช อาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจำเลย อาจยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการอุทธรณ์ คำสั่งศาลตามวรรคสอง

หลักเกณฑ์ตามมาตรา ๒๕๓ มีดังต่อไปนี้
๑. จำเลย” มีสิทธิยื่น
๒. เหตุแห่งการยื่น ซึ่งหากเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งจำเลยก็มีสิทธิขอได้ดังต่อไปนี้
๒.๑ โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ
๒.๒ เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่าย

๓. ยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา


 เจาะหลักประเด็นสำคัญที่น่าออกสอบ

๑. ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองจำเลยตามมาตรา ๒๕๓ โดยให้โจทก์ วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ในกรณีนี้คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลอยู่ตลอดจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด ทั้งนี้แม้คดีในเนื้อหาศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องวางเงินตามคำสั่งศาล

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๘๗/๒๕๒๙ (เน้น*) ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๓ ย่อมมีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ก็ต้องวางเงินตามที่ศาลกำหนด

สรุป คดีนี้เป็นเรื่องที่มีการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวตามมาตรา ๒๕๓ และศาลฎีกาพิพากษาคุ้มครองจำเลย แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในเนื้อหาคดีให้โจทก์ชนะคดีจำเลย เพียงแต่คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับเรื่องวิธีการชั่วคราว ก็จะเห็นได้ว่าในกรณีที่จำเลยขอคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา ๒๕๓ นี้ หากคำสั่งถึงที่สุดให้โจทก์ต้องวางเงินประกันตามคำขอของจำเลย แม้โจทก์จะชนะคดีในเนื้อหา แต่หากคดีในเนื้อหายังไม่ถึงที่สุด โจทก์ก็ต้องวางเงินตามคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราว 



๒. การร้องขอคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา ๒๕๓ กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว และยังได้บัญญัติให้ต้องทำการไต่สวนด้วย

ฉะนั้น กรณีจึงอยู่ในบังคับมาตรา ๒๑ (๒) และ (๔) นั่นคือ ศาลจะมีคำสั่งโดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อนมิได้ อีกทั้งศาลต้องไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างเสียก่อน เว้นแต่โจทก์รับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว***

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๕๕/๒๕๒๖*** ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความแพ่ง มาตรา ๒๕๓ ใช้คำว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล หรือ ถ้ามีเหตุแน่นแฟ้นอันเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหลาย หาได้ใช้คำว่า และไม่ จึงอาจเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดก็ได้ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องและคำร้องของโจทก์ว่าตัวโจทก์อยู่ที่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล ดังนั้น แม้จำเลยมิได้นำสืบว่าโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายศาลก็มีคำสั่งให้โจทก์วางประกันตามคำร้องของจำเลยได้


คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๐๗/๒๕๓๐ การไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๓ วรรคสอง นั้น หมายถึงการไต่สวนถึงเหตุที่ทำให้มีการร้องขอให้โจทก์วางเงินซึ่งมีอยู่ ๒ เหตุ คือ โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาลเหตุหนึ่ง หรือถ้ามีเหตุอันเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอีกเหตุหนึ่ง เมื่อจำเลยร้องขอให้โจทก์วางเงินประกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในประเทศอังกฤษ ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล และโจทก์ยอมรับในคำแถลงคัดค้านแล้วว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลชั้นต้น จะต้องทำการไต่สวนอีก

จำนวนเงินที่ศาลจะสั่งให้โจทก์วางประกันนั้นตามมาตรา ๒๕๓ วรรคสอง ดังกล่าว บัญญัติให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะให้โจทก์วางประกันรวมตลอดทั้งระยะเวลาและเงื่อนไข ตามที่เห็นสมควร จึงไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนอีกเช่นกัน ศาลชอบที่จะกำหนดจำนวนเงินประกันไปตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๖๑ และอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค4 อ.สมชาย จุลนิติ์




-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

คำถาม-ตอบ ข้อ 4-5 วิ.อาญา ภาค 3 - 4 เนติฯ



 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ4-5 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 3 - 4

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



คำถาม  จำเลยเป็นคู่ความในคดี ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันต่อศาล แต่จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาประกันต่อศาลจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรือถูกบังคับตามสัญญาประกันได้หรือไม่ และ เมื่อผิดสัญญาประกัน จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ หรือไม่

คำตอบ
ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันต่อศาล แม้จำเลยจะเป็นคู่ความในคดี แต่ จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาประกันต่อศาล ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันและไม่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันได้ ดังนั้น เมื่อผิดสัญญาประกัน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๑๐/๒๕๕๙*** คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ผู้ประกันทั้งสี่ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างฎีกา โดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลในวงเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาผู้ประกันทั้งสี่ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันทั้งสี่ตามสัญญาประกัน ผู้ประกันที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ นำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำขอให้ลดหรืองดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ลดค่าปรับโดยปรับ ๑๕,๐๐๐ บาท ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ลดหรือ งดค่าปรับ ศาลชั้นต้นสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยฎีกา


มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งด หรือลดค่าปรับหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามสัญญาประกันผู้ประกันทั้งสี่เป็นผู้ทำสัญญาไว้ต่อศาล ผู้ประกันทั้งสี่จึงเป็นคู่สัญญาประกันกับศาล เมื่อมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าว ผู้ประกันทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายต้องถูกบังคับตามสัญญาประกัน แม้จำเลยจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี แต่จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงไม่จำต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดหรือลดค่าปรับได้ และเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องขอให้งดหรือลดค่าปรับของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท




-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





เน้นประเด็นสำคัญ* ข้อ4-5 วิ.อาญา (ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์)

 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ4-5 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 3 - 4

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


สกัดหลักกฎหมาย

ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนเสมอ ยกเว้นคดีนั้น พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกัน ศาลก็ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา ๑๖๒ (๑) ถ้าศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลประทับฟ้อง แม้จะตกเป็นจำเลยแล้ว แต่จำเลยก็ไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะมาตรา ๑๗๐ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่สั่งว่าคดีมีมูลเด็ดขาด ห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาเพราะคำสั่งของศาล ที่ว่า คดีมีมูลและประทับฟ้องไว้พิจารณาเป็นการเริ่มต้นนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา จำเลยจึงมีโอกาสนำสืบพยานหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้และคำสั่งว่าคดีมีมูลนั้นไม่ใช่คำพิพากษาลงโทษจำเลย กฎหมายจึงห้ามมิให้มีการอุทธรณ์ฎีกา

ในทางตรงกันข้าม หากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่?

คำตอบ
มาตรา ๑๗๐ บัญญัติว่า โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา บทบัญญัติลักษณะ อุทธรณ์ คือ มาตรา ๑๙๓ ทวิ บทบัญญัติลักษณะฎีกา คือ มาตรา ๒๒๐

ในมาตรา ๑๙๓ ทวิ นั้นเป็นเรื่องที่ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินกำหนดดังกล่าว ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น ถ้าหากศาลยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าหากคดีที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษอย่างสูง ให้จำคุกเกินสามปีหรือปรับเกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเกินกำหนดดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ก็อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๙๓ ทวิ


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบเนติฯ ข้อ1 วิ.อาญา สมัยที่ 57

 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ1 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 1 - 2

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ข้อสอบเนติฯ สมัย ๕๗

          
ข้อ ๑. นายหนึ่งยักยอกเงินของนายสองไปจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท วันรุ่งขึ้นนายสองทราบเรื่อง จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีแก่นายหนึ่งในวันนั้นเอง ต่อมาอีก ๒ เดือน นายสองถึงแก่ความตาย นายสามซึ่งเป็นบุตรของนายสองได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนายสอง กรณีดังกล่าว
ก. นายสามยื่นฟ้องคดีต่อศาลภายในอายุความเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอกเงินของนายสอง
ข. พนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาลตามคำร้องทุกข์ของนายสองภายใน อายุความเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอกแล้ว ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายสามขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล
ให้วินิจฉัยว่า นายสามมีอำนาจฟ้องนายหนึ่งตามข้อ ก. และมีอำนาจถอน คำร้องทุกข์ตามข้อ ข. หรือไม่

ธงคำตอบ
ก. กรณีนายสองถูกนายหนึ่งยักยอกเงิน นายสองย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) มี อำนาจที่จะฟ้องนายหนึ่งได้ตามมาตรา ๒๘ (๒) แต่ก็ไม่ได้ฟ้องเป็นคดีไว้ ส่วนนายสาม แม้จะเป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกก็มิใช่ผู้เสียหายโดยตรงที่จะมีอำนาจฟ้องนายหนึ่ง ในฐานะผู้เสียหายโดยตรงได้ทั้งมิใช่กรณีนายสองถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา ๕ (๒) ที่นายสามซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจะมีอำนาจจัดการฟ้องคดีแทนนายสองได้ ดังนั้นนายสาม จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่ง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๖๒/๒๕๔๗)
ข. กรณีพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอก ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวตามคำร้องทุกข์ของนายสอง สิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ในคดี ความผิดฐานยักยอกเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่นายสาม ซึ่งเป็นทายาท นายสามย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ (เทียบคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๗๕๑/๒๕๔๑)

ประเด็น คดียักยอกผู้เสียหายไปร้องทุกข์ไว้แล้วตาย มีทายาทเป็นผู้รับมรดก ถามว่า ทายาทฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกเองเลยได้หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่ได้ เพราะไม่เข้ามาตรา ๕ (๒)

