วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปก่อนเรียนเนติสมัยที่ 71 วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.จุลสิงห์ (เล่มที่3 ครั้งที่1)

สรุปคำบรยายเนติฯ ก่อนเรียน* วิ.อาญา ภาค 1-2 อ.จุลสิงห์ (เล่มที่3 ครั้งที่1) สมัยที่ 71

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1-2 - อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์
---------------------------------------------------------------------
(สกัดหลัก ประโยคทองคำ (Key words Law) วลีกฎหมายที่ควรจำ เพื่อเขียนตอบข้อสอบ*)

รายละเอียดพอสังเขป :-

- ทยอยอัพเดท...สำหรับทบทวนสรุปย่อประเด็น กฎหมาย แนวฎีกาเนติฯ อ่านกระชับ เน้นประเด็นสำคัญ จากห้องบรรยายเนติ
- สกัดหลักกฎหมาย-เจาะประเด็นคำบรรยาย จำแนกออกเป็นเรื่อง/กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ท่องจำ*
- เจาะประเด็น-หลักฎีกาเด่น ติดดาว* แนวการวินิจฉัย เก็ง เน้นประเด็นสำคัญ อาจารย์เน้นย้ำ ตัวอย่างข้อสอบ พร้อมออกสอบ*
  


https://www.lawsiam.com/?name=download&file=filedetail&max=4811 (ดาวน์โหลดเอกสาร PDF)

สรุปก่อนเรียน* ถอดคำบรรยายเนติฯ วิ.แพ่ง ภาค 1 อ.อำนาจ (เล่มที่1 ครั้งที่1) สมัยที่ 71

 สรุปคำบรยายเนติฯ เน้นประเด็น ก่อนเรียน* วิ.แพ่ง ภาค 1 อ.อำนาจ (เล่มที่1 ครั้งที่1) สมัยที่ 71

ข้อ2. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค1 - อ.อำนาจ พวงชมภู
---------------------------------------------------------------------
(สกัดหลัก ประโยคทองคำ (Key words Law) วลีกฎหมายที่ควรจำ เพื่อเขียนตอบข้อสอบ*)



รายละเอียดพอสังเขป :-

-  ทยอยอัพเดท...สำหรับทบทวนสรุปย่อประเด็น กฎหมาย แนวฎีกาเนติฯ อ่านกระชับ เน้นประเด็นสำคัญ จากห้องบรรยายเนติ
- สกัดหลักกฎหมาย-เจาะประเด็นคำบรรยาย จำแนกออกเป็นเรื่อง/กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ท่องจำ*

- เจาะประเด็น-หลักฎีกาเด่น ติดดาว* แนวการวินิจฉัย เน้นประเด็นสำคัญ อาจารย์เน้นย้ำ ตัวอย่างข้อสอบ พร้อมออกสอบ*




 https://www.lawsiam.com/?name=download&file=filedetail&max=4810 (ดาวน์โหลดเอกสาร PDF)

เอกสารประกอบคำบรรยายเนติ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เนติฯ อ.พิศล พิรุณ (ภาค่ำ)

สรุป พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เนติฯ อ.พิศล พิรุณ (ภาค่ำ) สมัยที่70 (45หน้า)


(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบคำบรรยายเนติฯ PDF)

ธงคำตอบ อาญา ข้อ2. วิชา กฏหมายอาญา มาตรา 59-106 เนติบัณฑิต สมัยที่71

คำถามพร้อมธงคำตอบ เนติบัณฑิต  ภาค1 สมัยที่71
ข้อ2. วิชา กฏหมายอาญา มาตรา 59-106
******************************

รายละเอียด
- ทยอยอัพเดท** เพื่อเตรียมความพร้อมในการจับประเด็นสำคัญ สำหรับท่องพร้อมสอบ*
-  สกัดหลักคำถาม ธงคำตอบ เน้นประเด็นสำคัญ จากคำบรรยายเนติฯ (แยกตามเนื้อหา/กลุ่ม) สำหรับง่าย ต่อการทบทวน
-  แนวการเขียน ธงคำตอบ เจาะประเด็น มาตราสำคัญ เก็งเนื้อหา ที่พร้อมออกสอบเนติฯ


https://www.lawsiam.com/?name=download&file=filedetail&max=4808
(ดาวน์โหลด คำถาม พร้อมธงคำตอบ เนติ อาญา PDF)

ขอบเขต วิ.แพ่ง เนติฯ ที่น่าจะออกสอบ

ขอบเขต วิ.แพ่ง เนติฯ จะมีขอบเขตและเนื้อหาของวิชาที่ออกสอบดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 – ข้อที่ 2 จะเป็น ป.วิ.แพ่ง ภาค 1……….. ม.1 – ม.169

ข้อที่ 3 – ข้อที่ 4 จะเป็น ป.วิ.แพ่ง ภาค 2……….ม.170 – ม.222

ข้อที่ 5 – จะเป็น ป.วิ.แพ่ง ภาค 3 …………ม.223 – ม.252

ข้อที่ 6 – ข้อที่ 7 จะเป็น ภาคบังคับคดี………. ม. 253 – ม.323

ข้อที่ 8 จะเป็นวิชา ล้มละลาย ……….ม. 1 – 90 และ ม.91 – ม.180

ข้อที่ 9 จะเป็นวิชา ฟื้นฟูกิจการ……….ม.90/1 – ม.90/90

ข้อที่ 10 จะเป็นวิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ……….ม. 1 – ม.33



 ในแต่ละข้อจะมีมาตราที่สำคัญๆ พอแยกได้ ดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 – ข้อที่ 2 ป.วิ.พ. ภาค 1 ม. 1 – ม. 169 เราสามารถแยกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดบทวิเคราะห์ศัพท์ จะมีมาตราที่สำคัญที่ควรสนใจ คือ ม. 1. (3) + ม.1(4)+ม.1(5)+ ม.1(7)+ม.1(8)+ม.1(11)

หมายเหตุ : ในชุดนี้ มักจะออกแซมมาในข้อสอบอยู่บ่อยครั้งเสมอ จึงควรสนใจเอาไว้บ้างก็จะดีมิใช่น้อย

ชุดที่ 2 ชุดเขตอำนาจศาล จะมีมาตราที่น่าสนใจ ก็คือ ม.2 + ม.3 + ม.4 + ม.4ทวิ + ม.4ตรี + ม.5 + ม.7 + ม.10

