วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ฎีกา ห้องบรรยายเนติ สัปดาห์ที่4 วิ.แพ่ง ภาค 2 (อ.สมชาย) 12 ธ.ค.60 ภาคปกติ สมัยที่ 70

ฎีกา ห้องบรรยายเนติ สัปดาห์ที่4 วิ.แพ่ง ภาค 2 (อ.สมชาย)
วันที่ 12 ธ.ค.60 ภาคปกติ สมัยที่ 70
-----------------

             คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2539 ระยะเวลา10ปีที่เจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ทางภารจำยอมจนทำให้ทางภารจำยอมส่วนพิพาทสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399เป็นสาระสำคัญของสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ต้องบรรยายไว้ในฟ้องโดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองเมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า พ. และจำเลยมิได้ใช้ทางภารจำยอมส่วนพิพาท10ปีจนทำให้ทางภารจำยอมส่วนพิพาทสิ้นไปแม้ได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นเรื่องนอกฟ้อง

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545 โจทก์ฟ้องอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าโดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรม ตามคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรม เป็นลายมือชื่อปลอมย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องรับฟังไม่ได้ ที่ศาลวินิจฉัยปัญหาที่ว่าลายมือชื่อพยานปลอมหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2549 โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องต้องแสดงให้เห็นอำนาจพิเศษที่ดีกว่าโจทก์ ทั้งการครอบครองปรปักษ์เป็นการได้สิทธิมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เมื่อคำร้องของผู้ร้องกล่าวเพียงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โดยมิได้กล่าวว่าโจทก์ไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ ต้องฟังว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 6 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน

ทยอยอัพเดท.... ถอดเทป-เน้นประเด็นคำบรรยาย สรุป เก็ง วิแพ่ง วิอาญา อัพเดท ที่ LawSiam.com

ฎีกาเด่น ไฟล์เสียงเนติ ภาคค่ำ วิ.อาญา ภาค 3-4 (อ.จิตฤดี) 9 ธ.ค.60 สัปดาห์ที่ 3 สมัยที่ 70

ฎีกา ไฟล์เสียงเนติ ภาคค่ำ วิ.อาญา ภาค 3-4 (อ.จิตฤดี)
วันที่ 9 ธันวาคม 2560 สัปดาห์ที่ 3 สมัยที่ 70
.................

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2519 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้เพียงว่า ฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดทางอาญาไม่ หากแต่เป็นบทมาตราที่ใช้แก่ความผิดโดยทั่วๆ ไปว่า เมื่อมีความผิดโดยการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเกิดขึ้น ศาลจะต้องวางโทษแก่บุคคลเหล่านั้นอย่างไร ฉะนั้น ฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้แล้วว่าจำเลยทั้งสามได้สมคบกันสั่งจ่ายเช็ค เพียงแต่ไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงไว้ด้วย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (1) บัญญัติว่า ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของศาลเองโดยตรงที่จะจัดการสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องขึ้นเสียก่อนที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องมาด้วย ศาลก็ย่อมสั่งและดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องไปตามกฎหมายได้ หาใช่เป็นการสั่งเกินคำขอของโจทก์ไม่
.
ทยอยอัพเดท.... ถอดเทป-เน้นประเด็นคำบรรยาย สรุป เก็ง วิแพ่ง วิอาญา อัพเดท ที่ LawSiam.com

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ฎีกาเด่น เนติฯ 6 ธ.ค 60 สัมมนา วิ.แพ่ง (อ.ประเสริฐ) ภาคปกติ สมัยที่ 70

ฎีกาเด่น เนติฯ  6 ธ.ค 60  สัมมนา วิ.แพ่ง (อ.ประเสริฐ) ภาคปกติ  สมัยที่ 70


               คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 คำให้การของจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ ไม่มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้พิมพ์ เป็นคำคู่ความที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกที่มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" นั้น มิใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของมาตรา 67 (5) ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยฉบับดังกล่าวโดยไม่คืนไปให้จำเลยทำมาใหม่ หรือให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนจึงไม่ชอบ

ทยอยอัพเดท.... ถอดเทป-เน้นประเด็น คำบรรยาย สรุป เก็ง วิแพ่ง วิอาญา ที่ LawSiam.com

วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เก็งฎีกา เนติ กฎหมายสัมมนาวิธีพิจารณาความอาญา (ภาคปกติ) อ.อรรถพล ใหญ่สว่าง วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 (ครั้งที่ 2)

 กฎหมายสัมมนาวิธีพิจารณาความอาญา (ภาคปกติ)
 อ.อรรถพล ใหญ่สว่าง วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 (ครั้งที่ 2)

ในส่วนของการร้องทุกข์โดยมีเจตนาที่จะกล่าวหาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2560 โจทก์ร่วมมีมติให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ของโจทก์ร่วม เป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกเงิน 3,686,160 บาท ซึ่งรวมเงิน 502,190 บาท ที่เป็นเงินของเดือนมกราคม 2556 ด้วย จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) ส่วนการที่ประธานโจทก์ร่วมแจ้งต่อที่ประชุมว่าตรวจสอบพบจำเลยทั้งสองทุจริตยักยอกเงินนับจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2556 เป็นเงิน 3,686,160 บาท เป็นเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุที่ประธานแจ้งที่ประชุมไม่ครบถ้วนเท่านั้น เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แม้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2556 โดยไม่ได้แจ้งถึงเดือนมกราคม 2556 ด้วยก็เป็นความคลาดเคลื่อนของพนักงานสอบสวนในการตรวจสอบและแจ้งข้อเท็จจริงแก่ผู้ต้องหา แต่หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงเจตนาของโจทก์ร่วมที่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองได้รับโทษในความผิดฐานยักยอกไม่ การดำเนินการของโจทก์ร่วมเป็นการร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองในข้อหายักยอกเงิน 502,190 บาท ประจำเดือนมกราคม 2556 โดยชอบแล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องข้อหายักยอกเงิน 502,190 บาท


วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2559

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2559 โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (5) กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วัน สุดท้ายสำหรับโจทก์ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างตามระยะเวลาคือเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 65,510 บาท โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากค่าจ้างดังกล่าว 655,100 บาท ส่วนค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงานคือเงินรางวัลการขาย ปรากฏว่าโจทก์ได้รับจากการทำงาน 300 วัน สุดท้ายคิดเป็นเงิน 139,965 บาท โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากค่าจ้างตามผลงานในจำนวนเงินดังกล่าว รวมค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายทั้งสิ้น 795,065 บาท