วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เก็งฎีกาเนติฯ ข้อ8 กฎหมายแรงงาน อ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ ภาคปกติ ครั้งที่ 2 (5 มิถุนายน 2562) สมัยที่72

ข้อ 8. วิชากฎหมายแรงงาน ( ภาคปกติ) สมัยที่ 72

อ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ  ครั้งที่ 2 (5 มิถุนายน 2562)



          คำพิพากษาฎีกาที่ 7810/2560 ข้อตกลงอันเป็นลักษณะข้อห้ามของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็เพื่อปกป้องข้อมูลความลับและธุรกิจการค้าของโจทก์ให้อยู่รอดดำเนินการต่อไปได้ มุ่งเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันในการประกอบธุรกิจการค้าในลักษณะประเภทเดียวกับโจทก์และ มีกำหนดระยะเวลามิใช่ห้ามตลอดไป เป็นข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำได้โดยชอบ แต่จำเลยมีตำแหน่งเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 13,000 บาท การที่โจทก์กำหนดระยะเวลาห้ามไว้ถึง 2 ปี เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงมีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 14/1


สรุปฎีกาเนติฯ ข้อ4. กฎหมาย มาตรา 209-287, 367-398 อ.สิทธิพงศ์ ตัญญพงศ์ปรัชญ์ (ภาคค่ำ) 28 พค 62 สมัยที่72

สรุปฎีกาเนติฯ กฎหมาย ข้อ4. มาตรา 209-287, 367-398

 อ.สิทธิพงศ์ ตัญญพงศ์ปรัชญ์ (ภาคค่ำ) 28 พค 62 สมัยที่72


-------------------


ความผิดฐานอั้งยี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2543 แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี 2540 นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคหนึ่ง

ความผิดฐานซ่องโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2521 คน 6 คนปรึกษากันจะใช้ไขควงงัดประตูรถยนต์เพื่อลักวิทยุติดรถยนต์เก๋งที่จอดอยู่ข้างถนน ตำรวจเข้าจับ เป็นเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2526 ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจะต้องมีการสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้การสมคบกันจะต้องมีการแสดงออกซึ่งความตกลงในการที่จะกระทำผิดร่วมกัน มิใช่เพียงแต่มาประชุมหารือกันโดยมิได้ตกลงอะไรกันเลยหรือตกลงกันไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 3201/2527 ความผิดฐานซ่องโจร เมื่อได้ประชุมตกลงกันแล้ว แม้จะยังไม่ได้ไปกระทำความผิดตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ที่เข้าร่วมประชุมก็มีความผิดฐานเป็นซ่องโจรแล้ว หากมีผู้เข้าร่วมประชุมคนใดไปกระทำความผิด ตามที่ได้ตกลงกันไว้ก็เป็นความผิดขึ้นอีกกระทงหนึ่ง ผู้เข้าร่วมประชุมแม้จะไม่ได้ไปร่วมกระทำผิดด้วยก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 213

คำพิพากษาฎีกาที่ 871/2457,116/2471,1341/2521 ความผิดฐานซ่องโจร เมื่อได้ประชุมตกลงกันแล้ว แม้จะยังไม่ได้ไปกระทำความผิดตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ที่เข้าร่วมประชุมก็มีความผิดฐานเป็นซ่องโจรแล้ว หากมีผู้เข้าร่วมประชุมคนใดไปกระทำความผิด ตามที่ได้ตกลงกันไว้ก็เป็นความผิดขึ้นอีกกระทงหนึ่ง ผู้เข้าร่วมประชุมแม้จะไม่ได้ไปร่วมกระทำผิดด้วยก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกรวม 6 คน ร่วมกันวางแผนไปกระทำการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2แห่ง ป.อ.จึงมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร และเมื่อจำเลยที่ 4 กับพวกไปปล้นร้านทองของผู้เสียหายที่ 2 ตามแผนที่ร่วมกันวางไว้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผู้ร่วมวางแผนย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการปล้นร้านทองร่วมกับจำเลยที่ 4 กับพวกด้วย ตาม ป.อ.มาตรา 213 และความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานปล้นทรัพย์เกี่ยวเนื่องกันเพราะพวกจำเลยกระทำผิดฐานเป็นซ่องโจรเพื่อจะไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานปล้นทรัพย์อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานเป็นซ่องโจรด้วย จึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามจะไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2471 ผู้เปนส้องโจรสมคบกันจะทำการปล้นแต่มีคนหนึ่งใช้ปืนยิงเขาจำเลยมิได้ลงมือด้วยมีผิดแต่ฐานส้องโจรกะทงเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2556 จำเลยทั้งสองกับพวก 5 คน ร่วมกันปรึกษาวางแผนลักทรัพย์ของชาวต่างชาติบนรถโดยสารสองแถว โดยขึ้นรถโดยสารสองแถวมาพร้อมกันซึ่งจะทำให้มีผู้โดยสารมากพอที่จะทำให้พวกของจำเลยที่ 1 สามารถเข้าไปนั่งชิดกับผู้เสียหายทางด้านขวาที่มีกระเป๋าสตางค์อยู่ในประเป๋ากางเกง พวกของจำเลยทั้งสองจึงมีโอกาสล้วงกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหาย และมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 5 คน สมคบกัน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ในยวดยานสาธารณะและเป็นซ่องโจร ซึ่งความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับฐานร่วมกันลักทรัพย์ในยวดยานสาธารณะเกี่ยวเนื่องกันจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