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ม. 4 – ม. 4ตรี นั้นจะอยู่ ในบังคับของ ม.5……และในขณะเดียวกัน ม.4 , ม.4ทวิ , ม.4ตรี , และ ม.5 ก็จะอยู่ในบังคับ ของ ม.7……และในขณะเดียวกัน ก็จะมี ม.10 มายกเว้น อีกชั้นหนึ่ง

ชุดที่ 3 ชุดอำนาจหน้าที่ของศาล จะมีมาตราที่น่าสนใจ ดังนี้ ม.15 , ม.18 , ม.21 , ม.23 , ม.24 , ม.27 , ม.28 , ม.29

ชุดที่ 4 ชุดการนั่งพิจารณา จะมีมาตราที่สำคัญๆ ดังนี้ ม.36 , ม.39 + ม.42 + ม.43 + ม.44 +ม.45

ชุดที่ 5 ชุดคู่ความ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.55 + ม.56……ม57 + ม.58 + ม.59

ชุดที่ 6 ชุดคำพิพากษาและคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ชุดย่อยได้ดังนี้

6.1 ชุดหลักทั่วไป มีมาตราที่สำคัญ คือ ม.132 , ม.138
6.2 ชุดข้อความและผลแห่งคำพิพากษา มีมาตราที่น่าสนใจ ก็คือ ม.142 , ม.144 + ม.148 , ม.145 , ม.147

ชุดที่ 7 ชุดการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ม.155 + ม.156 + ม.157

หมายเหตุ : ในเรื่องของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น มักจะไปเกี่ยวพันกับในเรื่องของการอุทธรณ์ ฎีกา โดยเฉพาะ ในส่วนของค่าธรรมเนียมใช้แทน กับค่าธรรมเนียมขึ้นศาล ควรที่จะสนใจเอาไว้ด้วย ก็จะดีมากๆ


ข้อที่ 3 – ข้อที่ 4 ป.วิ.พ. ภาค 2 ขอบเขต ของเนื้อหา จะเป็นเรื่องของวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ม.170 – ม.222 แบ่งออกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดวิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น มีมาตรที่เกี่ยวข้อง คือ ม.172 , ม.173 วรรค2(1) , ม.174 + ม.176 , ม.175 + ม.176 , ม.177วรรค 3 , ม.179 + ม.180

ชุดที่ 2 ชุดขาดนัดพิจารณา แบ่งออกเป็น 2 ชุดย่อย ได้ดังนี้

2.1 ชุดขาดนัดยื่นคำให้การ มาตราที่สำคัญๆ คือ ม.177 + ม.197 + ม.199ฉ…….ม.198 + ม.198ทวิ……ม.199…… ม.199ตรี + ม.199จัตวา + ม.199เบญจ

2.2 ชุดขาดนัดพิจารณา มาตราที่สำคัญๆ ก็คือ ม.200……ม.201……ม.202 + ม.203……ม.204……ม.205……ม.206……ม.207

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ควรทำความเข้าใจในชุดขาดนัดยื่นคำให้การเอาไว้ให้มาก เพราะว่าถ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องของขาดนัดพิจารณาไปเอง ซึ่งการขาดนัดพิจารณา ก็จะยืมวิธีการของขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้ นั่นเอง

และควรจะทำความเข้าใจในกรณีที่มีจำเลยหลายคน ซึ่งจำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ บางคนไม่ได้ขาดนัดยื่นคำให้การ เอาไว้ให้ดีๆด้วย ถ้าในวันนัดสืบพยาน แล้วตัวโจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนั้น……ผลจะออกมาอย่างไร ประเด็นนี้สามารถที่จะเชื่อมโยงในเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ ให้เข้ากับเรื่องขาดนัดพิจารณาได้……ดังนั้นจึงควรสนใจเอาไว้บ้างก็จะดีมิใช่น้อย

ข้อที่ 5 ป.วิ.พ. ภาค 3 จะเป็นเรื่องในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จะมีขอบเขตและเนื้อหาพอแบ่งได้ ดังนี้

5.1 ชุดหลักทั่วไปของอุทธรณ์ และฎีกา มีมาตราที่ควรสนใจ คือ ม.223 และ ม.247

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ต้องทำความเข้าใจใน ม.223ให้ดี เพราะจะเป็นทั้งมาตราหลัก และในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นมาตราข้อยกเว้นมิให้อุทธรณ์ของมาตราอื่นๆด้วย…..ตัวอย่างเช่น โดยหลักแล้ว คู่ความสามารถอุทธรณ์ได้เสมอ ยกเว้นจะมี ก.ม.ห้ามมิให้อุทธรณ์……ในขณะเดียวกันถึงแม้ว่าจะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ที่สามารถอุทธรณ์ได้ตาม ม.226 ก็ตาม แต่ถ้ามี ก.ม.บัญญัติให้เป็นที่สุด แล้ว ก็จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ม.223 ดังนี้เป็นต้น

และในขณะเดียวกัน ม.223 จะต้องดูคู่กับ ม.223ทวิ และ ม.252 ด้วยจะดีมากๆ

5.2 ชุดอุทธรณ์ และฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง มีมาตราที่ควรสนใจ ก็คือ ม.224 + ม.248……….ม.225 + ม.249

5.3 ชุดการอุทธรณ์ คำสั่งระหว่างพิจารณา มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.226 ม.227 + ม.228

หมายเหตุ : ดังที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่า ถึงแม้จะเข้าหลักเกณฑ์ที่จะสามารถอุทธรณ์ได้ ตาม ม.226 , ม.227 , ม.228 ก็ตาม เราจะต้องกลับไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่า คำสั่งดังกล่าวนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม. ม.223 ตาม ม.224 หรือไม่ ด้วย กล่าวคือ ถ้าคำสั่งนั้นมี ก.ม.บัญญัติให้เป็นที่สุด ผลก็คือ คำสั่งนั้นๆ ก็ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ม.223………หรือ ถ้าคำสั่งนั้น มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่ถึง 50,000 บาท ผลก็คือ คำสั่งนั้น ก็ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ม.224 อีกเช่นกัน………ดังนั้นในจุดนี้เราจึงควรที่จะทำความเข้าใจให้ดีๆ ( นอกจากที่เราทำความเข้าใจในหลักของ ม.226 , ม.227 , ม.228 แล้ว )

5.4 ชุดวิธีการอุทธรณ์ มีมาตราสำคัญ ๆ ที่เราสามารถจะแบ่งเป็นสายได้ดังนี้

สายที่ 1 ม.229 + ม.232 + ม.234 + ม.236

สายที่ 2 ม.229 + ม.232 + ม.235 + ม.237

สายที่ 3 ม.224 + ม.230

ให้ดู ม.231 และ ม.242 ประกอบด้วยก็จะดีมากๆ

หมายเหตุ : ชุดนี้ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งในการสอบ และทั้งในการที่เราจะต้องนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เวลาที่ไปยื่นอุทธรณ์ในทางปฏิบัติ ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ

ตัวอย่างเช่น ในกรณีการยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ม.224 นั้น จะมีช่องทางที่จะทำได้หลายช่องทาง……..ซึ่งเราอาจจะใช้ช่องทาง ตาม.ม.224 วรรค 1 ส่วนท้าย ก็ได้……หรือ เราจะใช้ช่องทาง ตาม ม.230 ก็ได้…… หรือ เราจะไปใช้ช่องทาง ตาม ม.229 แล้วผ่าน ม.232 ก็ได้………เราก็ควรจะพิจารณาดูให้ดีก่อนว่า ใช้ช่องทางใด จึงจะมีประโยชน์สูงสุดในการอุทธรณ์

หมายเหตุ : ม.232 นี้ เราจะถือว่า เป็นมาตราชุมทาง ก็ได้ กล่าวคือ ถ้าหากว่าศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ ……ก็จะแยกเดินออกไปตามทางในสายที่ 1 หรือ ถ้าหากว่า ศาลสั่งรับอุทธรณ์ นั้น……ก็จะแยกเดินออกไปตามทาง ในสายที่ 2

หมายเหตุ : บทที่ได้บัญญัติว่า ให้เป็นที่สุด มีดังนี้ ม.156วรรค 3….ม.230….ม.260….ม.267….ม.288….ม.290…..ม.291….ม.293….ม.306….ม.309ทวิ….ม.310….ม.320 ท่านว่าคำสั่งใด ที่ได้ออกตามบทบัญญัติดังกล่าว ล้วนแล้วแต่ต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม ม.223 ทั้งสิ้น

ส่วนคำสั่งใดที่ออก ตาม ม. 236….ม.285….ม286….ม.307 ท่านว่าล้วนแล้วแต่ต้องห้ามมิให้ฎีกา ทั้งสิ้น ……247 ประกอบ ม.223
ข้อ 6 - ข้อ 7 ป.วิ.แพ่ง ภาค 4 ภาคบังคับคดี แยกพิจารณาออกได้ ดังนี้

ข้อ 6 จะเป็นเรื่องวิธีการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งสามารถแยกออกเป็นชุดย่อยๆ ได้ 4 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดคุ้มครอง จำเลย มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.253 เป็นการขอคุ้มครองในชั้นต้น กับ ม.253ทวิ เป็นการขอคุ้มครองในชั้นอุทธรณ์

ชุดที่ 2 ชุดคุ้มครองโจทก์ ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.254 เป็นหลัก + ม.255 + ม.257 + ม.258 + ม.260 ดู ม.256 , ม.259, ม.261

ชุดที่ 3 ชุดคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ม.ที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.264

ชุดที่ 4 ชุดขอฉุกเฉิน ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.266 + ม.267 + ม.268 + ม.269

ข้อที่ 7 เป็นเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษา แบ่งออกเป็นชุดย่อยๆ ได้ ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดหลักทั่วไป มีมาตรา ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.271 + ม.275 + ม.276 + ม.278 + ม.282 + ม.283 + ม.284 + ม.288

ชุดที่ 2 ชุดข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในการบังคับคดี มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.285 + ม.286

ชุดที่ 3 ชุดที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.287 ขอกันส่วน...... ม.288 ขอขัดทรัพย์...... ม.290 ขอเฉลี่ยทรัพย์...........ให้ดู ม.289 กับ ม.291ประกอบด้วยจะดีมาก

ชุดที่ 4 ชุดงดการบังคับคดี มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ ม.292 + ม.293 + ม.294

ชุดที่ 5 ชุดถอนการบังคับคดี มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.295 + ม.29ทวิ + ม.295 ตรี

ชุดที่ 6 ชุดขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งบังคับคดี คือ ม.296

ชุดที่ 7 ชุดถูกคำพิพากษาให้ขับไล่ออกจากอสังหาฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.296ทวิ + ม.296ตรี + ม.296จัตวา

ชุดที่ 8 ชุดถูกคำพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.296 เบญจ
หมายเหตุ ชุดที่ 7และ ชุดที่ 8 มีมาตราที่ต้องดูประกอบ ก็คือ ม.296 ฉ

ชุดที่ 9 ชุดจับกุม และกักขัง มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.297 + ม.298 + ม.299 +
ม.300

ชุดที่ 10 วิธียึด อายัดทรัพย์ ตั้งแต่ ม.303 – ม.323


ข้อที่ 8 เป็นเรื่องของวิชาล้มละลาย เราสามารถแยกพิจารณาออกได้ ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดคำนิยาม ให้ดูที่ ม.5 เจ้าหนี้มีประกัน……มติพิเศษ….พิทักษ์ทรัพย์

ชุดที่ 2 การขอให้ล้มละลาย มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.7 + ม.8 + ม.9……และ ม.10

ชุดที่ 3 ชุดการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.17 และ ม.14

ชุดที่ 4 ชุดผลที่เกี่ยวเนื่องจากการที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ
ในส่วนของลูกหนี้ มีมาตราสำคัญ คือ ม.24 ให้ดู ม. 23 ประกอบ

ในส่วนของเจ้าหนี้ มีมาตราสำคัญ คือ ม.15……ม.26……ม.27 ให้ ดู ม.29 ประกอบด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย

ในส่วนของ จพท. มีมาตราสำคัญ คือ ม.19……ม.22……ม.25……ม.28

ชุดที่ 5 ชุดการประชุมเจ้าหนี้ มาตราที่สำคัญ ก็คือ ม.31

หมายเหตุ : ม.31 สามารถโยงไปหา ม.61 ได้ ……….การประชุมจะเป็นอย่างไร เราก็ดูให้พอเข้าใจหลักการ ก็พอแล้ว

ชุดที่ 6 ชุดการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย มีมาตราทีสำคัญๆ ที่ควรทำความเข้าใจ ก็คือ ม.46 + ม.49 + ม.51 + ม.52 + ม.53 + ม.56 +ม.60

ชุดที่ 7 ชุดการพิพากษาให้ล้มละลาย มาตราที่สำคัญ คือ ม.61 และ ม.62

ชุดที่ 8 ชุด การประนอมหนี้หลังล้มละลาย มี ม.63

ชุดที่ 9 ชุดการปลดจากล้มละลาย มี ม.67/1……ม.70……ม.71…..ม.77

ชุดที่ 10 ชุดการขอรับชำระหนี้ สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้

10.1 เจ้าหนี้ ไม่มีประกัน ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.94 + ม.91

10.2 เจ้าหนี้มีประกัน มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.95 + ม.96

10.3 เจ้าหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ จพท. มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.92 + ม.91 + ม.109(3) + ม.115 + ม.122

10.4 เจ้าหนี้ในคดีที่ จพท. แพ้คดี มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.93 + ม.91

10.5 ลูกหนี้ร่วมอาจขอรับชำระหนี้ได้ ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.101

10.6 การพิจารณาให้รับชำระหนี้ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.104 + ม.105 + ม.106 + ม.107 + ม.108

10.7 การหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.102

ชุดที่ 11 ผลของการล้มละลายที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว มาตราที่สำคัญๆ ก็คือ ม.110….ม.111….ม.113 + ม.114….ม.115 + ม.116
ชุดที่ 12 ชุดการรวบรวมและการจำหน่ายทรัพย์สิน มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.122…..ม.123

หมายเหตุ : ถ้า จพท. ยึด หรืออายัดทรัพย์สิน มา แล้วต้องการจำหน่าย จพท.จะต้องปฏิบัติ ตาม ม. 19……….แต่ถ้า จพท. รวบรวมทรัพย์สินมา แล้วต้องการจำหน่าย จพท.จะต้องปฏิบัติตาม ม.123

ชุดที่ 13 ชุดการแบ่งทรัพย์สิน มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.124….ม.129….ม.132

ชุดที่ 14 ชุดการยกเลิกการล้มละลาย มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.135……ม.136

ชุดที่ 15 ชุดข้อจำกัดอำนาจของ จพท. มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ

15.1 ม. 19 เป็นบทจำกัดอำนาจในการจำหน่ายทรัพย์สินที่ยึด หรือ อายัดมา

15.2 ม. 123 เป็นบทจำกัดอำนาจในการจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้รวบรวมมา

15.3 ม.145 เป็นบทจำกัดอำนาจของ จพท. ในการที่จะถอน โอน สละ ฟ้องคดี หรือประนีประนอมฯ ต่างๆ

ชุดที่ 16 ชุดที่ให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหาย มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ

16.1 ม.146 เป็นการให้บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ จพท. ยื่นคำขอให้ศาลสั่งแก้ไข คำสั่งของ จพท.

16.2 ม.158 เป็นการให้อำนาจบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ที่จะทำการคัดค้าน เมื่อเห็นว่า จพท.ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สิน นั้นๆแต่อย่างใด


ข้อที่ 9 เป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการ มีขอบเขต และเนื้อหา แยกเป็นชุดๆ ดังต่อไปนี้

ชุดที่ 1 ชุดการร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/2 + ม.90/3 + ม.90/4 + ม.90/5……….ม.90/9 + ม.90/10……ม.90/12 + ม.90/13 + ม.90/14

ชุดที่ 2 ชุดตั้งผู้ทำแผน มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/17….ม.90/20 + ม.90/21……ม.90/24 + ม.90/25

ชุดที่ 3 ชุดการขอรับชำระหนี้ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/27วรรค1 + ม.90/26วรรค1……ม.90/27วรรค3 ……ม.90/28……ม.90/30 และ ม.90/32

ชุดที่ 4 ชุดการเพิกถอนนิติกรรมที่ได้ทำไปแล้ว มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/40….ม.90 41….ม.90/41ทวิ

ชุดที่ 5 ชุดการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/42….ม.90/43….ม.90/42ทวิ + ม.90/40ตรี….ม.90/45 + ม.90/46 + ม.90/48 + ม.90/50 - ม.90/52

ชุดที่ 6 ชุดการพิจารณาเห็นชอบแผนฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/56 – ม.90/59

ชุดที่ 7 ชุดการดำเนินการภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/60….ม.90/63….ม.90/67….ม.90/70

ชุดที่ 8 ชุดการสิ้นสุดการฟื้นฟู มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/74….ม.90/75….ม.90/76

ชุดที่ 9 ชุดการอุทธรณ์ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.24และม.26 พรบ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ. 2542

ข้อที่ 10 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.8….ม9….ม.16….ม.17….ม.24….ม.25….ม.26….ม.28….ม.29….ม.30….ม.31….ม.32 – ม.33


อัพเดทข้อมูล กลุ่มเนติฯ https://www.facebook.com/groups/Thai.barrister.at.law/

ธงคำตอบอาญา เนติ ข้อ1. วิชา กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 สมัยที่71

คำถาม ธงคำตอบ เนติบัณฑิต ข้อ1. วิชา กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 สมัยที่71
******************************
คำถามพร้อมธงคำตอบ เนติบัณฑิต  ภาค1 สมัยที่71
ข้อ1. วิชา กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 
******************************

รายละเอียด
- ทยอยอัพเดท** เพื่อเตรียมความพร้อมในการจับประเด็นสำคัญ สำหรับท่องพร้อมสอบ*
-  สกัดหลักคำถาม ธงคำตอบ เน้นประเด็นสำคัญ จากคำบรรยายเนติฯ (แยกตามเนื้อหา/กลุ่ม) สำหรับง่าย ต่อการทบทวน
-  แนวการเขียน ธงคำตอบ เจาะประเด็น มาตราสำคัญ เก็งเนื้อหา ที่พร้อมออกสอบเนติฯ


(ดาวน์โหลด คำถาม พร้อมธงคำตอบ เนติ อาญา PDF)

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฎีกาภาคค่ำ เนติ กฎหมายอาญา มาตรา 1-58,107-208 (ปกติ) อ.ชาตรี สุวรรณิน เนติฯ ภาคปกติ 18 ก.ค 61 สัปดาห์ที่9 สมัยที่71

เจาะประเด็น* วิชากฎหมายอาญา มาตรา 1-58,107-208 (ปกติ) สมัยที่71 
อ.ชาตรี สุวรรณิน เนติฯ ภาคปกติ 18 ก.ค 61 สัปดาห์ที่9  
--------------
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 1  ในประมวลกฎหมายนี้
    (1) “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
    (5) “อาวุธ” หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ
    (6) “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน
    (7) “เอกสาร” หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
    (8) “เอกสารราชการ” หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย
    (12) “คุมขัง” หมายความว่า คุมตัว ควบคุม ขัง กักขังหรือจำคุก + โยงมาตรา 180
    (14) “บัตรอิเล็กทรอนิกส์”  + โยงมาตรา 8 หมายความว่า
    (ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
    (ข) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือทางตัวเลขใด ๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) หรือ
    (ค) สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ 
    (15) “หนังสือเดินทาง” หมายความว่า เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่รัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศออกให้แก่บุคคลใด เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางระหว่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและแบบหนังสือเดินทางที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทางด้วย
    (16) “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ (สำคัญสุด*)

มาตรา 4  ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย
    การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร


มาตรา 5  ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นนั้นควรเกิดในราชอาณาจักรหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
    ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่า การตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร

มาตรา 6  ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุน หรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร

 มาตรา 7  ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ
    (1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 ถึงมาตรา 129
    (1/1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 135/1 มาตรา 135/2 มาตรา 135/3 และมาตรา 135/4
    (2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 ถึงมาตรา 249 มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 257 และมาตรา 266 (3) และ (4)
    (2 ทวิ) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 282 และมาตรา 283
    (3) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 340 ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง


 มาตรา 8  ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
    (ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
    (ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
    ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
    (1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึงมาตรา 223  ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 220 วรรคแรก และมาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึงมาตรา 232 มาตรา 237 และมาตรา 233 ถึงมาตรา 236  ทั้งนี้ เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตามมาตรา 238
    (2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266(1) และ (2) มาตรา 268  ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 267 และมาตรา 269
    (2/1) ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 269/1 ถึงมาตรา 269/7
    (2/2) ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 269/8 ถึงมาตรา 269/15
    (3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 280 และมาตรา 285  ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 276
    (4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290
    (5) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 298
    (6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา 308
    (7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 312 ถึงมาตรา 315 และมาตรา 317 ถึงมาตรา 320
    (8) ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336
    (9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 337 ถึงมาตรา 340
    (10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 341 ถึงมาตรา 344 มาตรา 346 และมาตรา 347
    (11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 352 ถึงมาตรา 354
    (12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357
    (13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 358 ถึงมาตรา 360


มาตรา 9  เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 147 ถึงมาตรา 166 และมาตรา 200 ถึงมาตรา 205 นอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษในราชอาณาจักร

มาตรา 10  ผู้ใดกระทำการนอกราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 7 (2) และ (3) มาตรา 8 และมาตรา 9 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
    (1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ
    (2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว
    ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้ว แต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว


 มาตรา 11  ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ถ้าผู้นั้นได้รับโทษสำหรับการกระทำนั้นตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้วทั้งหมด หรือแต่บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว
    ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทำความผิดที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร ได้ถูกฟ้องต่อศาลในต่างประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอ ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีก ถ้า
    (1) ได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ
    (2) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษ และผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว


มาตรา 112  (ไม่ออกสอบ) ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

 มาตรา 125 (ออกสอบแล้ว)  ผู้ใดปลอม ทำเทียมขึ้น กักไว้ ซ่อนเร้น ปิดบัง ยักย้าย ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารหรือแบบใด ๆ อันเกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐในการระหว่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี

มาตรา 142 (ออกสอบแล้ว) ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น ส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 145  (ออกสอบแล้ว) ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว ยังฝ่าฝืนกระทำการใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกดุจกัน

มาตรา 188  (ออกสอบแล้ว) ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 192   (ออกสอบแล้ว)  ผู้ใดให้พำนัก ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ให้ผู้ที่หลบหนีจากการคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 199 (ออกสอบแล้ว)  ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพหรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตายหรือเหตุแห่งการตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 มาตรา 204   (ออกสอบแล้ว)  ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีตำแหน่งหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ที่ต้องคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
    ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้นเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

 มาตรา 205   (ออกสอบแล้ว)  ถ้าการกระทำดังกล่าวในมาตรา 204 เป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปด้วยการกระทำโดยประมาทนั้น เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    ถ้าผู้กระทำความผิด จัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายในสามเดือน ให้งดการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดนั้น


ความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน
มาตรา 147-166

แนวข้อสอบ อาจจะเป็นความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน  + ความผิดนอกราชอาณาจักร เชื่อมโยงกัน ไม่ได้ออกเพียงมาตราใด มาตราหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11741/2557 (ออกสอบแล้ว) ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 153 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ ได้จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการจ่ายทรัพย์นั้นต้องทำให้หนี้ระงับลงด้วย เพราะความผิดมาตรานี้ต้องการลงโทษเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ได้จ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเท่านั้น แม้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์จะชำระหนี้ด้วยเช็ค และ ก. ผู้ได้รับชำระหนี้ยังไม่ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเนื่องจากถูกเรียกทวงคืนก่อนอันทำให้หนี้นั้นยังไม่ระงับลงก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 153 แล้ว หาใช่เป็นเพียงความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์พยายามจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 153 ประกอบมาตรา 83 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2545 การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บเงินทุกคน โดยให้พนักงานเก็บเงินกดแป้นพิมพ์เครื่องคอมพิวเตอร์ตามประเภทของรถที่ผ่านและประเภทของการจ่ายเงิน หากไม่กดจะไม่มีจำนวนเงินปรากฏในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่เครื่องตรวจจับที่พื้นถนนจะเป็นตัวฟ้องว่ามีรถผ่านโดยมีเสียงสัญญาณดังขึ้น และพนักงานควบคุมจะทราบเพราะเครื่องทำงานไม่ครบวงจร ดังนั้น การที่จำเลยรับเงินจากรถที่วิ่งผ่านทางด่วนแล้วไม่กดแป้นพิมพ์เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือกดแป้นพิมพ์แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานตามที่จำเลยกล่าวอ้าง เครื่องตรวจจับที่พื้นถนนจะตรวจนับจำนวนรถที่วิ่งผ่านเอง แต่เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งเงินขาดจำนวน8 ครั้ง เป็นเงิน 153,700 บาท แม้ว่าจะไม่มีพยานบุคคลมายืนยันว่าจำเลยเบียดบังเงินค่าผ่านทาง แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาเงินโดยชอบแม้จะเป็นระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งเป็นผู้รับเงินและรวบรวมนำส่งต่อไปอันถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ได้รับเงินค่าผ่านทางมาแล้วและไม่ส่งเงินให้ครบ จึงถือว่าเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริตแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าจำนวนเงินตามใบส่งตรงกับต้นขั้วใบเสร็จรับเงินอันเป็นสิ่งแสดงว่าจำเลยมิได้ทุจริตนั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยได้รับใบเสร็จรับเงินมาเพื่อจ่ายให้แก่รถที่ใช้ทางด่วนทุกคัน หากผู้ใช้ทางด่วนไม่ต้องการใบเสร็จรับเงิน จำเลยต้องฉีกใบเสร็จรับเงินนั้นด้วย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่าจำนวนรถที่วิ่งผ่านมาปริมาณมากกว่าจำนวนใบเสร็จรับเงินที่จำเลยฉีกแสดงว่าจำเลยรับเงินมามากกว่าจำนวนใบเสร็จรับเงินที่จำเลยฉีกออกไป ฉะนั้น แม้จำนวนเงินที่จำเลยส่งจะตรงกับจำนวนใบเสร็จรับเงินก็มิได้เป็นการยืนยันว่าจำเลยไม่ได้ทุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2523 จำเลยรับราชการเป็นพนักงานจ้าง ตำแหน่งพนักงานบำรุงป่าได้รับมอบหมายให้ใช้และรักษาดวงตราก้อนเหล็กประทับไม้ต.3986 ของกรมป่าไม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรต้องแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา75 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 จำเลยจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา4(16) ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจำเลยได้รับมอบหมายให้ช่วยป่าไม้อำเภอตรวจสอบไม้ผ่านด่านออกใบเบิกทางจำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2478 ยื่นเรื่องราวใส่ความเจ้าพนักงานหาว่ากระทำรายงานเท็จต่อสภาผู้แทนราษฎร ฯ จึงส่งเรื่องราวต่อ ๆ ไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อทำการสอบสวน ปรากฎว่าไม่เป็นความจริงดังกล่าวหา ดังนี้ถือว่าได้กล่าวแก่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทแต่ไม่เป็นผิดฐานแจ้งความเท็จ เพราะผู้แทนราษฎรไม่มีหน้าที่ทางบริหาร ไม่ใช่เจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์ +ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 100 บาทตาม ม.284 แต่โทษจำให้รอไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า จำเลยมีผิดตาม ม.118 ให้จำคุก 1 เดือนดังนี้เป็นแก้มาก ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.42 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ม. 286 พิจารณาได้ความว่าจำเลยมีผิดตาม 284 ศาลลงโทษตาม มาตรานี้ได้ ศาลเดิมลงโทษตาม ม.284 โจทก์ไม่อุทธรณ์ในเรื่องวางบท ศาลอุทธรณ์แก้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 118 จำเลยฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดตามมาตรา 284 ก็ย่อมลงโทษจำเลยตาม ม.284 ได้

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้า โดยตรงในการรับเงินลงและบันทึกในสมุดเงินสดและนำเงินไปฝากธนาคารหรือเก็บเงินในตู้นิรภัย แม้ในขณะนั้นพนักงานการคลังและงานพัสดุจะไม่อยู่และจำเลยต้องกระทำการแทนในฐานะผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ถือว่าเป็นงานในตำแหน่งหน้าที่โดยตรงของจำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 776/2560 (ออกสอบแล้ว) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้น ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริตซึ่งหากไม่เกี่ยวกับหน้าที่ที่เจ้าพนักงานผู้นั้นจะต้องกระทำโดยตรงแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิด ดังนั้นการรับเงินแล้วลงบันทึกในสมุดเงินสดและนำเงินไปฝากธนาคารหรือเก็บในตู้นิรภัยไม่ใช่การกระทำที่เกี่ยวกับหน้าที่ของจำเลยซึ่งจำเลยดำรงตำแหน่งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตําบลโดยตรง แม้ในขณะเกิดเหตุพนักงานคลังและงานพัสดุจะไม่อยู่ และจำเลยต้องกระทำการแทนในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาก็ตาม ก็ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยโดยตรงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

 คำพิพากษาฎีกาที่ 2292/2590 ขณะเกิดเหตุกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้ทำการสำรวจผู้ค้าในจุดผ่อนผันให้ทำการค้าซึ่งจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งหน้าที่ปกครอง 3 ฝ่ายเทศกิจ สำนักเขตได้รับคำสั่งจาหัวหน้างานให้เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการรับผิดชอบพื้นที่ตลาดดังกล่าวให้ทำการสำรวจ จำเลยที่ 1 ได้ทำการสำรวจและจัดทำบัญชีผู้ค้าเสนอต่อผู้บังคับบัญชา จึงเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกรับทรัพย์สินสำหรับตนเองและผู้อื่นเพื่อเสนอชื่อผู้จ่ายเงินให้ได้รับบัตรประจำตัวผู้ค้า จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกและรับทรัพย์สินโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตาม ป.อ. มาตรา 149
         
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2521 ขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี จำเลยได้กล่าวถ้อยคำว่า "เฮ้ยเปิดเพลงอะไรโว้ยฟังไม่รู้เรื่อง" และจำเลยมิได้ยืนตรงเช่นประชาชนคนอื่น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2531 พยานบุคคลที่เบิกความให้ความเห็นโดยสุจริตและเป็นธรรม ย่อมรับฟังความเห็นนั้นประกอบกับข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทได้ พระบรมมหาราชวัง เป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และพระบรมราชินี เป็นที่ประสูติพระราชโอรสและพระราชธิดาพระราชโอรสทรงเป็นรัชทายาทที่จะสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไปในเมื่อแผ่นดินว่างกษัตริย์ ลงคนภายนอกจะมาเกิดในพระบรมมหาราชวัง มิได้ ดังนั้น ข้อความที่จำเลยกล่าวต่อประชาชนว่าถ้าจำเลยเลือกเกิดได้ จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระ แม้จำเลยจะมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้งแต่ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบก็แปลเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯสยามมงกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ข้อความที่จำเลยกล่าว จะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบด้วย ซึ่งปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับประมวลกฎหมายอาญาอย่างแจ้งชัดว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็นปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศตลอดไปแม้ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ให้ความเคารพสักการะและยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯตลอดมาตั้งแต่โบราณกาลการที่จะกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกินเปรียบเทียบเปรียบเปรยหรือเสียดสีให้เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทนั้น หามีบุคคลใดกล้าบังอาจไม่ จำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการและเลขาธิการพรรคการเมือง ได้กล่าวต่อประชาชนเพื่อช่วยหาเสียงให้แก่สมาชิกพรรคการเมืองของตนมีความว่า ถ้าเลือกเกิดได้ จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตากแดด พูดให้ประชาชนฟังถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทม ตื่นอีกทีบ่ายสามโมงพอตกเย็นก็เสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจใด ๆ ต่างกับจำเลยที่เป็นลูกชาวนา ต้องทำงานหนัก ซึ่งข้อความที่จำเลยกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงจึงเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำดังกล่าวของจำเลยจะไม่เกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวนั้นก็ตาม ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ จะถือตามความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเองมิได้ ต้องพิจารณาจากข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมด การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่าไม่มีเจตนาตามที่กล่าว ย่อมยากที่จะรับฟัง การที่จำเลยเป็นผู้มีคุณความดีมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลของพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551 การดูหมิ่นผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกล่าวถึง หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นการใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326
ตามพจนานุกรมให้หมายความคำว่า "เฮงซวย" ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยพูดใส่ผู้เสียหายด้วยความไม่พอใจว่า "ไอ้ทนายเฮงซวย" จึงเป็นถ้อยคำที่จำเลยด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นทนายความเฮงซวย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2516 จำเลยมีจดหมายซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์โดยตรงไปยังสำนักงานโจทก์ แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แม้เสมียนของโจทก์ทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปถึงตัวโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ แม้ข้อความในจดหมายเป็นการดูหมิ่นแต่การที่จำเลยส่งจดหมายไปกว่าจะถึงโจทก์ก็ต่างวันเวลากัน จึงไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามความหมายในมาตรา 393 ทั้งไม่ใช่เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
หมายเหตุ อาจารย์เคยนำไปออกสอบ ส่งจดหมายจากต่างประเทศ ถึงเมืองไทยแล้วฉีกอ่านปรากฎว่าเป็นการกระทำตามมาตรา 5 คือผลที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย (โยงกับมาตร 5 สอบตกกันเยอะ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2476 คำพิพากษาฎีกาที่ 19/2476 ช. ด่า น. น. อยู่ในห้องไม่ได้อยู่ต่อหน้า มองไม่เห็นตัวกันเป็นดูหมิ่นซึ่งหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2537 โจทก์เป็นผู้จัดการโรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบ ซึ่งตามระเบียบศูนย์การทหารราบว่าด้วยการดำเนินงานของโรงพิมพ์ศูนย์การทหารพ.ศ. 2528 ระบุไว้ในข้อ 18 ว่า ให้ผู้จัดการโรงพิมพ์ควบคุมและรับผิดชอบทรัพย์สินของโรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบ และเมื่อตามสำเนารายการจดทะเบียนของรถคันที่ลูกจ้างของจำเลยขับรถชนโดยละเมิดนั้นเป็นของโรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบ โจทก์จึงเป็นผู้ครอบครองดูแลรับผิดชอบรถยนต์คันดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยขอให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นก็ตาม
 
**หมายเหตุ การบรรยายครั้งแรก อาจารย์บรรยายภาพรวมทั่วๆไป**


อ้างอิง อ่านต่อที่ https://www.lawsiam.com/?name=1-justice-exam-aya&file=filedetail&max=1016

ฎีกาเนติ ภาคค่ำ วิชากฎหมายอาญา มาตรา 59-106 อ.สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ (ภาคค่ำ) 21 ก.ค 61 สัปดาห์ที่9 สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิชากฎหมายอาญา มาตรา 59-106 สมัยที่71
อ.สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ (ภาคค่ำ) 21 ก.ค 61 สัปดาห์ที่9 
-----------
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2534 จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ขมับผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่า กูจะฆ่ามึงทิ้ง ถ้ามึงไปถึงกิ่งเมื่อไรกูจะฆ่าเมื่อนั้น ดังนี้ คำพูดของจำเลยขณะที่ใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยจะยิงผู้เสียหายเมื่อไปถึงกิ่งอำเภอไม่ใช่ยิงในขณะนั้นเป็นการกระทำในลักษณะขู่ผู้เสียหายมากกว่า หากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ก็คงใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้เสียหายทันทีโดยไม่ต้องใช้อาวุธปืนจี้และมีการพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตเช่นนั้น ประกอบกับผู้เสียหายกับจำเลยไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และจำเลยกระทำในขณะเมาสุรา การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2552 กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายไม่ได้บรรจุเม็ดตะกั่วบรรจุเฉพาะดินปืนอัดด้วยกระดาษเท่านั้น จำเลยทราบดีว่าไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2540 ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 มาตรา 35 ที่บัญญัติว่า เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใดจนถึงวันเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้นมิให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด"จะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าในเขตเลือกตั้งใด กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดที่มิใช่ผู้สมัครกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นด้วยวิธีการจัดทำให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใดดังนั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวด้วยการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ว่าด้วยการจัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด ย่อมเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกจับและเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางทั้งหมดได้ จำเลยทั้งสองได้จัดทำธนบัตรของกลางทั้ง11,400,000 บาท ไว้พร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่ผู้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อในเขตอำเภอ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งแล้ว ด้วยการนำธนบัตรชนิดราคา 100 บาท กับชนิดราคา 20 บาท ที่มีตรายางรูปยันต์ประทับตรงบริเวณลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์ มาเย็บติดกันเป็นชุด ชุดละ 20 บาท และมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุด ใส่ถุงพลาสติกบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเล ไว้พร้อม ดังนั้น โดยลักษณะของการกระทำดังกล่าวถือว่าจำเลย ทั้งสองจัดทำธนบัตรของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นแล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะยังไม่ได้แจกจ่ายหรือให้ธนบัตรนั้นแก่บรรดาผู้เลือกตั้งทั้งหลายจำเลยทั้งสองก็กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1) สำเร็จแล้ว โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเอาผิดแก่การจัดทำธนบัตรของกลางของจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จมาด้วย โจทก์คงบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง เพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นสถานเดียวเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ทั้งสองตามที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเพียงการพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสถานเดียว ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงขั้นตระเตรียมการให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งอันไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1)ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาหรือไม่ ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมของกลางคงเหลือเวลาอีกเพียง 3 วัน ก็จะถึงกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับว่าเป็นระยะเวลาที่ใกล้ชิดกับวันเลือกตั้งมากแล้ว ประกอบกับลักษณะธนบัตรของกลางที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งดังกล่าวได้ตามบัญชีรายชื่อหัวคะแนนแต่ละหมู่บ้านบัญชีรายชื่อแกนนำ บัญชีรายชื่อผู้รับผิดชอบแต่ละตำบลในอำเภอบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง (ส.ส.13) ของอำเภอ ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน ตลอดจนข้อมูลหน่วยเลือกตั้งตำบลต่าง ๆ ในอำเภอในเขตเลือกตั้งดังนั้นที่จำเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งจะให้แก่ผู้สมัคร และจำเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหาทรัพย์สิน คือธนบัตรชนิดราคา 100 บาท และชนิดราคา 20 บาท รวมทั้งของกลางต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วจำเลยทั้งสองได้ลงมือดำเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนำธนบัตรมาเย็บติดกันเป็นชุดมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุดบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลเสร็จพร้อมที่จะนำไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที่ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครที่จำเลยทั้งสองให้การสนับสนุน เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทำความผิดแล้ว หากแต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้เสียก่อนมิฉะนั้นแล้วจำเลยทั้งสองก็จะกระทำความผิดต่อไปได้สำเร็จจำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังที่โจทก์ฟ้องแล้ว และธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
ข้อสังเกต ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายแล้ว


อ้างอิง/ อ่านต่อที่ ... https://www.lawsiam.com/?name=1-justice-exam-aya&file=filedetail&max=1017

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Mind Map ภาษีมูลค่าเพิ่ม เตรียมสอบเนติ สมัยที่71


Mind Map ภาษีมูลค่าเพิ่ม เตรียมสอบเนติ สมัยที่71

ฎีกา ถอดเทปไฟล์เสียงเนติฯ วิชา ตั๋วเงิน อ.ประทีป เฉลิมภัทรกุล (ภาคปกติ) 16 ก.ค 61 สัปดาห์ที่9 สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิชา ตั๋วเงิน 
อ.ประทีป เฉลิมภัทรกุล (ภาคปกติ) 16 ก.ค 61 สัปดาห์ที่9 สมัยที่71
-------------

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
    มาตรา 917*  อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ
    เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ดังนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ
    อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายอื่นใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้

มาตรา 918  ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2518 โจทก์นำเช็คของธนาคาร ท.จำนวนเงิน 84,000 บาท ซึ่ง ซ.เป็นผู้สั่งจ่ายฝากเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารจำเลย จำเลยส่งเช็คฉบับนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ท. แต่ธนาคาร ท.ปฏิเสธการจ่ายเงินและส่งเช็คฉบับนั้นคืน ต่อมาพนักงานของจำเลยได้คืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ที่พนักงานของจำเลยไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งมาอ้างว่าเป็นลูกจ้าง ของโจทก์ไป โดยไม่ตรวจสอบดูหลักฐาน ย่อมเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดในการกระทำของพนักงานของตน แต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่ากับจำนวนเงินที่ปรากฏในเช็คฉบับนั้น นอกจากการที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่ายังห่างไกลต่อการที่คาดหมายได้ว่า โจทก์จะสามารถฟ้องเรียกเงินจาก ซ.ได้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คนั้นแล้ว ตามฟ้องโจทก์ได้อ้างแต่เพียงว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะโจทก์ต้องสูญเสียเช็คฉบับนั้นสำหรับที่จะใช้เป็นหลักฐาน ในการฟ้อง ซ.ไปเท่านั้น กรณีจึงยังเป็นความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุ ทั้งธนาคารจำเลยนำสืบฟังได้ว่า เมื่อโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีแล้วเพียง 6 วัน โจทก์ก็ทราบว่าเช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังมีทางที่โจทก์จะขอนำสืบพยานบุคคลแทนเช็คที่สูญหายไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ฉะนั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เสียหายไปแล้วเป็นเงิน 84,000 บาท เท่าจำนวนเงินในเช็คเนื่องจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียเช็คพิพาทไปนั้น จึงยังห่างไกลต่อความเป็นจริงมาก ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ ดังที่โจทก์กล่าวอ้างค่าเสียหายประการอื่น ๆ ถ้าหากจะมีโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องมาศาลจึงต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2530 โจทก์มีอาชีพเป็นพ่อค้าย่อมจะทราบถึงวิธีการเรื่องเช็คเป็นอย่างดีว่า การรับเช็คโดยไม่รู้จักตัวผู้สั่งจ่ายนั้นย่อมเป็นการเสี่ยงเพราะไม่มีโอกาสทราบฐานะการเงินของผู้สั่งจ่ายได้ ฉะนั้น การที่โจทก์รับเช็คซึ่งผู้มีชื่อนำมาแลกเงินโดยไม่ได้ให้ผู้นั้นสลักหลังเช็คเอาไว้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยทั้งไม่ได้นำมาเบิกความอธิบายถึงวิธีการที่ผู้มีชื่อได้รับเช็คมาพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพิรุธ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริต ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คแก่ตนได้.
หมายเหตุ  อาจารย์ให้ข้อสังเกตว่าฎีกาฉบับนี้อ้างหลักสุจริต*

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2536 เช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมโอนให้แก่กันโดยการส่งมอบเมื่อโจทก์ได้รับเช็คไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แม้โจทก์จะสลักหลังโอนเช็คให้แก่บริษัท ท.และบริษัทท. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ ซึ่งถือว่าบริษัท ท. เป็นผู้เสียหายในขณะเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับเช็คคืนมา โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ทรงในการที่จะบังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้อันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หนี้จึงไม่ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคสาม