วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

คำถาม-ตอบ ข้อ 4-5 วิ.อาญา ภาค 3 - 4 เนติฯ



 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ4-5 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 3 - 4

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



คำถาม  จำเลยเป็นคู่ความในคดี ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันต่อศาล แต่จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาประกันต่อศาลจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรือถูกบังคับตามสัญญาประกันได้หรือไม่ และ เมื่อผิดสัญญาประกัน จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ หรือไม่

คำตอบ
ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันต่อศาล แม้จำเลยจะเป็นคู่ความในคดี แต่ จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาประกันต่อศาล ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันและไม่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันได้ ดังนั้น เมื่อผิดสัญญาประกัน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๑๐/๒๕๕๙*** คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ผู้ประกันทั้งสี่ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างฎีกา โดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลในวงเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาผู้ประกันทั้งสี่ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันทั้งสี่ตามสัญญาประกัน ผู้ประกันที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ นำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำขอให้ลดหรืองดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ลดค่าปรับโดยปรับ ๑๕,๐๐๐ บาท ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ลดหรือ งดค่าปรับ ศาลชั้นต้นสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยฎีกา


มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งด หรือลดค่าปรับหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามสัญญาประกันผู้ประกันทั้งสี่เป็นผู้ทำสัญญาไว้ต่อศาล ผู้ประกันทั้งสี่จึงเป็นคู่สัญญาประกันกับศาล เมื่อมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าว ผู้ประกันทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายต้องถูกบังคับตามสัญญาประกัน แม้จำเลยจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี แต่จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงไม่จำต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดหรือลดค่าปรับได้ และเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องขอให้งดหรือลดค่าปรับของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นชอบแล้ว


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท




-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





เน้นประเด็นสำคัญ* ข้อ4-5 วิ.อาญา (ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์)

 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ4-5 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 3 - 4

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


สกัดหลักกฎหมาย

ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนเสมอ ยกเว้นคดีนั้น พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกัน ศาลก็ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา ๑๖๒ (๑) ถ้าศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลประทับฟ้อง แม้จะตกเป็นจำเลยแล้ว แต่จำเลยก็ไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะมาตรา ๑๗๐ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่สั่งว่าคดีมีมูลเด็ดขาด ห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาเพราะคำสั่งของศาล ที่ว่า คดีมีมูลและประทับฟ้องไว้พิจารณาเป็นการเริ่มต้นนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา จำเลยจึงมีโอกาสนำสืบพยานหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้และคำสั่งว่าคดีมีมูลนั้นไม่ใช่คำพิพากษาลงโทษจำเลย กฎหมายจึงห้ามมิให้มีการอุทธรณ์ฎีกา

ในทางตรงกันข้าม หากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่?

คำตอบ
มาตรา ๑๗๐ บัญญัติว่า โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา บทบัญญัติลักษณะ อุทธรณ์ คือ มาตรา ๑๙๓ ทวิ บทบัญญัติลักษณะฎีกา คือ มาตรา ๒๒๐

ในมาตรา ๑๙๓ ทวิ นั้นเป็นเรื่องที่ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินกำหนดดังกล่าว ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น ถ้าหากศาลยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าหากคดีที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษอย่างสูง ให้จำคุกเกินสามปีหรือปรับเกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเกินกำหนดดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ก็อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๙๓ ทวิ


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบเนติฯ ข้อ1 วิ.อาญา สมัยที่ 57

 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ1 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 1 - 2

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ข้อสอบเนติฯ สมัย ๕๗

          
ข้อ ๑. นายหนึ่งยักยอกเงินของนายสองไปจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท วันรุ่งขึ้นนายสองทราบเรื่อง จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีแก่นายหนึ่งในวันนั้นเอง ต่อมาอีก ๒ เดือน นายสองถึงแก่ความตาย นายสามซึ่งเป็นบุตรของนายสองได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนายสอง กรณีดังกล่าว
ก. นายสามยื่นฟ้องคดีต่อศาลภายในอายุความเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอกเงินของนายสอง
ข. พนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาลตามคำร้องทุกข์ของนายสองภายใน อายุความเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอกแล้ว ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายสามขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล
ให้วินิจฉัยว่า นายสามมีอำนาจฟ้องนายหนึ่งตามข้อ ก. และมีอำนาจถอน คำร้องทุกข์ตามข้อ ข. หรือไม่

ธงคำตอบ
ก. กรณีนายสองถูกนายหนึ่งยักยอกเงิน นายสองย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) มี อำนาจที่จะฟ้องนายหนึ่งได้ตามมาตรา ๒๘ (๒) แต่ก็ไม่ได้ฟ้องเป็นคดีไว้ ส่วนนายสาม แม้จะเป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกก็มิใช่ผู้เสียหายโดยตรงที่จะมีอำนาจฟ้องนายหนึ่ง ในฐานะผู้เสียหายโดยตรงได้ทั้งมิใช่กรณีนายสองถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา ๕ (๒) ที่นายสามซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจะมีอำนาจจัดการฟ้องคดีแทนนายสองได้ ดังนั้นนายสาม จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่ง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๖๒/๒๕๔๗)
ข. กรณีพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ลงโทษนายหนึ่งฐานยักยอก ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวตามคำร้องทุกข์ของนายสอง สิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ในคดี ความผิดฐานยักยอกเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินเมื่อผู้ร้องทุกข์ตายย่อมตกทอดแก่นายสาม ซึ่งเป็นทายาท นายสามย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ (เทียบคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๗๕๑/๒๕๔๑)

ประเด็น คดียักยอกผู้เสียหายไปร้องทุกข์ไว้แล้วตาย มีทายาทเป็นผู้รับมรดก ถามว่า ทายาทฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกเองเลยได้หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่ได้ เพราะไม่เข้ามาตรา ๕ (๒)

ส่วนคดีที่อัยการเป็นโจทก์ นายสามซึ่งเป็นทายาทจะถอนคำร้องทุกข์ได้หรือไม่
คำตอบ คือ คดีความผิดต่อส่วนตัว ถ้าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีก็จบ เพราะฉะนั้น ศาลฎีกาจึงตีความว่าสิทธิการร้องทุกข์เป็นสิทธิต่อส่วนตัวของผู้เสียหาย แต่เฉพาะเรื่อง ทรัพย์สิน ยักยอก ลักทรัพย์ ตกทอดเป็นมรดก
เพราะฉะนั้นสิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ เป็นสิทธิในทางทรัพย์สินทายาทจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้





อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 1-2 อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์




-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





ข้อ1 วิ.อาญา เนติฯ (ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ปี 2558)

 
สรุปประเด็น เจาะประเด้น เก็งเนติ เน้นย้ำหลักสำคัญ กลุ่ม วิ.อาญา รายข้อ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ1 วิ.อาญา

ป.วิ.อาญา ภาค 1 - 2

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาปี ๒๕๔๘

          
นายขาวเป็นพ่อหม้ายมีลูกสามคน นายม่วงอายุ ๒๑ ปี เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ นายขาวเป็นผู้พิทักษ์ อีกสองคนเป็นผู้เยาว์ คือนํ้าเงินกับเหลือง ต่อมานายขาวแต่งงานใหม่กับนางเหี้ยม นางเหี้ยมเกลียด ลูกทั้งสามคนของนายขาว จึงวางยาพิษลูกทั้งสามคน เด็กชายเหลืองถึงแก่ความตายทันที การวางยาพิษเป็นการทำร้าย นายขาวเป็นบิดาก็เข้ามาเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามมาตรา ๕ (๒) ได้ และตามมาตรา ๕ (๑) ก็ได้ด้วยเพราะเหลืองยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ส่วนนายม่วงและเด็กหญิงนํ้าเงินได้รับอันตรายแก่กาย นายขาวรู้เรื่องแต่ไม่เอาเรื่องเพราะกลัวนางเหี้ยมจะติดคุก ต่อมาพนักงานอัยการฟ้องนางเหี้ยม น้าของเด็กจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยของให้ศาลตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของทั้งสามคน อันนี้เป็นหลักทางแพ่ง กึ่งอาญา ถ้าผลประโยชน์ขัดกันพอแม่ไม่ทำก็ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ นายขาวคัดค้านว่าตนเป็นผู้พิทักษ์ของนายม่วง เป็นผู้แทน โดยชอบธรรมของเด็กหญิงนํ้าเงิน น้าไม่มีสิทธิดำเนินคดีได้เพราะพ่อยังเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและผู้พิทักษ์อยู่

ให้วินิจฉัยว่าศาลจะสั่งคำร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีอย่างไร

คำตอบ ถ้าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ร่วมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ ศาลก็จะตั้งญาติ หรือผู้มีส่วนให้เขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ และสามารถที่จะตั้งผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเป็นผู้อื่นได้ตามมาตรา ๖ หากไม่มีศาลจะตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน เฉพาะคดีก็ได้


การขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีตามมาตรา ๖ ต้องเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ยังมิชีวิตอยู่ เมื่อเด็กชายเหลืองตายศาลไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้ น้าจึงเข้ามาเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๕/๒๕๓๒) กรณีนํ้าเงินมีนายขาวเป็นบิดาแต่ผลประโยชน์ขัดกัน น้าก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง เหลือ นายม่วงผู้เสมือนไร้ความสามารถบรรลุนิติภาวะแล้วแม้เป็นคนเสมือนฯ แต่ก็ถูกจำกัดสิทธิ นิติกรรมบางอย่างเท่านั้น นายม่วงมีสิทธิที่จะดำเนินคดีได้ นายขาวก็ไม่มีสิทธิดำเนินคดี แทนนายม่วง น้าก็ไม่มีสิทธิขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีแทนนายม่วงได้ 




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 1-2 อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ7 วิแพ่ง (ภาคบังคับคดี) (สิทธิของโจทก์หรือเจ้าหนี้ กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ7 วิแพ่ง (ภาคบังคับคดี)

ป.วิ.แพ่ง. ภาคบังคับคดี

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



         สิทธิของโจทก์หรือเจ้าหนี้ กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด


  ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด โจทก์หรือเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้งดปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ก่อนตามมาตรา ๒๖๔ ได้ เช่นเดียวกัน

คำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ ๘๙๑/๒๕๑๘*** ร้องขอทุเลาการบังคับในกรณีที่ศาลสั่งถอนการยึดทรัพย์ หากตามคำร้องแปลได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๖๔ ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องโดยระงับการถอนการยึดไว้ก่อนได้
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วยัง ดำเนินการขายทอดตลาดไป ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอด ตลาดได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๙๗/๒๕๕๐ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและ สำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไป ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๘ (ปัจจุบันคือมาตรา ๓๒๓) แม้ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่ได้ไปคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ได้ไปแจ้งอายัดต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อห้ามโอนที่ดินพิพาท ก็ไม่อาจถือว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ

การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วกลับนำที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาด โดยไม่รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นในเรื่องร้องขัดทรัพย์เสียก่อน ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๖ วรรคสอง อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์*** (ปัจจุบันคือมาตรา ๒๙๕ วรรคสอง)




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





ข้อ4 วิแพ่ง เนติฯ (จำเลยร่วมมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ4 วิแพ่ง ขาดนัด

วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


จำเลยร่วมมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด


 คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๔๖/๒๕๖๐ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๘ วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ปัญหามีว่าศาลจะใช้ดุลพินิจหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ ได้นั้น เห็นว่า มาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การให้โจทก์มีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้ จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาด ให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด และวรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอ ต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ บทบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์มิให้โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีของตนภายในเวลาที่กำหนด แต่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีตามมาตรา ๑๙๘ วรรคสอง หรือไม่ ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป สำหรับคดีนี้ ปรากฎว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเท่านั้น ไม่ได้ฟ้องจำเลยร่วม แต่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เนื่องจากจำเลยร่วมเป็นกรรมการ ผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท ส. เช่นเดียวกัน หากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจำเลยร่วมผู้เป็นกรรมการด้วยกัน ซึ่งโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำร้องดังกล่าว ศาลจึงให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่เมื่อจำเลยร่วมได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยร่วมมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ ตามมาตรา ๑๙๗ แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอตามมาตรา ๑๙๘ วรรคสอง ก็ตาม แต่โจทก์ดำเนินคดีในส่วนของตนต่อมา ส่วนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ นั้น หากจะต้องรับผิดต่อบริษัท ส. หรือ แพ้คดีก็ประสงค์ให้คำพิพากษาผูกพันจำเลยร่วมให้ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นกรรมการ ด้วยกันกรณีเช่นนี้ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลจะดำเนินคดีในส่วนของจำเลยร่วมไปพร้อมกับจำเลยคนอื่นๆ การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยร่วมถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจ ตามสมควร 



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ1 วิแพ่ง เนติฯ (การอุทธรณ์คำสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ1 วิแพ่ง

วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


การอุทธรณ์คำสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล


ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือให้ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ผู้ขอ อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ โดยจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕/๒๕๕๖ จำเลยอุทธรณ์พร้อมยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลชั้นต้นภายใน ๑๐ วัน นับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ เป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคท้าย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาอีก

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๑/๒๕๕๗ ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องที่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ภาค ๓ กล่าวคือ ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นมาชำระภายใน ๑๕ วัน การที่ผู้ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลอีก และศาลอุทธรณ์ภาค ๓ มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่สุด เช่นเดียวกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ ภาค ๓ อันเป็นที่สุดนั้นด้วย ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ต่อมา อีกได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๗๗/๒๕๖๐ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฉบับที่สองของจำเลยโดยให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนเกี่ยวกับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคท้าย บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาอีก

ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เห็นว่าฎีกาของโจทก์เป็น เรื่องการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ซึ่งคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทมาตราที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงไม่อาจขออนุญาตฎีกาได้ (คำสั่งของศาลฎีกาที่ ครพ. ๑๑๖/๒๕๖๐)

ข้อสังเกต
แม้เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่ เฉพาะบางส่วน หรือให้ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นฎีกาก็ต้องยื่น อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ หาใช่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาไม่***
ตามมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ (ที่แก้ไขใหม่) ผู้ขอต้องยื่นอุทธรณ์โดยยื่นเป็นอุทธรณ์ หาใช่ยื่นคำขอเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่***



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





ข้อ1 วิแพ่ง เนติฯ (กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ1 วิแพ่ง

วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

 กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ผู้ใดมีความจำนงจะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี


๑. ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้องหรือได้ฟ้องคดีไว้นั้นพร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด หรือคำให้การ แล้วแต่กรณี

๒. แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำร้องในเวลาใด ๆ ก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๖๑/๒๕๖๑*** จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์มาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ยื่นภายหลังเมื่อใกล้จะครบกำหนดขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายตามคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ในภายหลัง ซึ่งเป็นการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖, ๔๕ และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖ วรรคหนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้ และจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งได้ภายใน ๗ วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่ จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลโดยมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ยื่นคำร้อง ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลก็เพื่อให้ศาลกำหนดเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลใหม่ อันเป็นการขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ออกไปอีก โดยมีลักษณะเป็นการประวิงคดี คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้กำหนดเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ภายในกำหนด จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ


-----------------

แนะนำ :-
-  ทีเด็ด*ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท ที่ https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

- ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลดข้อมูลเตรียมสอบ กลุ่มวิแพ่ง - วิอาญา  เก็งพร้อมสอบ พร้อมเก็บตก อัพเดท รายละเอียด ที่  https://www.lawsiam.com/?file=donate





วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบฟื้นฟูกิจการ เนติบัณฑิต สมัยที่ ๖๐

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*


ข้อ9 วิแพ่ง

ฟื้นฟูกิจการ

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72



ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ ๖๐


คำถาม ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท เอ จำกัด ซึ่ง ประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลและตั้งผู้ทำแผน ต่อมาผู้ทำแผนได้ซื้ออ้อยจากนายรวย มาผลิตน้ำตาลเป็นเงิน ๑๔,๐๐๐ บาท ตกลงชำระราคาภายใน ๓๐ วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางครั้นถึงกำหนด ผู้ทำแผนไม่ชำระหนี้ นายรวยทวงถามให้ผู้ทำแผนชำระหนี้ ผู้ทำแผนโต้แย้งว่าสัญญาซื้อขายอ้อยตกเป็นโมฆะ ทั้งนายรวยมิได้ยื่น คำขอรับชำระหนี้จึงหมดสิทธิได้รับชำระหนี้

ให้วินิจฉัยว่า ข้อโต้แย้งของผู้ทำแผนฟังขึ้นหรือไม่

ธงคำตอบ การที่ผู้ทำแผนซื้ออ้อยมาผลิตน้ำตาลเป็นการดำเนินการตามปกติในทางการค้า เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ผู้ทำแผนสามารถทำนิติกรรมดังกล่าวได้เอง โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายอ้อยระหว่างผู้ทำแผนกับนายรวยจึงสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙๐/๒๕ ประกอบมาตรา ๙๐/๑๒ (๙)

หนี้ค่าอ้อยเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ซึ่งมิใช่หนี้ที่อาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๐/๒๗ วรรคหนึ่ง แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนก่อขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการ นายรวยมีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๖๒ (๑) (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๓๑/๒๕๔๖, ๗๐๓๒/๒๕๔๖) ข้อโต้แย้งของผู้ทำแผนฟังไม่ขึ้น 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท 


ข้อ9 ฟื้นฟูกิจการ เนติฯ (หนี้ที่เกิดขึ้นหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน)

สรุปประเด็น เก็งเนติ เน้นประเด็นสำคัญ ท่องพร้อมสอบ อัพเดท*

ข้อ9 วิแพ่ง

ฟื้นฟูกิจการ

เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 72


หนี้ที่เกิดขึ้นหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน

ข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา ๙๐/๑๒ (๔) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เช่นนี้ หากว่ามูลหนี้เกิด ขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เช่น หนี้ที่ผู้บริหารแผน หรือผู้บริหารแผนชั่วคราวก่อขึ้น หากผู้บริหารแผนไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องให้ผู้บริหาร แผนชำระหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามข้อจำกัดสิทธินี้ (ฎ. ๓๑๙๕/๒๕๔๙)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๙๕/๒๕๔๙ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายจ้าง ของจำเลยที่ ๑ ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ในมูลหนี้ละเมิดซึ่งเกิดเหตุเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ส่วนศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ ๒ และตั้งผู้บริหารแผนเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ และต่อมาศาล ล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๖ ดังนี้ เมื่อหนี้คดีนี้ซึ่งเกิดจากมูลละเมิดเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลล้ม ละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ ๒ และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ ๒ ลูกหนี้ เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๖๒ และไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ ๒ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๑๒ (๔)

ข้อสังเกต คำพิพากษาฎีกานี้เคย นำไปออกข้อสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ ๖๒ มาตรา ๙๐/๑๒ (๔) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้ 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ


ถอดเทป สรุปย่อ เก็งท่องพร้อมสอบ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 สมัยที่ 72 อัพเดท