มั่วสุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2535 การมั่วสุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ผู้มั่วสุมไม่จำต้องมีเจตนากระทำผิดในรายละเอียดอย่างเดียวกัน เพียงแต่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองก็เป็นความผิดแล้ว และผู้ที่มามั่วสุมก็ไม่จำต้องรู้จักหรือมีการนัดหมายวางแผนกันมาก่อน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 อันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดการวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 เมื่อเจ้าพนักงานได้สั่งให้จำเลยกับพวกเลิกการมั่วสุมภายหลังที่มีการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 แล้ว แม้จำเลยทุกคนไม่เลิกการกระทำของจำเลยทุกคนก็คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 เท่านั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา 216 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2527 ป. และ จ. จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มชักชวนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนให้มาชุมนุมกัน ณ สนามหน้าเมืองที่เกิดเหตุมาแต่ต้นและร่วมกล่าวโจมตีขับไล่ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดจนมีส่วนในการจัดตั้งหน่วยฟันเฟืองขึ้นจากผู้มาร่วมชุมนุม จนคนเหล่านี้รวมตัวกันเป็นจำนวนหลายพันคน ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และขว้างปาและวางเพลิงเผาจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองตลอดจนนักศึกษา นักเรียน และประชาชนดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรอีกสถานหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2556 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ จำเลยกระทำความผิดโดยเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนความผิดฐานสนับสนุนการก่อการร้ายจำเลยกระทำความผิดด้วยการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดฐานก่อการร้ายก่อนหรือขณะกระทำความผิด การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว แม้จำเลยจะได้กระทำในช่วงเดียวกัน แต่การกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกันและต่างกรรมต่างวาระ ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการเป็นอั้งยี่ และสนับสนุนการก่อการร้ายก็เป็นคนละอย่างต่างกัน การกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานเป็นอั้งยี่และฐานสนับสนุนการก่อการร้ายจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท


หมายเหตุ อาจารย์เน้นเรื่องอั้งยี่  ซ่องโจร มั่วสุม น่าสนใจ ในการนำมาออกข้อสอบ*

---------------------------

ติดตามถอดเทปพร้อมเน้นคำบรรยายเนติฯ, สรุปย่อรวมคำบรรยายเล่มที่ 1-16 

 เก็งท่องพร้อมสอบ+เก็บตก ที่ ลอว์สยาม ดอทคอม (https://www.lawsiam.com)

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ1. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ1. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71


สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ2. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ2. วิแพ่ง ภาค1 เนติ สมัยที่ 71




สรุป เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ3 .เนติฯ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ3. วิแพ่ง ภาค2 เนติฯ สมัยที่ 71
 (วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น) 






สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ4. วิแพ่ง ภาค2 เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ4. วิแพ่ง ภาค2 เนติ สมัยที่ 71
 (วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น)  









สรุปเก็ง ที่ออกสอบ ข้อ5. วิแพ่ง ภาค3 (อุทธรณ์-ฎีกา) เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ5. วิแพ่ง ภาค3 (อุทธรณ์-ฎีกา) เนติ สมัยที่ 71









สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ6. วิแพ่ง ภาค4 (คุ้มครองชั่วคราว) เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ6. วิแพ่ง ภาค4 (คุ้มครองชั่วคราว) เนติ สมัยที่ 71




สรุป เก็งที่ออกสอบ ข้อ7. วิแพ่ง ภาค4 (บังคับคดี) เนติ สมัยที่ 71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ ข้อ7. วิแพ่ง ภาค4 (บังคับคดี) เนติ สมัยที่ 71


สรุปเก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ8 เนติ ภาค2 สมัยที่71

สรุปขอบเขต เก็งที่ออกสอบ วิ.แพ่ง ข้อ8 ล้มละลาย เนติ ภาค2 สมัยที่71