ส่วนคดีที่อัยการเป็นโจทก์ นายสามซึ่งเป็นทายาทจะถอนคำร้องทุกข์ได้หรือไม่
คำตอบ คือ คดีความผิดต่อส่วนตัว ถ้าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีก็จบ เพราะฉะนั้น ศาลฎีกาจึงตีความว่าสิทธิการร้องทุกข์เป็นสิทธิต่อส่วนตัวของผู้เสียหาย แต่เฉพาะเรื่อง ทรัพย์สิน ยักยอก ลักทรัพย์ ตกทอดเป็นมรดก
เพราะฉะนั้นสิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ เป็นสิทธิในทางทรัพย์สินทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้





อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 1-2 อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์




-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





ข้อ1 วิ.อาญา เนติฯ (ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ปี 2558)

 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ1 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 1 - 2

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาปี ๒๕๔๘

          
นายขาวเป็นพ่อหม้ายมีลูกสามคน นายม่วงอายุ ๒๑ ปี เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ นายขาวเป็นผู้พิทักษ์ อีกสองคนเป็นผู้เยาว์ คือนํ้าเงินกับเหลือง ต่อมานายขาวแต่งงานใหม่กับนางเหี้ยม นางเหี้ยมเกลียด ลูกทั้งสามคนของนายขาว จึงวางยาพิษลูกทั้งสามคน เด็กชายเหลืองถึงแก่ความตายทันที การวางยาพิษเป็นการทำร้าย นายขาวเป็นบิดาก็เข้ามาเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามมาตรา ๕ (๒) ได้ และตามมาตรา ๕ (๑) ก็ได้ด้วยเพราะเหลืองยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ส่วนนายม่วงและเด็กหญิงนํ้าเงินได้รับอันตรายแก่กาย นายขาวรู้เรื่องแต่ไม่เอาเรื่องเพราะกลัวนางเหี้ยมจะติดคุก ต่อมาพนักงานอัยการฟ้องนางเหี้ยม น้าของเด็กจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยของให้ศาลตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของทั้งสามคน อันนี้เป็นหลักทางแพ่ง กึ่งอาญา ถ้าผลประโยชน์ขัดกันพอแม่ไม่ทำก็ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ นายขาวคัดค้านว่าตนเป็นผู้พิทักษ์ของนายม่วง เป็นผู้แทน โดยชอบธรรมของเด็กหญิงนํ้าเงิน น้าไม่มีสิทธิดำเนินคดีได้เพราะพ่อยังเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและผู้พิทักษ์อยู่

ให้วินิจฉัยว่าศาลจะสั่งคำร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีอย่างไร

คำตอบ ถ้าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ร่วมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ ศาลก็จะตั้งญาติ หรือผู้มีส่วนให้เขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ และสามารถที่จะตั้งผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเป็นผู้อื่นได้ตามมาตรา ๖ หากไม่มีศาลจะตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน เฉพาะคดีก็ได้


การขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีตามมาตรา ๖ ต้องเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ยังมิชีวิตอยู่ เมื่อเด็กชายเหลืองตายศาลไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้ น้าจึงเข้ามาเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๕/๒๕๓๒) กรณีนํ้าเงินมีนายขาวเป็นบิดาแต่ผลประโยชน์ขัดกัน น้าก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง เหลือ นายม่วงผู้เสมือนไร้ความสามารถบรรลุนิติภาวะแล้วแม้เป็นคนเสมือนฯ แต่ก็ถูกจำกัดสิทธิ นิติกรรมบางอย่างเท่านั้น นายม่วงมีสิทธิที่จะดำเนินคดีได้ นายขาวก็ไม่มีสิทธิดำเนินคดี แทนนายม่วง น้าก็ไม่มีสิทธิขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีแทนนายม่วงได้ 




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 1-2 อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ7 วิแพ่ง (ภาคบังคับคดี) (สิทธิของโจทก์หรือเจ้าหนี้ กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ7 วิแพ่ง (ภาคบังคับคดี)

ป.วิ.แพ่ง. ภาคบังคับคดี

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



         สิทธิของโจทก์หรือเจ้าหนี้ กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด


  ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด โจทก์หรือเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้งดปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ก่อนตามมาตรา ๒๖๔ ได้ เช่นเดียวกัน

คำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ ๘๙๑/๒๕๑๘*** ร้องขอทุเลาการบังคับในกรณีที่ศาลสั่งถอนการยึดทรัพย์ หากตามคำร้องแปลได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๖๔ ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องโดยระงับการถอนการยึดไว้ก่อนได้
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วยัง ดำเนินการขายทอดตลาดไป ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอด ตลาดได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๙๗/๒๕๕๐ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและ สำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไป ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๘ (ปัจจุบันคือมาตรา ๓๒๓) แม้ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่ได้ไปคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ได้ไปแจ้งอายัดต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อห้ามโอนที่ดินพิพาท ก็ไม่อาจถือว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ

การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วกลับนำที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาด โดยไม่รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นในเรื่องร้องขัดทรัพย์เสียก่อน ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๖ วรรคสอง อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์*** (ปัจจุบันคือมาตรา ๒๙๕ วรรคสอง)




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate